Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2540
สิทธิของผู้บริโภค จะให้เต็มร้อยต้องคุ้มครองตนเอง             
 

   
related stories

สคบ.ปรับนโยบายเชิงรุก ลบภาพ "เสือกระดาษในแดนสนธยา"

   
search resources

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
อนุวัฒน์ ธรมธัช




การคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค หากพูดกันตามจริงไม่ว่าจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลสักเท่าไร ก็ยังไม่สามารถทำได้เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์อย่างแน่นอน

เพราะหากเทียบปริมาณของหน่วยงานที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคทั้งทางตรง และทางอ้อม กับจำนวนผู้บริโภคชาวไทยซึ่งมีอยู่กว่า 60 ล้านคนทั่วประเทศ ผลที่ได้ก็คืออัตราส่วนที่สูงเกินจะคุ้มครองกันได้ทั่วถึง

อนุวัฒน์ ธรมธัช ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ปรารภถึงเรื่องการคุ้มครองตนเองของผู้บริโภคชาวไทยว่า ยังไม่ค่อยตื่นตัวกันเท่าไรนัก ด้วยเหตุผลหลายๆประการ ทำให้ยังมีผู้บริโภคชาวไทยอยู่มากที่ถูกเอาเปรียบจากผู้ประกอบการธุรกิจ

"สคบ.เราอยากให้ผู้บริโภคตื่นตัวในสิทธิของตัว เราพร้อมที่จะช่วยเหลือไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กขนาดไหน ถ้าผู้บริโภคเขามาร้องเรียนเราจะช่วยไกล่เกลี่ยทุกกรณี"

ภาพการเจรจาไกล่เกลี่ย ซึ่งสคบ.เป็นตัวแทนให้กับผู้บริโภคที่เห็นโดยทั่วไป ประชาชนอาจจะเข้าใจว่าจะต้องเป็นเรื่องใหญ่ๆ เท่านั้น โดยภาพการร้องเรียนที่เห็นก็คือการร้องเรียนในเรื่องที่เกี่ยวกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพราะมีมูลค่าความเสียหายสูง จึงดูเป็นภาพใหญ่กว่าการเรียกร้องสิทธิของผู้บริโภคในธุรกิจอื่น รองลงมาคือการเรียกร้องของผู้บริโภคจากสินค้าประเภทรถยนต์

หากถ้านับเป็นราย การเรียกร้องสิทธิของผู้บริโภคต่อสคบ.ในเรื่องเกี่ยวกับสินค้าอุปโภคบริโภคก็มีไม่น้อย บางเรื่องอาจจะฟังแล้วเป็นเรื่องกวนใจคนทำงาน แต่ผู้อำนวยการสคบ. และเจ้าหน้าที่ต่างเห็นเป็นเรื่องดีที่ผู้บริโภคไม่ยอมละเลยสิทธิ์ของตัวเองดังเรื่องตัวอย่างที่ผู้อำนวยการสคบ.เล่าให้ "ผู้จัดการรายเดือน" ฟังดังนี้

ครั้งหนึ่งที่เคเอฟซี มีโปรโมชั่นแถมมันฝรั่งเลย์ แต่พอลูกค้าไปซื้อแล้วทวงถาม พนักงานบอกว่าไม่มีให้มาเอาภายหลัง ต่อมาลูกค้าโทรมาทวงว่ามีหรือยัง พนักงานบอกยังไม่มีแล้วพูดนอกกระบอกโทรศัพท์แต่ลูกค้าได้ยินมาตามสายว่า "อีนี่มันงก" จึงเกิดเรื่องลูกค้าไม่พอใจโทรไปร้องเรียนต่อสคบ.ๆ เรียกผู้ประการการมาตกลง สรุปผลลูกค้าเป็นฝ่ายถูกได้มันฝรั่งเลย์ตามที่โฆษณาไว้ไป 1 ถุง พนักงานเนื่องจากทำให้บริษัทเสียชื่อก็ถูกไล่ออก

"เรื่องแบบนี้เป็นสิทธิ์ของลูกค้าที่จะเรียกร้องได้ และมีเข้ามามากพอสมควร ทางสคบ.ก็ยินดีจะเคลียร์ให้ตามสิทธิของผู้บริโภค"

นอกจากนี้ ยังมีการร้องเรียนเกี่ยวกับการโฆษณาของห้างสรรพสินค้าในช่วงโปรโมชั่นอีกมาก แต่ผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าส่วนใหญ่แล้ว หากเกิดกรณีที่ผู้บริโภคเรียกร้องสิทธิแล้วทางสคบ.เชิญมาไกล่เกลี่ยก็จะยอมด้วยดีหากพิสูจน์ได้ว่าผู้ประกอบการเป็นฝ่ายผิดจริง "สาเหตุที่ผู้ประกอบการกลุ่มนี้ยอมชดเชยเมื่อรู้ตัวว่าเป็นฝ่ายผิดจริงเพราะอยากให้จบเรื่องเร็วไม่อยากเสียเวลา เรื่องส่วนใหญ่จึงจบลงได้ตั้งแต่เชิญมาตกลงหลังจากมีผู้มาร้องเรียน เพราะสาเหตุหนึ่งที่สำคัญคือกลัวเสียชื่อเสียง ซึ่งถือว่าไม่คุ้มกันกับธุรกิจขนาดใหญ่ และเมื่อยอมกันก็ถือว่าจบเรื่อง

ในความจริงแล้วหากผู้บริโภคร้องเรียน ผู้ประกอบการผิดจริงก็ไม่นิ่งเฉยที่จะจ่ายค่าชดเชย สิ่งที่สคบ.ทำในตอนนี้ก็คือ การกระจายความรู้เรื่องสิทธิของผู้บริโภค โดยบรรยายให้เด็กฟัง ซึ่งผลที่ออกมาก็ดีเด็กนักเรียนบางโรงเรียนสามารถทำให้แม่ค้าเปลี่ยนจากจานพลาสติกมาใช้จานกระเบื้องเพื่อความปลอดภัยแทนได้

วิธีที่สคบ.เชื่อแน่ว่าดีที่สุดสำหรับการคุ้มครองผู้บริโภคก็คือให้ผู้บริโภคตระหนักถึงสิทธิของตนเองให้มากที่สุด รวมทั้งจะจัดให้มีวันชุมนุมคุ้มครองผู้บริโภคในระดับมัธยมเหมือนกับชุมนุมลูกเสือ เนตรนารี ซึ่งเชื่อแน่ว่าจะเป็นการปลูกฝังให้คนไทยในปัจจุบันและอนาคต และสังคมไทย มีความเข้มแข็งในเรื่องของการคุ้มครองผู้บริโภคมากขึ้น และจะเป็นมิติใหม่ที่ดีกว่าเกินแน่นอน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us