|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มกราคม 2549
|
|
ท่ามกลางผลประกอบการที่เติบโตอย่างน่าตื่นเต้นของธุรกิจ non-bank บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างฟิตช์ เรตติ้ง กำลังเฝ้ามองด้วยความเป็นห่วง
หลายปีมาแล้ว ธุรกิจต่างๆ ไม่เว้นกระทั่งธุรกิจที่เกิดใหม่ในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำสุดขีดอย่าง non-bank ที่เพลิดเพลินกับการแข่งขันกันขยายพื้นที่ในการทำธุรกิจ จากการหยิบยื่นสินเชื่ออย่างง่ายๆ ให้แก่ ผู้บริโภคระดับล่าง ควบคู่กับการกู้เงินในตลาดเงินและ ระดมทุนดอกเบี้ยราคาถูกผ่านตลาดตราสารหนี้ เพื่อเป็นทุนรอนในการพัฒนาระบบเทคโนโลยี ขยายสาขา และพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อไล่ให้ทันกับคู่แข่ง จนส่งผลให้ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมานี้ ผลประกอบการของกลุ่ม non-bank สามารถเติบโตได้ร่วม 20-30% ต่อปี
แต่แนวโน้มเศรษฐกิจในประเทศที่เริ่มชะลอตัวลงตั้งแต่แต่ปลายปี 2547 ทำให้วินเซนต์ มิลตัน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟิทช์ เรตติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ชักจะเริ่มเป็นกังวลขึ้นมาแล้วว่า แนวโน้มเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงนี้ และอัตราดอกเบี้ยในประเทศเริ่มปรับตัวขึ้นสูงอย่างต่อเนื่องนับแต่ต้นปีก่อนนั้น อาจจะส่งผลกระทบกับความสามารถในการจ่ายหนี้ของลูกหนี้ระดับล่าง อันเป็นฐานลูกค้าขนาดใหญ่ในกิจการกลุ่มจนอาจจะไปฉุดรั้งความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ
"เราเข้าไปดูจึงพบว่า การให้สินเชื่อในหลายๆ ราย ยังไม่มีความชัดเจน เราจึงเป็นห่วงว่าพวกเขาจะทำธุรกิจที่ได้กำไรมากเท่ากับช่วง 4 ปีที่ผ่านมาหรือเปล่า ในปีหน้าเราเชื่อว่าลูกหนี้กลุ่มนี้จะมีโอกาสการผิดนัดชำระหนี้มากขึ้น" วินเซนต์ให้ความเห็น
รายงานข้อมูลการให้บริการบัตรเครดิตเมื่อสิ้น เดือนตุลาคมที่ผ่านมาของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชี้ว่า ปริมาณบัตรเครดิตที่ออกโดยกลุ่ม non-bank มีทั้งสิ้น 4,867,897 บัตร หรือคิดเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบจากเดือนกันยายนประมาณ 1.04% ขณะที่สินเชื่อบัตรเครดิตคงค้างของกลุ่มนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 62,633.01 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนที่เพิ่ม ขึ้นประมาณ 2.41% เมื่อเทียบกับเดือนกันยายนที่ผ่าน มา ด้านปริมาณการใช้จ่ายเงินรวมที่ออกโดย non-bank มีทั้งสิ้นราว 18,617.94 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยคือ 213 ล้านบาท หรือเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 1.16%
อย่างไรก็ตาม ความกังวลของวินเซนต์ยังขยายวงออกไปยังกลุ่ม non-bank ที่ให้บริการด้านสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ อย่างไทยพาณิชย์ลิสซิ่ง และไม่เว้นแม้กระทั่งกลุ่มธนาคารพาณิชย์เกิดใหม่เช่นธนาคารทิสโก้ หรือธนาคาร เกียรตินาคิน ที่แม้ว่าจะอาศัยกลยุทธ์ในการจับลูกค้าเฉพาะกลุ่มตามความถนัดของตัวก็ตาม แต่การให้สินเชื่อยังคงกระจุกตัวอยู่ในประเภทใดประเภท หนึ่งมากจนเกินควร
ตลอดปีที่ผ่านมา คนในตลาดได้คาดกันไว้แล้วว่า การกู้ยืมของธุรกิจ ผ่านตลาดตราสารหนี้น่าจะมีต้นทุนเพิ่มจากปีก่อน ขณะที่ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา กลุ่ม non-bank ได้เข้ากู้ยืมเงินในตลาดแห่งนี้รวมกันเป็นมูลค่านับหมื่นล้าน บาท โดยมีอัตราดอกเบี้ยราวๆ 5% แต่อย่างไรก็ตาม มีการคาดหมายกันจากคนในวงการ non-bank การกู้ยืมในปีนี้ต้นทุนกู้ยืมในตลาดตราสารหนี้ของพวกตนนั้น น่าจะดีดขึ้นไปอยู่ที่แถวๆ 6% เมื่อเทียบจากอัตราดอกเบี้ยที่กองทุนน้ำมันได้ประกาศจ่ายให้แก่ผู้ซื้อพันธบัตรในช่วงที่ผ่านมา
|
|
|
|
|