Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2540
สคบ.ปรับนโยบายเชิงรุก ลบภาพ "เสือกระดาษในแดนสนธยา"             
 

   
related stories

สิทธิของผู้บริโภค จะให้เต็มร้อยต้องคุ้มครองตนเอง

   
search resources

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
อนุวัฒน์ ธรมธัช




สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคผู้เคยมีฉายาว่า "เสือกระดาษ"

กำลังจะลบภาพเก่าๆ ให้หมดไปทีละน้อย

ด้วยนโยบายเชิงรุก "กันก่อนแก้"

เตรียมดันร่างสัญญามาตรฐานที่เป็นธรรมแก่ทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคออกใช้

โดยพัฒนาจากสัญญามาตรฐานเดิม 5 ฉบับที่เคยมีแต่ใช้ไม่ได้ผล

พร้อมๆ กับแผนการเปลี่ยนจากสำนักเป็นกรม

หากร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคฉบับใหม่ผ่านตามเป้าหมาย

เรื่องภาพที่เป็นเสือกระดาษ หรือแดนสนธยา เป็นเรื่องที่สื่อมวลชนมองเป็นกระจกเงาสะท้องมาที่เรา จะให้สคบ.วิจารณ์เองไม่ได้ แต่ตั้งแต่ผมเข้ามาทำเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2538 ก็พยายามลบภาพลักษณ์เหล่านี้" นายอนุวัฒน์ ธรมธัช ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือสคบ. กล่าวถึงภาพลักษณ์ที่เกิดขึ้นกับหน่วยงาน พร้อมทั้งเล่าถึงที่มาว่า

ภาพที่เกิดขึ้นมีองค์ประกอบมาจากครั้งหนึ่งเมื่อสมัยที่สคบ.เป็นเพียงกองคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งมีอำนาจหน้าที่เพียงกองๆ หนึ่งของหน่วยงานราชการ การให้ข่าวสารจะมีระเบียบของทางราชการอยู่ว่า หัวหน้าหน่วยราชการจะเป็นผู้อนุมัติว่าจะให้ข่าวหรือไม่

แต่ครั้งนั้นผู้อำนวยการกอง หรือมีตำแหน่งข้าราชการระดับ 6 ของกองคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งมีหน้าที่ให้ความรู้ในการเป็นวิทยากรบรรยายในสถาบันต่างๆ ซึ่งมีการคุ้มครองผู้บริโภคอยู่ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในระดับอุดมศึกษากว่า 1,000 แห่ง

"ก็มีอยู่คราหนึ่งก็เกิดมีการบรรยายปกติแล้วในการบรรยายก็มีโครงสร้างว่า ปัญหาการทำงานและอุปสรรค ผู้บรรยายในตอนนั้นก็บรรยายว่า ปัญหาก็คือ งบประมาณน้อย คนน้อย เครื่องไม้เครื่องมือไม่ทันสมัย และผู้บังคับบัญชาไม่ค่อยให้ความสนใจ พอมาประเด็นสุดท้าย ซึ่งตอนนั้นบรรยายในโรงเรียนทหารและมีผู้สื่อข่าวไปฟัง ลงหนังสือพิมพ์เขียนไป ก็เป็นเรื่องของงานวิชาการ แล้วทางกองงานโฆษก ก็ตัดข่าวไปให้ผู้บริหารก็กลายเป็นว่าถูกเรียกขึ้นไป หาว่าไปว่า" ผู้อำนวยการสคบ.กล่าว

เมื่อผู้บรรยายถูกตำหนิ ทำให้การทำงานต่อๆ มาจึงเกิดความกลัวเกรงและไม่ค่อยกล้าปฏิบัติและเผยแพร่ข่าวสู่สาธารณชน แล้วทำงานกันไปแบบราชการ นับแต่นั้นมาสคบ.จึงได้ชื่อว่าเป็นแดนสนธยาประกอบกับการคุ้มครองผู้บริโภคไม่ค่อยมีบทบาทจึงถูกขนานนามต่อไปว่าเป็นเพียงเสือกระดาษ

เพื่อเป็นการลบภาพดังกล่าว ผู้อำนวยการสคบ.กล่าวว่า ภายหลังจากที่เข้ามารับงาน ได้พยายามที่จะเผยแพร่ข่าวสารให้กว้างขึ้นเพื่อไม่ให้เป็นหน่วยงานที่อยู่เงียบจนเรียกเป็นแดนสนธยาเหมือนที่ผ่านๆ มา

"การตำหนิครั้งนั้นผมไม่เห็นด้วย ถ้าเป็นผมๆ พร้อมจะให้ติ แล้วมาในยุคที่ผมเข้ามาดูแลสคบ.ก็มีนโยบาย เผยแพร่การทำงานมากขึ้นในทุกขั้นตอน และพร้อมที่จะให้ตำหนิติชมหากแต่ควรจะมีข้อเสนอและชี้แนะแนวทางมาในข้อตำหนินั้นพร้อมกันด้วย"

ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่าภาพในอดีตของสคบ.ก็เริ่มจางลงแล้วในปัจจุบัน เพราะมีการเปิดกว้างสู่สาธารณะมากขึ้นอย่างที่ควรจะเป็นมานาน เพราะการคุ้มครองผู้บริโภคควรจะเป็นเรื่องที่ใกล้ชิดกับประชาชนทั่วไปในฐานะผู้บริโภคนั่นเอง

ขณะเดียวกันนี้สคบ.กำลังอยู่ระหว่างการเสนอร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค เข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร เพื่อเปลี่ยนบทบาทเป็นกรมให้มีศักยภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น ซึ่งถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคฉบับใหม่คงจะเข้าสภาในสมัยประชุมวาระที่ 2 ที่จะถึงนี้ และร่างพ.ร.บ.ที่เสนอเข้าไปในครั้งนี้เป็นการเสนอร่วมกัน 3 ฉบับ คือ ของรัฐบาล 1 ฉบับ ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีก 2 คนคือนายแพทย์เปรมศักดิ์ เพียยุระ พรรคความหวังใหม่กับสาธิต วงศ์หนองเตย พรรคประชาธิปัตย์

สาระสำคัญของกฎหมาย คือการปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ให้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้น เช่น มหาดไทย เกี่ยวกับเรื่องอสังหาริมทรัพย์ และในเรื่องของข้อความที่ว่า ผู้บริโภคเดิมมีสิทธิ์อยู่ 4 ประการ ก็จะเพิ่มอีก 1 ประการ คือ สิทธิที่ได้รับความเป็นธรรมจากการทำสัญญา

"หมายถึง เราจะมีคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา ซึ่งเป็นคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง ที่จะกำหนดให้ธุรกิจใดที่มีธรรมเนียมปฏิบัติให้ทำเป็นลายลักษณ์อักษร ก็จะกำหนดให้เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา"

โดยเฉพาะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่มีปัญหามาก ซึ่งผู้บริโภคถูกเอาเปรียบในเรื่องการทำสัญญา แล้วในอดีตสคบ.ก็แก้ปัญหาค่อยข้างปลายเหตุมีเรื่องแล้วจึงมาแก้ไข ร้องเรียกเอาค่าชดเชยทีหลัง

ต่อไปนี้เมื่อกำหนดว่าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นธุรกิจควบคุมสัญญาแล้วร่างสัญญานั้นคณะกรรมการก็ต้องออกกฎหมายมา ซึ่งอาจจะนำสัญญามาตรฐานที่เรามีอยู่ 5 ฉบับ มาปรับปรุงแก้ไข มาจัดสัมมนากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการ แล้วออกเป็นร่างกฤษฎีกาบังคับให้ทุกคนใช้แบบสัญญามาตรฐานที่กำหนดไว้

เพราะปัญหาสำคัญในอดีต ข้อความในสัญญาอสังหาริมทรัพย์จะเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคมาก เช่น ในสัญญาจะซื้อจะขาย จะไม่ปรากฏหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจ ตรงกันข้ามจะกำหนดหน้าที่ของผู้บริโภคว่า เมื่อจ่ายเงินดาวน์เงินงวด เงินมัดจำไม่ตรงตามกำหนดจะถูกบอกเลิกสัญญายึดเงินมัดจำ หรือคิดดอกเบี้ย

"แต่ในกรณีที่ผู้ดำเนินธุรกิจหรือผู้ออกสัญญา ไม่ดำเนินตามกำหนด จะไม่มีข้อความว่าผู้บริโภคสามารถบอกเลิกสัญญา หรือผู้ประกอบการจะต้องคืนเงินดอกเบี้ยหรือต้องเสียค่าปรับ หรือจะต้องทำสาธารณูปโภคเท่าไร จะต้องทำการก่อสร้างเมื่อไร จะแล้วเสร็จเมื่อไร ไม่มีบอก"

ฉะนั้นในร่างของพระราชบัญญัติฉบับใหม่ เมื่อมีคณะกรรมการสัญญาแล้ว จะกำหนด จะมีข้อความสัญญาที่เป็นธรรม เป็นสัญญาสำเร็จรูปที่ทุกบริษัทใช้ และต้องประกาศเป็นกฎหมาย เช่น สัญญามาตรฐาน ก็ต้องออกเป็นกฤษฎีกา เป็นต้น

สำหรับสัญญามาตรฐาน 5 ฉบับที่ออกมาใช้นั้น ผู้อำนวยการสคบ. กล่าวว่า ปัจจุบันเรียกว่าไม่มีประสิทธิภาพในการใช้เลย เพราะว่าผู้ประกอบการจะใช้เฉพาะในสิ่งที่เป็นประโยชน์ แต่หลักในการร่างสัญญามาตรฐาน จะมีพื้นฐานจากการให้ความเป็นธรรมต่อทั้งสองฝ่าย

สัญญาที่ใช้ทั่วไปทุกวันนี้ โดยธรรมชาติผู้ประกอบการจะร่างมาเอง ผู้บริโภคไม่มีสิทธิ์ไปร่างหรือเปลี่ยนแปลงเท่าไร เนื่องจากการบริโภคทรัพยากรอสังหาริมทรัพย์มีจำนวนจำกัด เพราะฉะนั้นผู้บริโภคจะถูกเอาเปรียบร้อยทั้งร้อย แต่ต่อไปคณะกรรมการสัญญา จะร่างสัญญาที่เป็นเหตุเป็นผลขึ้นมา แล้วเป็นร่างสัญญาที่บังคับใช้ตามกฎหมาย

"เมื่อกฎหมายเป็นกฤษฎีกาทุกคนก็ต้องใช้ตามนี้ แต่ต้องให้ผ่านร่างพ.ร.บ.ก่อน แล้วตัวพ.ร.บ.ก็ไม่รู้ว่าจะถูกคัดค้านโดยผู้ประกอบการที่มีอิทธิพลหรือเปล่า แต่คิดว่าไม่น่ามีปัญหาอะไร"

อย่างไรก็ตาม ผู้อำนวยการสคบ.กล่าวว่า สิ่งที่สคบ.ช่วยเหลือผู้บริโภคเป็นการให้ความเป็นธรรม ไม่ได้ไปบังคับผู้ประกอบการ แต่เป็นเพราะปัจจุบันผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบมากไป จึงต้องหามาตรการป้องกันไว้ก่อน เพื่อที่แก้ปัญหาที่สคบ.ต้องมานั่งเจรจาไกล่เกลี่ยที่ปลายเหตุเช่นที่ผ่านมา

ทั้งนี้ พ.ร.บ.ที่ปรับปรุงแก้ไข ยังสอดคล้องกับสัญญาที่เป็นธรรมของกระทรวงยุติธรรม

สัญญามาตรฐานที่เกิดขึ้น ประกอบด้วย สัญญาจะซื้อจะขาย สัญญาจอง สัญญาว่าจ้าง สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ที่ดิน อาคารชุด

"มั่นใจได้ว่าสัญญาที่เกินขึ้นจะเป็นธรรมและได้ผลกว่าเก่า เพราะเกิดได้เพราะการระดมความคิดระหว่างสคบ. ผู้ประการธุรกิจในทุกๆ ด้าน นักวิชาการ ตัวแทนผู้บริโภค รวมทั้งมีคณะกรรมการว่าด้วยกฎหมาย คณะอนุกรรมการกฎหมายซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญต่างๆ พร้อมทั้งดูหลักของกฎหมายพ.ร.บ.จัดสรรที่ดิน ปว.286 โดยยึดถือหลักที่ให้คุณประโยชน์ เช่น พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ร.บ.จัดสรรที่ดิน พ.ร.บ.อาคารชุด ซึ่งต้องนำมาศึกษาทั้งหมด" ผู้อำนวยการสคบ.กล่าว

พร้อมกันนี้หากผ่านในเรื่องของกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคฉบับใหม่ สคบ.ก็จะเปลี่ยนเป็นกรม สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี แทนสำนักงานที่สังกัดสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สคบ.จะมีศักยภาพในการทำงานมากขึ้น รวมทั้งอัตราคนที่จะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่มีเจ้าหน้าที่ประจำสคบ.อยู่ 43 อัตรา ลูกจ้างประจำ 18 อัตราเฉลี่ยพนักงาน 1 อัตรา ต้องรับผิดชอบถึง 3-4 หน้าที่ คือ

หนึ่ง รับเรื่องร้องทุกข์ สอง ตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจ สาม ทำหน้าที่ด้านเลขานุการของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง คณะอนุกรรมการต่างๆ หรือสี่ ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือห้า ทุกคนต้องมีหน้าที่เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

"เราไม่ยอมที่จะทำเท่าที่มี พยายามกระตุ้นให้ทำงาน ทุกวันนี้ ทุกคนจึงทำงานหนัก ในขณะที่กองอื่นๆ อาจจะทำงานด้านเดียว ที่กล้าพูดอย่างนี้ เพราะผมผ่านงานมาแล้ว 4-5 กอง ในทำเนียบรัฐบาล" ผู้อำนวยการสคบ.กล่าว

ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า สคบ.มีผลงานเป็นที่น่าพอใจพอสมควรจากการทำงานของเจ้าหน้าที่เหล่านี้ พร้อมทั้งผลงานที่ดำเนินการแล้วเสร็จก็มีการเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งบันทึกประวัติบัญชีดำของผู้ประกอบการไว้ โดยเฉพาะในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่มีสถิติร้องเรียนมาเป็นอันดับหนึ่ง

สำหรับปัญหาที่หากตั้งเป็นกรมแล้ว สคบ.จะหลุดพ้นจากการบีบจากการเมืองเมื่อเป็นกรมหรือไม่นั้น ผู้อำนวยการสคบ.กล่าวว่า

การเมืองจะมีอยู่ในทุกกระทรวง ทบวง กรม เพราะผู้ที่บริหารหรือรัฐมนตรีที่กำหนดนโยบายมาจากการเมือง แต่ว่าในแต่ละกรมจะมีการกำกับดูแลในรูปของคณะกรรมการ มีกฎหมายรองรับอยู่ จึงเชื่อว่าการปฏิบัติตามกฎหมาย ทำตามหน้าที่แล้ว การเมืองคงจะเข้ามาวุ่นวายไม่ได้

แล้วเมื่อกรมได้ตามเป้าหมายแล้วนั้น ในส่วนของผู้บริโภคก็จะได้รับความคุ้มครองมากขึ้น เพราะว่าการทำงานจะทำได้เร็วขึ้น ทั้งในเรื่องของหลักการคุ้มครองผู้บริโภค เรื่องการดำเนินคดีผลประโยชน์ก็จะคืนกลับมาที่ผู้บริโภคได้เร็ว เช่น สินค้าอสังหาริมทรัพย์ ฟ้องเสร็จเมื่อไรได้คืน ได้ก่อสร้างมากขึ้น เป็นต้น

การปฏิบัติในเชิงรุก อีกประการเพื่อที่จะไม่ให้เกิดปัญหามาแก้ทีหลัง เช่น ผู้ประกอบธุรกิจมีการส่งมาขอให้สคบ.ช่วยตรวจโฆษณาให้ จากอัตราที่มีค่าจ้างตรวจ 2,000 บาท สคบ.ก็ทำการตรวจให้ฟรี

"เรื่องนี้ถ้ามีมากก็ไม่ไหว ก็อยากให้ตรวจกันเองบ้าง เพราะเราเองก็ไม่อยากปรับโดยเฉพาะในเรื่องของการโฆษณา แต่กฎหมายก็กำหนดไว้ว่าครึ่งหนึ่งเป็นการรับผิดชอบร่วมกัน ก็เป็นวิธีการทำงานในส่วนของสคบ.ก็มีการปรับปรุงแบบฟอร์มไปมาก ให้ลดขั้นตอนในบางเรื่องที่ซ้ำกันออก ไม่ต้องกรอกเยิ่นเย้อเป็นคนละความ เอาเนื้อความอย่างเดียว แต่ยังก็ต้องมีเอกสารอยู่ก็ต้องทำกันให้ถูกต้อง

ก่อนที่สคบ.จะมีศักยภาพการทำงานภายใต้การเป็นกรมๆ หนึ่ง ทุกวันนี้สคบ.ยังอยู่สังกัดการเมืองคือ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ซึ่งคาดว่าจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นถ้าย้ายออกมาเป็นกรม

"ตอนนี้แม้เราจะมีนโยบายให้บริการประชาชนมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ แต่ก็ยังไม่ 100% อาจจะได้สัก 60% ในเรื่องความพอใจ แต่ถ้าเปอร์เซ็นต์ของปริมาณงานที่ทำได้ก็มีถึง 80% โดยสิ่งที่สคบ.เน้นคือการทำงานภายใต้ความซื่อสัตย์สุจริต แม้กฎหมายจะมีช่องให้พบเรื่องไม่ซื่อสัตย์ได้ แต่กล่าวได้ว่าสคบ.ก็ไม่เคยทำอย่างนั้นเลย" ซึ่งคงจะจริงเพราะสคบ.ไม่เคยมีข่าวในแง่นี้เหมือนหน่วยงานอื่น

อย่างไรก็ดี ประชาชนควรจะรับรู้ว่ากฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค เป็นกฎหมายที่ใช้กำกับดูแล ไม่ใช่กฎหมายควบคุม โดยงานคุ้มครองผู้บริโภคไม่มีเฉพาะสคบ.แห่งเดียว หากยังมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกมาก แต่อาจจะเป็นทางอ้อม เช่น สำนักงานอาหารและยาซึ่งดูเรื่องยา เครื่องสำอาง อาหาร กระทรวงเกษตรฯดูเรื่องมาตรฐานอาหารพืชและอาหารสัตว์ กระทรวงอุตสาหกรรมดูเรื่องมาตรฐานอุตสาหกรรม กรมที่ดินดูเรื่องการจัดสรร ทุกหน่วยงานทำงานประสานกันในส่วนที่เกี่ยวข้อง

แต่ในเรื่องการโฆษณาประชาสัมพันธ์ยังไม่มีใครดูแลโดยตรงก็เป็นหน้าที่ของสคบ.ตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งมาตรา 39 ที่อนุญาตให้สคบ.มีสิทธิฟ้องร้องแทนผู้บริโภคได้ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีศาลคุ้มครองผู้บริโภคโดยตรง แต่เนื่องจากเรื่องของปัญหาคุ้มครองผู้บริโภคมีตั้งแต่เรื่องเล็กไปเรื่องใหญ่ จึงมีการปรับปรุงวิ.แพ่ง คือ คดีมโนสาเร่ คือคดีที่มีการคุ้มครองทุนทรัพย์ไม่เกิน 40,000 บาท ที่ผู้บริโภคไม่ต้องใส่เสื้อครุยฟ้องร้อง เขียนบรรยายความตั้งทนาย แต่สามารถไปฟ้องร้องปากเปล่าได้เลย เช่น ไปทานอาหารแล้วอาหารเป็นพิษ แล้วแพทย์ตรวจพิสูจน์ได้ว่ามาจากอาหารเป็นพิษ ทำให้เราต้องเสียค่ารักษามีสิทธิ์ได้รับค่าเสียหาย ถ้าไม่ยอมชดใช้จากที่ไกล่เกลี่ยแล้ว ก็ฟ้องร้องดำเนินคดี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่าคดีระดับไหน หากตกลงกันได้สคบ.จะช่วยเหลือเป็นผู้ไกล่เกลี่ยให้ก่อนทุกเรื่อง

สำหรับงานไกล่เกลี่ยหรือดำเนินการฟ้องร้องผู้ประกอบการ จะดำเนินการได้เร็วหรือช้า ขึ้นกับผู้บริโภคว่ามีข้อมูลพร้อมแค่ไหน โดยเฉลี่ยเรื่องแต่ละเรื่องนับตั้งแต่ผู้มาร้องเรียนจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 1 เดือน ก็จะรับทราบว่าจะเชิญมาตกลงกันได้หรือไม่

"อย่างถ้าจะดำเนินการใดๆ บางครั้งต้องขอที่อยู่ผู้ประกอบธุรกิจ เช็กทะเบียน ใบบริคณห์สนธิ เพราะสคบ.ไม่ใช่รับเรื่องแล้วผ่านไปเท่านั้น ถ้าลูกค้ามีข้อมูลพร้อมก็เร็ว แต่สคบ.เองก็มีปัญหาอยู่บ้างเรื่องการจัดการส่วนนี้ เพราะเครื่องมือการสืบค้นการเก็บข้อมูลเราไม่ทันสมัย แม้แต่คอมพิวเตอร์ เราอยากได้ ของบไปก็ไม่มี เพราะทุกวันนี้รัฐมีงบให้กับสคบ.สำหรับงานประชาสัมพันธ์เผยแพร่เพียง 17 ล้านบาทในปีนี้ เพียงแค่จ่ายงบให้กับงานคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดละ 50,000 ก็มากแล้ว" ผู้อำนวยการสคบ. กล่าวถึงอุปสรรคในการดำเนินงานได้เร็ว

พร้อมทั้งกล่าวว่าหากเฉพาะเจ้าหน้าที่ของสคบ.แล้ว ถือว่ามีความพร้อมและประสิทธิภาพในการทำงานสูง แต่ถ้าขาดการสนับสนุนเป็นเวลานาน และขาดเครื่องไม้เครื่องมือที่เอื้ออำนวยในการทำงานเช่นนี้นานๆ เจ้าหน้าที่มีประสิทธิภาพก็คงตัดสินใจที่จะย้ายไปหางานที่ก้าวหน้ากว่าที่สคบ.เป็นแน่แท้

ทั้งนี้ทั้งนั้น หากสคบ.สามารถผ่านร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคฉบับใหม่ได้ตามเป้าหมาย งานคุ้มครองผู้บริโภคคงจะได้รับการแก้ไขตั้งแต่ต้นเหตุ และดำเนินการได้รวดเร็วขึ้นในกรณีที่มีปัญหาได้ดีขึ้นตามหวังหรือไม่ เพราะอย่างน้อยข้อจำกัดเรื่องอำนาจหน้าที่ก็คงมีมากขึ้น

อย่างไรก็ดี ที่สำคัญหากจะให้ได้ผลอย่างแท้จริง ก็คือ การที่ผู้บริโภคควรจะตระหนักถึงสิทธิของตัวเองอยู่เสมอนั่นเอง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us