Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2549
Nengajo             
โดย ภก.ดร. ชุมพล ธีรลดานนท์
 


   
search resources

Social




กุศโลบายอันแยบยลที่แทรกอยู่ในธรรมเนียมปฏิบัติของเทศกาลคริสต์มาส ใช้เป็นวิธีอบรมเด็กๆ โดยทางอ้อมให้เกิดการเรียนรู้ถึงบรรทัดฐานสังคมภายใต้เงื่อนไขของการจูงใจให้ประพฤติตนเป็นเด็กดี เพื่อตื่นมาพบกับของขวัญในถุงเท้าที่หัวเตียงจากซานต้า อีกทั้งการส่งการ์ดคริสต์มาสไปให้เพื่อนฝูงซึ่งเมื่อบริบททั้งสองอย่างนี้ประมวลเข้ากันแล้วจะเป็นความบังเอิญหรือไม่ก็ตามธรรมเนียมตะวันตกดังกล่าว มีกลไกที่คล้ายคลึงกับภูมิปัญญาตะวันออกที่กำเนิดและฝังรากมาเนิ่นนานในสังคมญี่ปุ่นที่ว่าด้วยเรื่องของ "Nengajo"

ประการแรก Nengajo เป็นเสมือนของขวัญในตู้รับไปรษณีย์ยามเช้าตรู่ของวันปีใหม่ที่บุรุษไปรษณีย์นำมาวางไว้ให้ ไม่ใช่ของที่มีราคาค่างวดอะไรแต่สูงค่าทางจิตใจจากคนรอบข้างที่ส่งคำขอบคุณสำหรับการเป็นคนดีขององค์กร (และสังคม) ตลอดปีที่ผ่านมา ประการที่สอง ถือเป็นโอกาสดีในการส่งความสุขปีใหม่ ซึ่งเป็นช่วงวันหยุดยาวที่สำคัญที่สุดของญี่ปุ่นเฉกเช่นเดียวกันคริสต์ มาสที่มีความสำคัญต่อคริสเตียน

จากหลักฐานเก่าแก่ที่พบบ่งบอกถึงการอวยพรปีใหม่ในหมู่เครือญาติโดยแต่ง Nengajo ออกมาในลักษณะของโคลงกลอนในสมัยเฮอัน (ค.ศ.794-1185) เรื่อยมาจนสมัย เอโดะ (ค.ศ.1603-1867) มีการส่ง Nengajo กันอย่างกว้างขวางตั้งแต่ชนชั้นปกครองโดยไดเมียวส่งไปให้โชกุนไล่ลงมาถึงซามูไรและถึง ระดับพ่อค้าซึ่งถือเป็นวรรณะต่ำสุดในสมัยนั้น

วิวัฒนาการของ Nengajo เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในสมัยปฏิวัติเมจิที่นำญี่ปุ่นไปสู่ยุคแห่งความรุ่งเรือง เมื่อไปรษณีย-บัตรเริ่มใช้เป็นครั้งแรก Nengajo ในรูปแบบ ของไปรษณียบัตรที่เกิดขึ้นในปี 1873 ถือเป็น Nengajo มาตรฐานซึ่งผลิตโดยไปรษณีย์ญี่ปุ่น และใช้ต่อๆ กันมาจนถึงปัจจุบัน

บนไปรษณียบัตรพิเศษนี้จะมีแสตมป์ตามปีนักษัตรราคา 50 เยนพิมพ์อยู่พร้อมกับ คำว่า "Nenga" ด้านล่างของแสตมป์ ในกรณีที่ไม่ได้ใช้ไปรษณียบัตรมาตรฐานควรจะเขียนคำว่า "Nenga" กำกับไว้ด้านล่างของ แสตมป์เช่นเดียวกัน มิฉะนั้นอาจเกิดกรณี Nengajo ส่งไปถึงก่อนหรือหลังวันปีใหม่ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ไป

โดยทั่วไปแล้วช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการส่ง Nengajo คือ 12-25 ธันวาคม ซึ่งช่องทางด้านขวาของตู้ไปรษณีย์จะถูกดัดแปลงให้เป็นช่องพิเศษที่รับเฉพาะ Nengajo เท่านั้น เพื่อเป็นการรับประกันว่า Nengajo ทุกใบจะถึงมือผู้รับภายในเช้าตรู่ของวันปีใหม่พร้อมกันทั่วประเทศ Nengajo ที่ส่งมาในช่วงเวลาดังกล่าวจะได้รับการแยก ส่งไปเก็บและรอเวลา ณ ที่ทำการไปรษณีย์ที่อยู่ในเขตรับผิดชอบ

กระทั่งแสงอาทิตย์อุทัยแรกแห่งปีมาถึงเป็นเวลาเดียวกับที่บุรุษไปรษณีย์นำ Nengajo กว่า 4,300 ล้านใบ (สถิติเมื่อปี 2005) จัดส่งถึงทุกบ้านทั่วญี่ปุ่นให้เสร็จภายใน ช่วงเช้าซึ่งผู้คนส่วนใหญ่ยังไม่ตื่น นับว่าเป็นระบบจัดการที่ทรงประสิทธิภาพมากทีเดียว

ความน่าสนใจของ Nengajo แต่ละใบ มิได้อยู่เพียงแค่รูปลักษณ์ซึ่งสะดุดตาด้วยการออกแบบเป็นภาพของสัตว์นักษัตร (ปี 2006 ปีจอ) หรือรูปถ่าย ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นรูปแต่งงาน (เป็นที่นิยมสำหรับคู่ที่เพิ่งแต่งงาน ใหม่) และ/หรือรูปเด็กๆ ของครอบครัวเท่านั้น การเลือกใช้คำทักทายต้อนรับปีใหม่อย่างสุภาพและถ้อยคำอวยพรจากใจเป็นสิ่งที่ทำให้ Nengajo แต่ละใบดูมีชีวิตชีวาและควรค่าสำหรับผู้รับ

สำหรับคนที่ไม่มีเวลาหรือไม่สันทัดในงานศิลปะ อาจใช้ Nengajo สำเร็จรูปที่วางขายทั่วไปหรือว่าจ้างร้านถ่ายรูปผลิต Nengajo ให้ตามต้องการ กระนั้นก็ดีเทคโน โลยีของเครื่อง printer ปัจจุบันทำให้สามารถ ออกแบบเองโดยการใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์และ print จากเครื่องที่บ้านซึ่งสะดวกและง่ายดายเพียงปลายนิ้ว

ในขณะเดียวกันยังมีคนจำนวนมากที่นิยม Nengajo hand made ซึ่งคงเสน่ห์กลิ่นอายแบบญี่ปุ่นแท้ๆ ไว้ จึงมีหลายร้านอย่างเช่น Loft, Tokyu Hands ที่หันมาเอาใจลูกค้ากลุ่มนี้โดยจัดหาวัสดุการทำ Nengajo ออกมาอำนวยความสะดวกเป็นจำนวนมากเป็นต้นว่า กระดาษสีสำเร็จรูป สารพัด stamp พร้อมผงโรยหมึกที่สามารถนูนขึ้นเมื่อได้รับความร้อนที่พอเหมาะ

ลักษณะเด่นอีกอย่างหนึ่งของ Nengajo มาตรฐานคือหมายเลข lottery ที่เรียงตามเบอร์ และหมวดหมู่ ซึ่งพิมพ์ไว้ด้านล่างสุดของชื่อและที่อยู่ผู้รับ ถึงแม้ว่าผู้ถูกรางวัลที่ 1 ทั้งหลาย จะไม่ได้กลายเป็นเศรษฐีขึ้นมาทันตาเห็นแต่ก็มี คนจำนวนไม่น้อยที่โชคดีตั้งแต่ย่างเข้าปีใหม่

หมายเลข lottery เริ่มมีมาตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกในปี 1949 โปรโมชั่นของไปรษณีย์ญี่ปุ่นนี้กลายเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วย ส่งเสริมให้คนส่ง Nengajo กันมากขึ้น หากย้อนดูของรางวัลในแต่ละปีจะเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของสังคมอีกทั้งค่านิยมของคนญี่ปุ่นตามยุคสมัยอันได้แก่

รางวัลที่ 1 ในปีแรก 1949 : จักรเย็บผ้าซึ่งในปีนั้นทำให้มีการส่ง Nengajo มากถึง 1,800 ล้านฉบับ

ช่วงปี 1960 : transistor, TV เป็นยุคที่ญี่ปุ่นฟื้นตัวจากสงครามและมีการจัด Tokyo Olympics

ช่วงปี 1970 : 8 mm. projector, จักรยาน

ช่วงปี 1980 : microwave

ช่วงปี 1990 : ตั๋วไปเที่ยวต่างประเทศ

ช่วงปี 2000 : Plasma TV, notebook และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ

ปีหน้า 2006 : แพ็กเกจทัวร์ Hawaii, แพ็กเกจทัวร์ในประเทศ, notebook, เซต DVD recorder พร้อม home theatre, เซต digital VDO camera พร้อม printer

ซึ่งแน่นอนว่าโอกาสถูกรางวัลที่ 1 นั้น ไม่ได้ยากจนเกินไปและนอกจากนี้ยังมีรางวัลอื่นๆ อีกมากมาย จากสถิติโดยเฉลี่ยหนึ่งครอบครัวจะส่ง (และได้รับ) Nengajo ประมาณ 50-100 ใบ ซึ่งเท่ากับมีโอกาสถูกรางวัลใดรางวัลหนึ่งแทบทุกครัวเรือน

ข้อควรระวังเป็นพิเศษสำหรับธรรม เนียมการส่ง Nengajo คือจะต้องพึงระลึกเสมอว่าห้ามส่ง Nengajo ไปให้ครอบครัวที่มีญาติเสียชีวิตในปีก่อนหน้านั้น (ที่เรียกว่า Mochu) อย่างเด็ดขาด ถือเป็นการร่วมไว้อาลัย แด่ผู้ตายซึ่งปกติแล้วสมาชิกในครอบครัวนั้นจะส่งไปรษณียบัตรไปแจ้งข่าวกับเพื่อนฝูงหรือ คนรู้จักโดยเฉพาะที่มีรายชื่ออยู่ใน list ของ Nengajo ปีที่แล้ว

Nengajo จึงเป็นธรรมเนียมประจำชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีความผูกพัน อย่างลึกซึ้งกับคติแนวคิดในสังคมญี่ปุ่น เป็นสายสัมพันธ์เส้นเหนียวบางที่โยงใยทั้งในแนวนอนและแนวดิ่ง ซึ่งหล่อหลอมจนเป็นหนึ่งเดียว เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจปลายปี และเป็นโชค ในปีใหม่ที่มาจากเพื่อนสนิทมิตรสหายรวมทั้งเพื่อนร่วมงาน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us