Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2549
สื่อการเรียนการสอน Tsunami             

โดย มานิตา เข็มทอง
 


   
search resources

News & Media
Education




ขอสวัสดีปีใหม่ด้วยการรำลึกถึงเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิที่คร่าชีวิตผู้คนนับแสนชีวิตไปเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 หนึ่งปีผ่านไป หลายหน่วยงานหลายกลุ่มองค์กรทั่วโลกต่างตื่นตัวกับมหันตภัยธรรมชาตินี้กันอย่างถ้วนหน้า... สำหรับอเมริกา โทรทัศน์เป็นอีกสื่อหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และปลูกฝังเยาวชนให้มีความสนใจในวิทยาศาสตร์ และความเป็นไปของธรรมชาติที่มีทั้งคุณและโทษนานัปการ

NOVA เป็นรายการสารคดีทางวิทยาศาสตร์ที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ PBS มานานกว่า 20 ปี ได้ผลิตรายการและเว็บไซต์สื่อการสอนว่าด้วยเหตุการณ์สึนามิที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรอินเดียเมื่อ 1 ขวบปีที่ผ่านมา ชื่อว่า "Wave That Shook the world" หรือ "คลื่นเขย่าโลก" โดยรวบรวมภาพเหตุการณ์และคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของการเกิดสึนามิในครั้งนั้น มีการทำแอนิเมชั่นจำลองเหตุการณ์จริงพร้อมคำสัมภาษณ์ของนักวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในเหตุการณ์ที่ศูนย์เตือนภัยสึนามิ ในคาบสมุทรแปซิฟิกที่ฮาวาย และคำสัมภาษณ์ผู้รอดชีวิตจากคลื่นมรณะ นอกจากนั้นยังมีการกล่าวถึงผลกระทบของการขาดระบบการเตือนภัยและการศึกษาที่ยังมีเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับสึนามิ

เว็บไซต์คลื่นเขย่าโลกเป็นสื่อหนึ่งที่พยายามแสดงให้เยาวชนในอเมริกาเห็นถึงความสำคัญในการศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับภัยธรรมชาติชนิดนี้ที่สามารถเกิดขึ้นอีกในอนาคต ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประชากรโลกจำนวนถึง 25% ที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งที่มีความเสี่ยงสูง โดยยังไม่มีการเตรียมพร้อมรับมือเท่าที่ควรเลย หรืออีกนัยหนึ่งคือ ยังไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควรจากผู้บริหารของประเทศที่จะเพิ่มงบประมาณในการเตรียมความพร้อมในพื้นที่นั้นๆ เช่น หากภูเขาไฟ Cumbre Vieja ในหมู่เกาะ Canary ของสเปนเกิดระเบิดขึ้นในระดับที่รุนแรงมาก ความเสี่ยงในการเกิดสึนามิก็เป็นไปได้สูง และพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบแน่นอนคือ ชายฝั่งตะวันออกของอเมริกา และตอนเหนือของแอฟริกา...

ภายในเว็บไซต์บรรจุคู่มือการสอนสำหรับเด็กตั้งแต่ระดับเกรด 5 ขึ้นไป โดยเริ่มตั้งแต่กิจกรรมก่อนชมรายการไปจนถึงหลังชมรายการแล้ว ซึ่งก่อนชมรายการครูเริ่มปูพื้นฐานความรู้ให้กับนักเรียนด้วยการสนทนาแลกเปลี่ยนความเห็นกับนักเรียนว่า สึนามิคืออะไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร จากนั้นมีการอธิบายถึงความหมายของคำศัพท์ที่นักเรียนจะต้องทำความคุ้นเคย เพื่อความเข้าใจในการชม เช่น คำว่า Epicenter ที่หมายถึงพื้นดินที่อยู่เหนือจุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหว เป็นต้น และเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น ใช้แผนที่โลกแสดงให้เห็นจุดที่เกิดเหตุการณ์นี้ นอกจากนี้ วาดตารางแสดงการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคลื่นที่เกิดจากแรงลมธรรมดา กับคลื่นที่เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก ภูเขาไฟระเบิดทั้งบนบกและในน้ำ หรือแผ่นดินถล่มลงในมหาสมุทร ต่อไปแบ่งนักเรียนออกเป็น 4 กลุ่ม เพื่อทำกิจกรรม "Tsunami Quest" โดยแต่ละกลุ่มมีหน้าที่ค้นหาข้อมูลตามบทบาทที่ได้รับแตกต่างกันไป คือ กลุ่มแรกรับผิดชอบเรื่องทางกายภาพของสึนามิ กลุ่มที่สองรับผิดชอบเรื่องความตระหนักและความปลอดภัย กลุ่มที่สามรับผิดชอบเรื่องสถานที่ที่เกิดสึนามิ และกลุ่มสุดท้ายดูแลเรื่องผลกระทบต่อชีวิต โดยนักเรียนในแต่ละกลุ่มต้องตั้งคำถามและเก็บบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่ตนรับผิดชอบ เพื่อมาอภิปรายหลังจากชมรายการจบแล้ว รวมทั้งนักเรียนควรตอบคำถามต่อไปนี้ได้ เช่น คุณลักษณะใดของคลื่นสึนามิที่ทำให้เกิดความสูญเสียแบบทำลายล้างได้ ซึ่งคำตอบก็ต้องเกี่ยวกับขนาดและความแรงเร็วของคลื่นและความสั่นสะเทือน อีกคำถามคือ ลักษณะของความแตกต่างของชายฝั่งทำให้ระดับความเสียหายไม่เท่ากันได้อย่างไร คำตอบคือ พื้นที่ริมฝั่งที่เป็นลักษณะผาชัน จะมีโอกาสเสียหายน้อยกว่าริมฝั่งที่มีลักษณะเปิด เพราะน้ำที่ไหลทะลักเข้ามาจะเบาแรงลงก็ต่อเมื่อกระทบกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หน้าผาก็เปรียบเสมือนกำแพงกั้นน้ำ ส่วนโรงแรม สิ่งก่อสร้างที่อยู่ในพื้นที่เปิดไม่สามารถกั้นความแรงของน้ำได้จึงก่อให้เกิดความสูญเสียมากกว่า และที่สำคัญเป็นพื้นที่ที่คนรวมตัวอยู่กันมากที่สุด อีกคำถามที่สำคัญคือ ระบบการเตือนภัยสามารถแสดงบทบาทสำคัญในเหตุการณ์นี้ได้อย่างไร คำตอบก็คือสามารถ ลดจำนวนการสูญเสียชีวิตได้...

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างที่หยิบยกขึ้นมาบางส่วนเท่านั้น ผู้เขียนไม่แน่ใจว่าในเมืองไทยสามารถรับชมรายการนี้ได้หรือไม่ (รายการทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ และมีข้อแม้ว่าต้องใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น) หากสถาบันการศึกษาใดต้องการสั่งซื้อดีวีดีชุดนี้ สามารถอีเมลติดต่อโดยตรงได้ที่ wgbh@ordering.com หรือโทรศัพท์ติดต่อที่เบอร์โทร 888-255-9231 เบอร์แฟกซ์ 802-864-9846 ใครที่มีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ก็สามารถชมออนไลน์ได้สบายๆ แต่ต้องคอยเช็กตารางการออกอากาศว่าจะมีอีกเมื่อไร หรืออาจเลือกชมรายการเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เรื่องอื่นก็ได้ ถือเป็นแหล่งอาหารสมองที่ไม่ต้องลงทุน แต่ได้ผลตอบแทนสูง

บทเรียนครั้งนี้เป็นบทเรียนราคาแพงที่ธรรมชาติลงมือสั่งสอนเอง มนุษย์ผู้อยู่กับธรรมชาติมีหน้าที่ต้องทำความรู้ความเข้าใจ ธรรมชาติ และเตรียมพร้อมรับมืออย่างมีสติ แม้จะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็คงไม่ยากเกินไป หากทุกคนร่วมมือร่วมใจกันส่งเสริมและแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

แด่...ผู้สูญเสียและผู้ที่ได้ผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิทุกท่าน

ข้อมูลจาก : http://www.pbs.org/wgbh/nova/tsunami/   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us