เมษายนนี้ ที่นั่งในคณะกรรมการของธนาคารกรุงไทย จะมีเพิ่มขึ้นอีก 1 ตำแหน่ง
เป็นของอนุชา จินตกานนท์ ที่ได้รับเลือกจากผู้ถือหุ้นรายย่อยของธนาคาร ให้เข้ามาเป็นกรรมการในฐานะตัวแทนของผู้ถือหุ้นรายย่อย
ซึ่งอาจมีผลให้การประชุมของคณะกรรมการธนาคารแห่งนี้ ในช่วงจากนี้ไปมีสีสันเพิ่มขึ้น
อนุชาเป็นพี่ชายของอัศวิน จินตกานนท์ อดีตรองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการธนาคาร
นครธน (ยุคก่อน ที่ธนาคาร แส ตนดาร์ดชาร์เตอร์ดจะเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่)
เขาได้รับการเสนอจากศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ผู้อำนวยการสำนักงาน เศรษฐกิจการคลัง
ให้เป็น 1 ใน 3 รายชื่อของผู้ที่จะให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยเลือกเข้าไปเป็นตัวแทน
1 คนในคณะกรรมการร่วมกับ พรายพล คุ้มทรัพย์ และสมศักดิ์ แต้มบุญเลิศชัย ตั้งแต่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์
ที่ผ่านมา
ซึ่งผลการคัดเลือก ซึ่งถูกประกาศออกมาจากคณะกรรมการตรวจนับคะแนนของธนาคารเมื่อวันที่
16 มีนาคม ที่ผ่านมา ปรากฏว่าอนุชาได้รับการคัดเลือกด้วยคะแนนสูงสุด "
ในฐานะ ที่ผมได้รับความไว้วางใจจากผู้ถือหุ้นรายย่อยให้เข้ามาทำหน้าที่
แทนเขา ดังนั้น หากผู้ถือหุ้นรายย่อยท่านใดมีข้อมูลอะไรเกี่ยวกับแบงก์กรุงไทย
ที่จะบอกกับผมก็สามารถติดต่อมาหาผมได้ตลอด" อนุชากล่าวกับ "ผู้จัดการ" หลังทราบผลการนับคะแนนเพียงประมาณ
1 สัปดาห์
ปัจจุบันอนุชา เป็นอาจารย์สอนอยู่ ที่คณะพัฒนาการเศรษฐกิจสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
(นิด้า)
แต่เขาก็มีบทบาทสำคัญในภาครัฐค่อนข้างมากในช่วง ที่ผ่านมา โดยเฉพาะได้เข้าไปร่วมเป็นที่ปรึกษาให้กับรัฐบาลมาเกือบทุกสมัย
ตั้งแต่รัฐบาลพล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ (เปรม 4) จนถึงรัฐบาลปัจจุบัน
อนุชาจบปริญญาเอกทางด้านเศรษฐศาสตร์จาก Northwestern University สหรัฐอเมริกา
โดยได้รับทุนจากมูลนิธิฟอร์ด แต่ด้วยความสนใจทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ทำให้เขาได้รับแต่งตั้งให้เข้าร่วมในคณะกรรมการหลายชุด ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมระหว่างประเทศ
นอกเหนือจากผลงานทางด้านเศรษฐศาสตร์
เขาเคยเป็นที่ปรึกษารัฐบาลโดยเข้าไปมีส่วนในการเจรจาความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ
และเทคโนโลยีกับนายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้ การเจรจากับญี่ปุ่นในการปรับโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างไทย
และญี่ปุ่น และการเจรจาความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับจีน
ปัจจุบันเขาเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการต่างประเทศ และเป็นอนุกรรมาธิการฝ่ายเศรษฐกิจในคณะกรรมาธิการต่างประเทศ
"ผมเกือบจะได้เข้าไปทำงาน ที่กระทรวงต่างประเทศ ก่อน ที่จะเข้ามาเป็นอาจารย์
ที่นิด้า"อนุชาบอกกับ"ผู้จัดการ"
คนที่ทำให้อนุชาตัดสินใจเลือกเข้ามาเป็นอาจารย์คือ บุญชนะ อัตถากร ซึ่งเป็นอธิการนิด้าในสมัยนั้น
เนื่องจากเห็นว่าอนุชาเรียบจบเศรษฐศาสตร์บัณฑิต ได้เกียรตินิยมอันดับ 1 จาก
University of Western Australia จึง ควรเข้ามาทำงานด้านการศึกษามากกว่า
ผลงานทางด้านเศรษฐกิจของอนุชา นอกจากการสอน ที่นิด้าแล้ว เขายังเป็นรองประธานคณะกรรมการพิจารณาการขอเปิดดำเนินการหลักสูตร
และการรับรองมาตรฐานการศึกษาสาขาเศรษฐศาสตร์ ที่ปรึกษาหอการค้า จังหวัดเชียงรายที่ปรึกษาหอการค้าภาคเหนือตอนบนภาคตะวันออก
และ อดีตคณะกรรมการสาขาเกษตร และชีววิทยา และ คณะอนุกรรมการประสานงานวิจัยแ
ละพัฒนาธุรกิจการเกษตรในสภาวิจัยแห่งชาติ
สำหรับงานในภาคเอกชน ปัจจุบันเขาเป็นที่ปรึกษาบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์
ที่ปรึกษาประธาน และ ที่ปรึกษาศูนย์วิเทศสัมพันธ์ บริษัทเครือไบโอไฟล์ ทำหน้าที่เสนอแนะแนวทางการเจรจาการค้า
และการลงทุนร่วมกับ บริษัทต่างประเทศ
นอกจากนี้ยังเป็นกรรมการที่ปรึกษาในบริษัทอาร์พีซี อินเตอร์เนชันแนล และกรรมการอิสระในบริษัทไก่สด
ศรีไทย
ตำแหน่งกรรมการในธนาคารกรุงไทย จึงเป็นตำแหน่งล่าสุดของเขา
บุคลิกของอนุชา เป็นคนที่ดูอ่อนน้อมภายนอก แต่แข็งอยู่ภายใน และ เป็นคนที่กล้าพูด
กล้าคัดค้านอย่างหัวชนฝา หากเห็นสิ่งใดไม่ถูกต้อง
ในสมัย ที่เขาเคยเป็นรองคณบดี ที่คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ เขาเคยใช้เวลาต่อสู้ถึง
2 ปี เพื่อเปลี่ยนแปลงระบบ การรับสมัครนักศึกษา จาก ที่เคยต้องเดินทางมาสมัครด้วยตนเอง
ที่นิด้า เป็นการให้ผู้ที่ต้องการสมัคร ส่งจดหมายสมัครเรียนเข้ามาได้ด้วยเหตุผลเพียงว่า
การเดินทางมาสมัครด้วยตนเองเป็นการสูญเสียทรัพยากร และแรงงานโดยใช่เหตุ
กับตำแหน่งใหม่ ที่ธนาคารกรุงไทย อนุชายังไม่รู้สึกหนักใจ เพราะเชื่อมั่นในผู้บริหารชุดปัจจุบัน
ที่พยายามทำให้ธนาคารกรุงไทย "เป็นเครื่องมือของรัฐ ที่ถูกใช้อย่างเหมาะสม
และมีความโปร่งใสเป็นไปตามระบบ"
"ผมเป็นคนที่รักษาชื่อเสียงตัวเองมาตลอด ในการทำงาน ที่ผ่านมา ซึ่งในแบงก์กรุงไทยก็เช่นกัน
คนที่รู้จักผม คงไม่เห็นว่าผมจะต้องเปลี่ยนไปถ้าได้เข้ามาเป็นกรรมการที่แบงก์แห่งนี้"
อนุชา แสดงความเชื่อมั่นกับ "ผู้จัดการ"