Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน29 ธันวาคม 2548
คุก 20 ปี ปรับ 1.8 หมื่นล้าน "เกริกเกียรติ" ฉ้อโกงบีบีซี             
 


   
search resources

ธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ
เกริกเกียรติ ชาลีจันทร์
Law




ศาลพิพากษาจำคุก 20 ปี "เกริกเกียรติ ชาลีจันทร์" ยักยอกทรัพย์ 2,500 ล้าน แบงก์บีบีซี ปรับอ่วมกว่า 1.8 หมื่นล้านบาท ส่วนเพื่อนร่วมก๊วน จำคุกคนละ 6 ปี 8 เดือน ปรับ 6 แสนบาท และให้ร่วมกันชดใช้เงินคืนแบงก์อีก 6 พันล้านบาทเศษ ศาลให้ประกัน สู้ชั้นอุทธรณ์ต่อ

วานนี้ (28 ธ.ค.) ที่ห้องพิจารณาคดี 803 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาในคดียักยอกทรัพย์ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) หรือบีบีซี ที่พนักงานอัยการกองคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร 2 และบีบีซี ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่บีบีซีกับ พวกอีก 3 คน ซึ่งเป็นอดีตผู้บริหารแบงก์บีบีซี คือ นายจิตตสร ปราโมช ณ อยุธยา, ม.ร.ว.ดำรงเดช ดิศกุล และ ม.ร.ว.หญิงสุภาณี สารสิน หรือ ดิศกุล ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-4 ตามลำดับ ในความผิดฐานร่วมกันยักยอกทรัพย์ จำนวนประมาณ 2,500 ล้านบาท

โดยโจทก์ยื่นฟ้องสรุปว่า จำเลยที่ 1 เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบีบีซี ได้รับมอบหมายให้ดูแลรักษาครอบครองทรัพย์และจัดการทรัพย์สินของธนาคาร ตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2535 จำเลยที่ 2-4 เป็นพนักงานของโจทก์ร่วม โดยเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2537 ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้มีคำสั่งเลขที่ 783/2547 กำหนดให้โจทก์ร่วมเพิ่มทุนจำนวน 6,700,000,000 บาท ตามมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้น โดยให้เพิ่มทุนไม่น้อยกว่า 3,00,000,000 บาท ภายในงวดบัญชีมิถุนายน 2537 และให้เพิ่มทุนส่วนที่เหลือในภายปี 2539 และต้องเป็นการเพิ่มทุนอย่างแท้จริง ไม่ใช่เป็นการสร้างรายการโดยการให้สินเชื่อ หรือรับรองตั๋วเงิน หรือประกันอื่นๆที่มีลักษณะคล้ายกัน นอกจากนี้ยังกำหนดให้การอนุมัติสินเชื่อเกินวงเงิน 30 ล้านบาทขึ้นไปต้องให้คณะกรรมการสินเชื่อหรือคณะกรรมการบริหารหรือคณะกรรมการของธนาคารเป็นผู้พิจารณากลั่นกรองความเป็นไปได้ของโครงการ ฐานะของลูกค้าและหลักประกัน

แต่เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 37 จำเลยที่ 1 ได้อนุมัติขายหุ้นเพิ่มทุนของโจทก์ร่วม โดยไม่มีการตรวจสอบประวัติฐานะของบริษัทผู้เข้ามาจองซื้อหุ้น จำนวน 260 ล้านหุ้น ให้กับบริษัท ออลบิ ยูเอสเอ อิงค์ และบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เครดิต โบรคเกอร์เรจ โฮลดิ้ง อิงค์ ที่มีนายราเกซ สักเสนา ที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ บีบีซี เป็นผู้รับมอบอำนาจการซื้อขายหุ้น ต่อมาทั้งสองบริษัทนำหุ้นจำนวน 90 ล้านหุ้นเป็นเงินจำนวน 23,170,731.71 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 570 ล้านบาท ไปขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผ่านบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ไทยฟูจิ จำกัด เพื่อนำเงินมาชำระค่าจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนของโจทก์ร่วม จำนวน 38 ล้านหุ้น และกระทำการในลักษณะเดียวกันอีกหลาย ครั้งนอกจากนี้ เมื่อวันที่ 7 ก.ค. 38 จำเลยที่ 1 ยังได้อนุมัติสินเชื่อจำนวน 126 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่ธนาคารเนชั่นแนลเครดิตแบงค์ และเมื่อวันที่ 10 ก.ค. 38 ได้อนุมัติสินเชื่อให้กับ อาร์คาร์เดีย แคปปิตอล พาร์ทเนอรส์ อิงค์ และบริษัทเอเซซ คอร์ปอเรท โฮลดิ้ง แอนด์ ไฟแนนซ์ อิงค์ อีกรายละ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยนายราเกซ เป็นผู้ลงนามในตั๋วสัญญาใช้เงินที่ทั้งสองบริษัทนำมาวางประกันขอสินเชื่อ ซึ่งเป็นการยักยอกทรัพย์และทำให้โจทก์ร่วมได้รับความเสียหายจากการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต โดยมีจำเลยที่ 2-4 ร่วมมีส่วนซื้อขายและผ่องถ่ายทรัพย์สินของโจทก์ร่วมดังกล่าว

ศาลพิเคราะห์แล้วคดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยในประการแรกก่อนว่าจำเลยทั้งสี่กระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่าโจทก์ มีนายธวัชชัย หนุนภักดี นายดำรงศักดิ์ ณ ระนอง และ นายดนัย น้าสกุล ผู้ตรวจการของธนาคารแห่งประเทศไทย เบิกความสอดคล้องต้องกันกับพยานเอกสารว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้รับผิดชอบการดำเนินงานของโจทก์ร่วม ปฏิบัติหน้าที่โดยมีพิรุธหลายประการ ทำให้เห็นได้ว่าการจองซื้อหุ้น การอนุมัติให้สินเชื่อ การนำเงินสินเชื่อไปชำระค่าจองซื้อหุ้น และการนำหุ้นนั้นไปจำหน่ายจ่ายโอน เป็นการแบ่งหน้าที่กันทำระหว่าง จำเลยที่ 1-4 โดยมีนายราเกซเข้าไปเกี่ยวข้องทุกกระบวนการเพื่อให้ได้ไปซึ่งเงินของโจทก์ร่วม และทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเชื่อว่าโจทก์ร่วมมีการ เพิ่มทุนอย่างแท้จริง เป็นผลให้โจทก์ร่วมได้รับความ เสียหายจากการไม่ได้รับชำระหนี้ตามสินเชื่อคืน จำนวน 85,733,882.24 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และทำให้โจทก์ร่วมออกหุ้นเพิ่มทุนโดยมิได้รับเงินเข้ามาจริง เนื่องจากเงินที่นำมาชำระค่าจองซื้อหุ้นเป็นเงินสินเชื่อของโจทก์ร่วมเอง อันเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบ

ส่วนที่จำเลยที่ 2-4 นำสืบต่อสู้ไม่สมเหตุสมผล เพราะการวางแผนดังกล่าว มีความซับซ้อนและจะสำเร็จได้ต้องมีการจองซื้อหุ้น การอนุมัติสินเชื่อ แล้วจึงนำหุ้นที่ได้ตามแผนไปจำหน่ายจ่ายโอน ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควร เมื่อจำเลยที่ 2-4 รับหุ้นไปแล้วก็นำหุ้นไปจำหน่ายที่มีมูลค่าสูงเชื่อว่าจำเลยที่ 2-4 มีส่วนรู้เห็นในการกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของโจทก์ร่วม ร่วมกับพวกเบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนเองหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินงานของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กระทำผิดหน้าที่ของตนเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของโจทก์ร่วม โดยย่อมเล็งเห็นได้ว่าเป็นการเพิ่มทุนที่ไม่แท้จริงดังกล่าวเป็นเหตุให้มีการจัดทำเอกสารทางบัญชีของโจทก์ร่วมเป็นเท็จ ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ส่วนจำเลยที่ 2-4 เป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิด

พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.352, 353, 354 ประกอบมาตรา 83 และ พ.ร.บ.ตลาดหลักทรัพย์ฯ ม.307, 308, 309, 311, 312 และ 313 การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดหลายกรรมต่างวาระกัน

ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นความผิดเป็นแต่ละกระทงไปตามกฎหมายอาญา ม.91 และ พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ม.313 ซึ่งเป็นบทหนักสุด จำเลยที่ 1 กระทำผิดรวม 5 กระทง จำคุกกระทงละ 10 ปี รวม 50 ปี แต่คงให้จำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 20 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา ม. 90 และปรับ 472,122,946.02 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.8 หมื่นล้านบาท และให้นับโทษ จำเลยที่ 1 ต่อจากศาลอาญากรุงเทพใต้ที่พิพากษาจำคุกจำเลยที่ 1 ในข้อหายักยอกทรัพย์ด้วยสำหรับจำเลยที่ 2-4 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา และ พ.ร.บ.ตลาดหลักทรัพย์ฯ กระทำผิดเป็นกรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษบทหนักสุด จำคุกคนละ 6 ปี 8 เดือน และปรับคนละ 666,666 บาท ทั้งนี้ ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมคืนเงินให้กับโจทก์ร่วม จำนวน 167,090,118.28 ดอลลาร์สหรัฐ ตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินปัจจุบันด้วย หรือ 6 พันล้านบาทเศษ หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการยึดทรัพย์สิน

ต่อมาหม่อมราชวงศ์หญิงอภิรดี จันทรวิโรจน์ ได้ยื่นหลักทรัพย์เป็นโฉนดที่ดินแขวงกระทุ่มลาย เขตหนองจอกเนื้อที่ 15 ไร่เศษ ราคาประเมิน 37,176,000 บาท ขอประกันตัวจำเลยทั้งสี่ ระหว่างยื่นอุทธรณ์ต่อสู้คดี หลังศาลพิเคราะห์แล้วมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสี่ได้ประกันตัวไป โดยจำเลยที่ 1 ตีราคาประกัน 20 ล้าน ส่วนจำเลยที่ 2-4 ตีราคาประกันคนละ 3 ล้านบาท

สำหรับคดียักยอกทรัพย์บีบีซีนั้น เมื่อวันที่ 20 ม.ค.2548 ศาลอาญากรุงเทพใต้ สนามหลวง ได้มีคำพิพากษาคดียักยอกทรัพย์บีบีซีรวม 3 คดี ซึ่งมีนายเกริกเกียรติกับพวกร่วมกันยักยอกทรัพย์ 2,472 บาท ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่านายเกริกเกียรติกระทำ ผิดตามฟ้องจริง พิพากษาให้จำคุกนายเกริกเกียรติคดีละ 10 ปี รวมจำคุก 30 ปี และปรับ 3,200 ล้านบาทเศษ โดยคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์นั้น

ทั้งนี้ ฝ่ายจำเลยได้ร้องขอให้มีการรวมโทษ จำคุกทั้งสองกรณี แต่ศาลไม่อนุญาต เพราะเป็นความผิดคนละกรณีกัน โดยคดีที่นายเกริกเกียรติถูกฟ้องดำเนินคดีมีทั้งสิ้น 24 คดี ศาลตัดสินความไปแล้ว 5-6 คดี   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us