Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2549
Quake data : fake data             
โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
 


   
search resources

Construction
Architecture




อุตสาหกรรมการออกแบบและก่อสร้างอาคารของญี่ปุ่นกำลังเผชิญกับบททดสอบครั้งใหญ่ เป็นความท้าทายที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานความปลอดภัย และบทบาทความรับผิดชอบของสถาปนิก ซึ่งอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของอุตสาหกรรมนี้ทั้งระบบด้วย

เหตุอื้อฉาวครั้งใหญ่ในวงการออกแบบก่อสร้างของญี่ปุ่น เปิดเผยขึ้นพร้อมๆ กับชื่อของ Hidetsugu Aneha สถาปนิกใบอนุญาตประเภทชั้นที่หนึ่ง (first-class architect license) ซึ่งก่อนหน้านี้ Aneha อาจเป็นเพียงสถาปนิกหนึ่งในจำนวนหลายแสนคนของญี่ปุ่นที่ไม่ได้มีชื่อเสียงโดดเด่นหรือได้รับความสนใจจากสังคมเท่าใดนัก

แต่เรื่องราวความเป็นไปของ Hidetsugu Aneha ในวันนี้กลับสร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับแวดวงการออกแบบและการก่อสร้างของญี่ปุ่นอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

ภายใต้เหตุที่ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับภัยทางธรรมชาติ โดยเฉพาะแผ่นดินไหวอย่างต่อเนื่อง ข้อกำหนดทางกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานความปลอดภัยในการก่อสร้างอาคาร (Building Standard Law) ได้ระบุให้การก่อสร้างอาคารแต่ละแห่งจะต้องสามารถทนต่อแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว ที่มีความรุนแรงระดับ 6 หรือมากกว่าตามมาตราวัดแบบญี่ปุ่น (Japan Meteorolo-gical Agency's scale of 7)

ขณะที่อาคารโรงแรม คอนโดมิเนียมและอพาร์ตเมนต์ รวมกว่า 21 แห่งที่ Hidet-sugu Aneha เป็นผู้ออกแบบโครงสร้าง กลับมีระดับความปลอดภัยต่ำกว่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด จนไม่สามารถทนทานต่อแรงดังกล่าวได้ และพร้อมที่จะล้มทลายลงมาได้ หากเกิดเหตุแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรง เพียงในระดับที่ 5 หรือต่ำกว่าด้วยซ้ำ

กรณีดังกล่าวส่งผลให้กลไกการตรวจสอบมาตรฐานการก่อสร้างอาคารของญี่ปุ่น ถูกตั้งคำถามอย่างกว้างขวาง และเกี่ยวข้องกับมาตรฐานใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปนิกอีกด้วย

เนื่องจากการเป็นสถาปนิกในประเทศญี่ปุ่น จะต้องสอบเพื่อให้ได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภท (First-class, Second-class และ Traditional wooden house design) โดยผู้ที่สอบผ่านเกณฑ์มาตรฐานระดับชาติให้ได้รับใบอนุญาต สถาปนิกประเภทชั้นที่หนึ่งเท่านั้น ที่สามารถ ดำเนินงานออกแบบและก่อสร้างอาคารได้ในทุกมิติและทุกประเภท

ข้อกำหนดในเชิงทฤษฎีดังกล่าว ส่งผลให้เกิดเป็นช่องว่างทางกฎหมายที่ทำให้สถาปนิก first-class license บางส่วนรวบงานทั้งการออกแบบสถาปัตย์ (Architectural design) การออกแบบโครงสร้าง (Structural design) การออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคาร (Equipment design) และการควบคุมการก่อสร้าง (Construction supervision) ไว้ทั้งหมด ซึ่งย่อมเป็นไปได้ยากที่สถาปนิกรายใดจะมีความชำนาญการในทุกส่วนงานที่เกี่ยวข้องนี้

ยังไม่นับรวมการคำนวณข้อมูลตัวเลข เพื่อหาค่าความต้าน ทานต่อแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดิน ไหว (quake-resistance data calculation) ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญก่อนการออกแบบก่อสร้างอาคารใดๆ ในญี่ปุ่นด้วย

กระนั้นก็ดี งานที่สถาปนิก ในวงการออกแบบและก่อสร้างส่วนใหญ่ให้ความสนใจอยู่ที่การออกแบบสถาปัตย์ เพราะนอกจาก จะเป็นงานที่สามารถสร้างชื่อเสียงให้กับสถาปนิกผู้ออกแบบแล้ว architectural designer ยังเป็นประหนึ่งผู้รับเหมางานโดยรวม ที่จะเป็นผู้รับเงินค่าจ้างทั้งหมดจากเจ้าของโครงการ ก่อนที่จะถ่ายโอน ทั้งเงินและงานไปสู่สถาปนิกผู้ชำนาญการในแต่ละด้านในฐานะ sub-contracted architect ต่อไป

Hidetsugu Aneha (48 : born 10 June 1957, Osato, Miyagi) เข้าสู่แวดวงการก่อสร้างด้วยการเริ่มงานกับบริษัทรับเหมา ก่อสร้างขนาดกลางในกรุงโตเกียว หลังจากสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยอุตสาหกรรมในจังหวัด Miyagi ซึ่งเป็นจังหวัดบ้านเกิดโดย Aneha ได้เรียนรู้วิธีการออกแบบก่อสร้างจากบริษัทดังกล่าว ก่อนที่จะได้รับใบ อนุญาตสถาปนิกประเภทชั้นที่สอง (second- class architect license) หลังจากร่วมงานกับบริษัทแห่งนี้ได้ไม่นาน

ในปี 1988 ด้วยวัยเพียง 31 ปี Aneha เริ่มธุรกิจออกแบบและก่อสร้างของเขาเองภายใต้ชื่อ Aneha Architect Design พร้อม กับการสอบผ่านได้รับใบอนุญาตสถาปนิกประเภทที่หนึ่งในเวลาต่อมา ซึ่งตลอดระยะเวลา 17 ปี หลังจากที่ได้รับใบอนุญาตชั้นที่หนึ่ง Aneha ได้ออกแบบโครงสร้างอาคารต่างๆ รวมมากถึงเกือบ 400 แห่งหรือเฉลี่ยปีละกว่า 20 อาคาร

เป็นจำนวนอาคารที่ไม่น่าเชื่อว่าสถาปนิกรายใดจะสามารถแบกรับภาระงานออกแบบอาคารขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ได้มากกว่า 10 แห่งต่อปีเช่นนี้ แต่สาเหตุที่ทำให้ Aneha มีชื่อเสียงและได้รับงานออกแบบโครงสร้างอาคารเข้ามาอย่างมากมายนี้ อยู่ที่ความสามารถในการออกแบบโครงสร้างอาคารที่เรียบง่าย และมีต้นทุนการก่อสร้างต่ำ ท่ามกลางภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจที่ยาวนาน ควบคู่กับความตกต่ำของธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์

ชื่อเสียงของ Aneha ในการเป็นผู้ออกแบบโครงสร้างที่สามารถลดต้นทุนการก่อสร้าง อาจจะโจษขานกันอยู่เฉพาะในแวดวงการก่อสร้าง และ Aneha อาจได้รับโอกาสให้ออกแบบโครงสร้าง อาคารอีกนับไม่ถ้วน หากข้อมูลการปลอมแปลงเอกสารการอนุมัติ การก่อสร้างและใบรับรองความปลอดภัยด้านโครงสร้างของอาคาร ที่ Aneha สร้างขึ้นไม่ถูกเปิดเผย ออกมา

ข้อมูลเท็จ (fake data) เกี่ยวกับความต้านทานแรงแผ่นดิน ไหว (quake data) ที่ Aneha นำมาใช้ในการก่อสร้าง ทำให้อาคารเหล่านี้สามารถลดจำนวนวัสดุและต้นทุนในการก่อสร้างได้อย่างง่ายดาย

เรื่องราวแห่งความน่าละอายดังกล่าว ถูกค้นพบและกลายเป็นประเด็นสาธารณะอย่างรวดเร็ว หลังจากที่ eHomes Inc. บริษัทเอกชนซึ่งได้รับมอบหมายจากองค์กรท้องถิ่นของรัฐ ในการเป็นผู้ตรวจสอบและให้การรับรองการก่อสร้าง ได้ตรวจสอบข้อมูล ภายใน (in-house inspection) และพบว่าเอกสารที่ Aneha ยื่นขอใบรับรองการก่อสร้าง อาคารในช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2003 ถึงตุลาคม 2005 หลายอาคารเป็นเอกสารปลอม

อย่างไรก็ดี ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า Aneha เริ่มปลอมแปลงเอกสารรับรองความปลอดภัยของโครงสร้างอาคารเหล่านี้ตั้งแต่เมื่อใด แต่จากข้อมูลที่ปรากฏในปัจจุบันการปลอมเอกสารอาจย้อนไปได้ไกลถึงปี 1998 เมื่อภาคเอกชนได้รับสิทธิในการออกใบรับรอง การก่อสร้าง หลังจากที่กฎหมายว่าด้วยมาตรฐานการก่อสร้างอาคาร (Building Standard Law) ได้รับการปรับปรุงแก้ไขในปี 1998 จากผลของเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ Great Hanshin Earthquake ในปี 1995

กรณีการบิดเบือนข้อมูลการก่อสร้างของ Aneha จึงมิได้เป็นเพียงเรื่องราวของสถาปนิกเท่านั้น หากยังเป็นกรณีที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการออกแบบก่อสร้างของญี่ปุ่นทั้งระบบ รวมถึงระบบการตรวจสอบและมาตรการความปลอดภัย ที่เกี่ยวข้องกับผู้คนจำนวนมากในสังคมอีกด้วย

แม้ว่าอาคารที่ Aneha ออกแบบโครงสร้างภายใต้ข้อมูลเท็จเหล่านี้จะยังไม่มีแห่งใดต้องตกอยู่ในภาวะวิกฤติถึงขั้นที่จะเป็นอันตรายอย่างฉับพลัน แต่อาคารที่สร้างผิดมาตรฐานเหล่านี้ย่อมอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินเกินกว่าจะปล่อยให้มีการเข้าใช้ประโยชน์ได้

รัฐบาลญี่ปุ่นได้เสนอมาตรการเพื่อจัดการกับอาคารที่มีปัญหาการใช้ข้อมูลเท็จในการก่อสร้าง ด้วยการทุบทำลายอาคารที่ไม่ได้มาตรฐานเหล่านี้ ก่อนที่จะสร้างขึ้นมาใหม่ในพื้นที่เดิม พร้อมกับให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้พักอาศัย สำหรับการหาที่พัก ชั่วคราวระหว่างรอคอยการก่อสร้าง ซึ่งคาดว่า อาจจะต้องใช้เงินงบประมาณฉุกเฉินเป็นจำนวนมากถึง 8 พันล้านเยน และถือเป็น มาตรการให้ความช่วยเหลืออย่างรอบด้านที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน นอกเหนือจากกรณีของผู้ประสบวิบัติภัยทางธรรมชาติ

มาตรการดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น นอกจากจะส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้พักอาศัยในอาคารดังกล่าวแล้ว ยังอาจเป็นภัยต่ออาคารและผู้พักอาศัยในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งย่อมไม่ใช่สิ่งพึงประสงค์ให้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
ข้อเสนอของรัฐบาลญี่ปุ่นดังกล่าว ในด้านหนึ่งได้รับการตอบรับอย่างอบอุ่นจากผู้พักอาศัยที่ตกเป็น "เหยื่อ" ของความฉ้อฉล แต่สำหรับบริษัทผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องในแต่ละระดับชั้น ที่นอกจากจะต้องเผชิญกับมาตรการทางกฎหมายแล้ว มูลค่าการลงทุนที่ต้องเสียไปกับอาคารที่ไม่ได้มาตรฐานและเงินที่ต้องชดใช้คืนให้แก่รัฐบาล อาจทำให้บริษัทเหล่านี้ประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนัก โดยบางบริษัทอาจถึงกับล้มละลายได้เลยทีเดียว

นอกจากนี้คณะกรรมาธิการของรัฐสภา ญี่ปุ่น ได้ออกหมายเรียกหน่วยงานและผู้เกี่ยวข้องเข้าให้ปากคำ เพื่อสอบสวนข้อเท็จ จริงของเหตุอื้อฉาวครั้งนี้อย่างต่อเนื่อง และกำลังนำไปสู่การขยายผลสำหรับการปราบปรามและจัดระเบียบธุรกิจอุตสาหกรรมการออกแบบก่อสร้างทั้งระบบ

ขณะเดียวกัน ท่าทีของกระทรวงที่ดิน โยธาธิการและขนส่ง (Ministry of Land, Infrastructure and Transport : MLIT) ซึ่งก่อนหน้านี้ต้องตกเป็นจำเลยของสังคมอยู่เป็น ระยะ จากเหตุที่ปรากฏว่าโครงการก่อสร้าง ของรัฐหลากหลายโครงการมีการฉ้อฉลและเอื้อประโยชน์ภายในกลุ่มเอกชน ผู้เข้าร่วม ประมูลโครงการ (bid rigging) พยายามที่จะ ดำเนินมาตรการเพื่อเรียกศรัทธาของสังคม คืนจากเหตุอื้อฉาวครั้งนี้อย่างเร่งด่วน

MLIT ได้ยื่นฟ้องเพื่อดำเนินคดีกับAneha ในข้อหาปลอมแปลงเอกสาร พร้อมกับเพิกถอนใบอนุญาตสถาปนิกของ Aneha เกือบจะโดยทันทีที่กรณีดังกล่าวเปิดเผยสู่สาธารณะ

ก่อนที่ MLIT จะเสนอแผนเพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้ใบอนุญาตสถาปนิก first-class license ให้มีลักษณะของการเป็นผู้ชำนาญการแต่ละด้านแทนที่จะได้รับสิทธิประโยชน์แบบครอบคลุมทุกมิติดังเช่นที่ผ่านมารวมทั้งการศึกษาเพื่อยกเลิกระบบใบอนุญาตตลอดชีพ (lifelong license) แต่จะใช้ระบบระบุช่วงเวลาในการทดสอบองค์ความรู้ เพื่อการต่ออายุใบอนุญาตในอนาคต

ความเคลื่อนไหวดังกล่าว แม้จะเป็นสะท้อนความฉับไวในการตอบสนองต่อปัญหา ของหน่วยงานรัฐ แต่นั่นอาจเป็นเพียงมาตรการ เชิงรับ เพื่อดูดซับปัญหาที่ไม่สามารถสร้างหลักประกันให้กับสังคมได้ และกำลังสะท้อน ภาพความด้อยประสิทธิภาพของกลไกรัฐในการควบคุมและอำนวยประโยชน์สุขให้กับประชาชนในช่วงที่ผ่านมาอย่างเด่นชัดด้วย

ข้อมูลที่น่าสนใจประการหนึ่งอยู่ที่ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในกรณีดังกล่าวเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งพบว่า กว่าร้อยละ 93 ของผู้ตอบแบบสอบถาม เชื่อว่าเหตุอื้อฉาวครั้งนี้เป็นเพียง tip of iceberg ของความฉ้อฉลในวงการก่อสร้างที่รอคอยการเปิดเผยออกมาเท่านั้น

ภาวะเสื่อมศรัทธาในความเป็นมืออาชีพและผู้ชำนาญการของภาคเอกชนในวงการออกแบบและก่อสร้างของญี่ปุ่นครั้งนี้ อาจนำไปสู่ภาวะถดถอยครั้งใหม่ ซึ่งมีต้นทุนทางสังคมที่ต้องจ่ายมากกว่าการคิดคำนวณตัวเลขผลประกอบการอย่างเทียบไม่ได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us