Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2549
An Oak by the window เดิมพันครั้งใหญ่ของไมโครซอฟท์             
โดย ธวัชชัย อนุพงศ์อนันต์
 


   
www resources

โฮมเพจ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย
Microsoft Homepage

   
search resources

ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย), บจก.
Microsoft Corporation
Computer




อาจกล่าวได้ว่า ยุคทองของลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ใกล้จะจบลง เพราะโมเดลการสร้างรายได้กำลังจะเปลี่ยนไป ถ้าสรุปจากบันทึกภายในของบริษัทไมโครซอฟท์ที่เรย์ ออซซี่ ในฐานะซีทีโอ หรือ Chief Technical Officer ของไมโครซอฟท์ที่ส่งถึงบรรดาผู้บริหารภายในบริษัทเมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา และเป็นที่มาของการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์ในปี 2006 เป็นต้นไปด้วย

กล่าวถึงเรย์ ออซซี่ เขาเป็นผู้คิดค้นโลตัส โน้ตส์ และต่อสู้กับไมโครซอฟท์ในวงการซอฟต์แวร์มาอย่างยาวนาน ซึ่งเครดิตในส่วนนี้ส่งผลให้ไมโครซอฟท์ตัดสินใจดึงเขาเข้ามาร่วมงานเมื่อตอนต้นปี 2005 ที่ผ่านมา โดยเฉพาะเพื่อมาช่วยบิลล์ เกตต์ ในการปรับตำแหน่งและกำหนดยุทธศาสตร์ของซอฟต์แวร์ ของไมโครซอฟท์เสียใหม่

ไมโครซอฟท์มีการปรับตัวตามตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปรวมถึงการคาดการณ์อนาคตของวงการซอฟต์แวร์และระบบปฏิบัติการด้วย ทำให้ในปี 1990 ไมโครซอฟท์ตัดสินใจเปลี่ยนรูปร่างหน้าตาให้เป็นกราฟิกมากขึ้น ซึ่งขณะนั้นแอปเปิลเป็นเจ้าแรกๆ ที่นำเสนอหน้าตาแบบกราฟิกซึ่งดึงดูดใจคนใช้งานได้มาก

ในปี 1995 ไมโครซอฟท์มุ่งหน้าสู่โลกอินเทอร์เน็ต โดยการปรับซอฟต์แวร์ที่มีอยู่เกือบทั้งหมดให้สนับสนุนการทำงานของเว็บ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งผลิตผลจากยุคนั้น กลายมาเป็นบราวเซอร์ อย่างอินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์ หรือไออี, เซิร์ฟเวอร์ และตัวพัฒนาทางด้านเว็บ, บริการเอ็มเอสเอ็น หรือเอ็มที่วัยรุ่นรู้จักกันดี รวมถึงเทคโนโลยีบางอย่างที่ไมโครซอฟท์พัฒนาขึ้นมาในช่วงนั้น

ปี 2000 ดอทเน็ต (.NET) ก้าวเข้ามามี บทบาทและเป็นพื้นฐานของการเข้ามามีส่วนแบ่งในตลาดอินเทอร์เน็ตให้มากขึ้น และกลาย เป็นมาตรฐานในการพัฒนาทางด้านเว็บและโปรแกรมมิ่งในปัจจุบันมาตรฐานหนึ่ง

เช่นเดียวกับการพยายามเชื่อมต่ออุปกรณ์ทางด้านการสื่อสาร, คอมพิวเตอร์ และ ไอที เกือบทุกชนิด เข้ากับผลิตภัณฑ์ของไมโคร ซอฟท์ พร้อมๆ กับการเข้าถือหุ้นใหญ่หรือซื้อกิจการที่มองว่าสามารถสนับสนุนการดำเนิน งานของไมโครซอฟท์ได้ เช่น การซื้อฮอทเมล (HotMail) เป็นต้น ซึ่งกลายเป็นตัวสนับสนุน การมีส่วนแบ่งในตลาดอินเทอร์เน็ตที่สำคัญมาก และเป็นการก้าวกระโดดของไมโครซอฟท์ ในการมีส่วนแบ่งของตลาดอีเมล

ล่าสุดไมโครซอฟท์มองว่าโลกคอมพิวเตอร์กำลังก้าวไปสู่ยุคที่วางอยู่บนเรื่องของบริการ (Service-based)

มีเหตุผลหลายประการที่สนับสนุนแนวโน้มใหม่นี้ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตลอดเกือบสองทศวรรษที่ผ่านมา

ไม่ว่าจะเป็นราคาคอมพิวเตอร์ที่มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ แต่ประสิทธิภาพ สูงขึ้นเรื่อยๆ ตามกฎของมัวร์ ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการทำงาน และการเรียนอย่างสูง

เทคโนโลยีทางการติดต่อสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการเรื่องเครือข่าย, อุปกรณ์ สื่อสาร, สื่อกลางในการสื่อสาร ซึ่งทำให้ทุกวันนี้บรอดแบรนด์สามารถพบเห็นได้ตามบ้าน คนทั่วไป อุปกรณ์ไร้สายกลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์, แนวโน้มของการใช้โน้ตบุ๊กกับราคาที่ลดลงเกือบจะ เทียบเท่ากับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (นี่ยังไม่นับ รวมโน้ตบุ๊กราคาสี่พันกว่าบาทที่รัฐบาลมีโครงการจะแจกให้เด็กนักเรียนใช้เป็นอุปกรณ์การเรียนแทนตำรา, สมุดจด, ดินสอ, ยางลบ หรือไม้บรรทัด ที่เราๆ เคยใช้กันมาก่อน) นอกจากนี้อุปกรณ์ ไร้สายยังสามารถใช้ได้ในสถานที่ที่เกี่ยวพันกับการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ร้านกาแฟ ห้องสมุด เป็นต้น ราคาที่ลดลงและประสิทธิภาพ การส่งข้อมูลจำนวนมากในเวลาที่สั้นลง ทำให้เทคโน โลยีการติดต่อสื่อสารเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น

สองเหตุผลที่สำคัญข้างต้น ทำให้บทบาทของสถานที่และเวลาลดลง นั่นคือไม่จำเป็นต้องอยู่ที่ใดที่หนึ่งเฉพาะเพื่อทำงานหรือ ทำกิจกรรมใดๆ ที่ต้องการ แต่เราสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ และปัจจุบันแนวโน้มได้พัฒนาไปสู่การทำงานด้วยอุปกรณ์ของใครก็ได้ด้วย

นี่เป็นอนาคตที่เริ่มเห็นภาพขึ้นจากบริการต่างๆ ที่เห็นในอินเทอร์เน็ต และองค์กร ธุรกิจซึ่งมีเป้าหมายที่จะทำกำไรสูงสุด ภายใต้ต้นทุนที่ต่ำที่สุด ก็ไม่เคยมองข้ามสิ่งเหล่านี้ องค์กรธุรกิจเริ่มมองหาช่องทางลดต้นทุนผ่านบริการดังว่านี้ โดยมองว่า จะทำให้พวกเขาสามารถลดต้นทุนเรื่องปัจจัยพื้นฐานในการทำงานได้ แต่สามารถตอบสนองการทำงานที่ต้องการได้

ปัจจุบันการมีคอมพิวเตอร์สักเครื่องหนึ่งนั้น นอกจากตัวอุปกรณ์ที่เห็นกันอยู่ เช่น ซีพียู, จอ, เมาส์, คีย์บอร์ด หรือที่ซ่อนอยู่ข้าง ใน อย่างฮาร์ดดิสก์, หน่วยความจำ ฯลฯ ยัง ต้องมีส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ซอฟต์แวร์ ซึ่งประกอบด้วยระบบปฏิบัติการ (หรือโอเอส) และซอฟต์แวร์เพื่อการทำงานเฉพาะ (เช่น สำหรับทำเอกสาร, ทำบัญชี, ฐานข้อมูล ฯลฯ) และทุกวันนี้ราคาอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ แต่ราคาซอฟต์แวร์กลับเพิ่มขึ้น และในการทำงานก็จำเป็นต้องอาศัยซอฟต์ แวร์มากกว่าหนึ่งตัวเสมอ ประกอบกับกฎหมาย ลิขสิทธิ์ที่ประกาศใช้เมื่อประมาณสิบปีที่แล้วก็ส่งผลกดดันให้ผู้ใช้ต้องหาสินค้าที่ถูกกฎหมาย มาใช้ด้วย

นั่นคือภาระที่ผู้ใช้ต้องแบกนับวันมีแต่จะสูงขึ้นๆ

แต่มีเหตุการณ์หลายเหตุการณ์ในช่วงที่ผ่านมาเกือบสิบปีนี้ ได้แก่

การบูมของอินเทอร์เน็ตที่เข้ามาเปลี่ยน แปลงโครงสร้างการดำเนินธุรกิจและการทำงานอย่างถอนรากถอนโคน ทุกวันนี้อินเทอร์เน็ตเป็นส่วนประกอบในการทำงาน, การ เรียน และการใช้ชีวิตประจำวันอย่างแท้จริง

การถือกำเนิดของกลุ่มโอเพ่นซอร์ส ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่สามารถมาแข่งขันกับซอฟต์แวร์ที่ครองตลาด อยู่ โดยเฉพาะบทบาทของลีนุกซ์ที่เข้ามาตีตลาดไมโครซอฟท์

รูปแบบการโฆษณา เป็นผลมาจากการ บูมของอินเทอร์เน็ตอย่างแท้จริง ที่ทำให้มีช่องทางการโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้า, บริษัทหรือแบรนด์เพิ่มขึ้นอีกหลายช่องทาง

อี-คอมเมิร์ซ ซึ่งเป็นการลดระยะห่างระหว่างผู้ประกอบการกับลูกค้า หรือผู้ขายกับ ผู้ซื้อ ให้เข้ามาติดต่อกันโดยตรงมากขึ้น คนกลางก็เริ่มลดบทบาทลง หรือหายไปเลย

อุปกรณ์พีซีที่มีบทบาทในหลากหลายรูปแบบและอยู่ในหลายสถานที่ เช่น ในบ้าน, ที่ทำงาน, ในห้องนั่งเล่น, ติดตัวไปมา และโทรศัพท์มือถือที่เป็นปัจจัยที่ห้าในชีวิตประจำวัน

เหตุการณ์ข้างต้นได้ก่อกำเนิดธุรกิจใหม่ๆ และส่งผลต่อการทำธุรกิจในปัจจุบันที่เปลี่ยนไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นกูเกิล, อี-เบย์, อะเมซอน ฯลฯ แต่ในที่นี้จะลงลึกเฉพาะธุรกิจ ซอฟต์แวร์ นั่นคือ ไมโครซอฟท์มองว่า โครง สร้างการสร้างรายได้ของบริษัทซอฟต์แวร์ที่แต่เดิมอาศัยการขายซอฟต์แวร์และลิขสิทธิ์ใน การใช้นั้นจะต้องเปลี่ยนเป็นการอาศัยโฆษณา และการเก็บค่าสมาชิกในการเข้าใช้บริการแทน

นั่นคือไมโครซอฟท์จะยกซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานไปไว้ในอินเทอร์เน็ต จากนั้นอาศัยเทคโนโลยีทางการสื่อสารที่ดีขึ้นทำให้ผู้ใช้สามารถเข้ามาใช้ซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์ ไม่ว่าจะเป็นซอฟต์แวร์สำหรับทำเอกสาร, ทำบัญชี ฯลฯ ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ โดยอาจจะสมัครสมาชิกหรือให้ใช้ฟรี แต่ไมโครซอฟท์มีรายได้จากการโฆษณาบนหน้าเว็บที่ให้บริการซอฟต์แวร์เหล่านี้แทน ซึ่งทุกวันนี้เราก็อาจจะเห็นบ้าง เวลาเราใช้เอ็มเอสเอ็นคุยกับเพื่อน ก็จะมีโฆษณาแทรกอยู่แล้ว

ไมโครซอฟท์เริ่มต้นแล้วกับ Web 2.0 ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่มีพื้นฐานของเว็บ (Web-based Software) ซึ่งพัฒนาไปสู่ Windows Live และ Office Live ซึ่งเปิดให้ทดลองใช้กัน แล้ว โดยมีเป้าหมายในการสร้างบริการบนอินเทอร์เน็ตที่ไม่เสียค่าใช้บริการใดๆ หรืออย่างมากก็ค่าสมัครสมาชิก (ในอนาคต)

Windows Live เป็นการรวมเอาช่องทางในการสื่อสารกับเพื่อนๆ, การรับข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัย, อีเมล, เสิร์ชเอ็นจิ้น หรือกล่าวได้ว่าเกี่ยวกับชีวิตประจำวันมากกว่า

Office Live จะเน้นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรื่องเวลา, งาน, โครงการ หรือ ข้อมูลของบริษัท

อย่างไรก็ตาม Windows Live และ Office Live ก็ยังเป็นเพียงการนำเอาสิ่งที่ไมโครซอฟท์มีอยู่มาจัดกลุ่มใหม่และตั้งชื่อใหม่ เท่านั้น ซึ่งแต่ละอย่างก็มีข้อด้อยเมื่อเทียบกับ คู่แข่งรายอื่นในท้องตลาด เรียกได้ว่ายังไม่มี อะไรใหม่นัก แต่เป็นสิ่งที่จะต้องติดตามกันต่อไป เพราะ Web 2.0 นี้เปรียบเสมือนธงนำ ในการทำงานของไมโครซอฟท์ในอนาคตไปแล้ว

หลายคนอาจจะวิจารณ์ไมโครซอฟท์ว่า มักจะเชื่องช้าเสมอในเรื่องเทคโนโลยี แม้จะมองภายนอกว่า ไมโครซอฟท์น่าจะเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีก็ตาม ไม่ว่าการวิ่งตามเนตสเคปในเรื่องบราวเซอร์, การเข้าสู่ตลาดอินเทอร์เน็ตที่ล่าช้าไป, การตามกูเกิลในเรื่องเสิร์ชเอ็นจิ้น และล่าสุด Web 2.0 ที่เจ้าเล็กๆ หลายเจ้าในตลาดวิ่งนำไปหลายช่วงตัวแล้ว

ซึ่งสอดคล้องกับที่มีคนบอกว่า "เขียนบันทึกภายในน่ะง่าย แต่เขียนซอฟต์แวร์ มันยากนะโว้ย"

แต่ในฐานะคนใช้งานอย่างเรา คงจะไม่สามารถกะพริบตาได้ เพราะเดิมพันครั้งนี้ ของไมโครซอฟท์สูงยิ่งกว่าครั้งใดๆ ครับ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us