|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มกราคม 2549
|
 |

สหไทยสตีลไพพ์ ผู้ผลิตท่อเหล็กรายใหญ่ของไทยรอจังหวะเข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อระดมทุนบุกตลาดต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ
จากจุดเริ่มต้นในปี 2511 ที่มีการรวมตัวกันของกลุ่มผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์กว่า 30 ราย เพื่อผลิตท่อเหล็กที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตเฟอร์นิเจอร์ ในวันนี้บริษัท สหไทยสตีล ไพพ์ จำกัด (มหาชน) พัฒนามาเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายท่อเหล็กรายใหญ่ที่สุดในประเทศ มีกำลังการผลิตติดตั้งประมาณปีละ 3 แสนตัน และอยู่ในระหว่างเตรียมการเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ถึงแม้จะเริ่มต้นจากการผลิตท่อเหล็กสำหรับผลิตเฟอร์นิเจอร์ ปัจจุบันสหไทยสตีล ไพพ์ผลิตและจำหน่ายท่อเหล็กที่นำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ และอุตสาหกรรมรถยนต์ โดยสินค้ามี 3 ประเภทหลักได้แก่ ท่อเหล็กดำ ท่อเหล็กชุบสังกะสีและท่อเหล็กเฟอร์นิเจอร์ ตัวอย่างโครงการก่อสร้างที่ใช้ท่อเหล็กดำและท่อเหล็ก สังกะสีของบริษัท ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน โครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส สนามบินสุวรรณภูมิและ ศูนย์การค้าสยามพารากอน
ปัจจุบันสหไทยสตีลไพพ์มุ่งเน้นตลาดส่งออกเป็นหลัก มีรายได้จากการส่งออกในสัดส่วน 68% และจากการ ขายในประเทศ 32% โดยสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดใหญ่ที่สุด ในสัดส่วน 45% ของยอดขายทั้งหมด
"เราเริ่มได้รับคำสั่งซื้อจากสหรัฐอเมริกาในปี 2521 หลังจากนั้นเราก็มุ่งตลาดส่งออกมาตลอด" ทวีศักดิ์ ครุจิตร กรรมการ สหไทยสตีลไพพ์กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของการส่งออกของบริษัท
การมุ่งเน้นตลาดส่งออกเช่นนี้ทำให้สหสตีลไพพ์ต้องแข่งขันกับผู้ผลิตจากประเทศต่างๆ อาทิ จีน เกาหลี อย่างไรก็ตาม สินค้าของบริษัทถูกเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดของสหรัฐอเมริกาในอัตราเพียง 0.17% ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดของผู้ส่งออกท่อเหล็กจากไทย ทำให้มี ข้อได้เปรียบในการแข่งขันกับคู่แข่งจากประเทศดังกล่าวได้
ปัจจุบันตลาดส่งออกของสหไทยสตีลไพพ์ยังได้ขยายไปสู่ยุโรป ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฮ่องกง และบรูไน
ในปี 2547 สหไทยสตีลไพพ์ได้มีการปรับเปลี่ยนโครง สร้างผู้ถือหุ้น โดยกลุ่มผู้ก่อตั้งได้ขายหุ้นให้กับกองทุนบำเหน็จ บำนาญข้าราชการ (กบข.) ในสัดส่วน 10% และกองทุนเปิดไทยทวีทุน ซึ่งเป็นกองทุนที่ กบข.ร่วมกับรัฐบาลบรูไนอีก 20.1%
"2 กองทุนนี้มีนโยบายที่จะลงทุนในบริษัทที่ยังไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่มีความพร้อมที่จะเข้าก็ติดต่อมา เราก็เห็นว่าน่าจะเป็นผลดีกับบริษัท"
ข้อดีที่ว่าก็คือ การมีนักลงทุนสถาบันและกองทุน กบข. เข้าถือหุ้นเป็นการช่วยสร้างความมั่นใจในเรื่องการดำเนินงาน ที่โปร่งใสของบริษัท ขณะเดียวกันยังได้อาศัยสายสัมพันธ์ของ กองทุนดังกล่าวในการหาแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำได้ง่ายขึ้น
ถึงแม้จะได้แหล่งเงินทุนใหม่แล้วก็ตาม แต่การที่ราคา เหล็กแผ่นที่เป็นวัตถุดิบสำคัญของสหไทยสตีลไพพ์มีการปรับตัวสูงขึ้น จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของประเทศจีน ทำให้มีความต้องการเหล็กเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาเหล็กแผ่นในตลาดโลกจากเดิมในเดือนมิถุนายน 2546 ราคาตันละ 230 เหรียญสหรัฐ ปรับขึ้นมาเป็น 405 เหรียญสหรัฐในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ทำให้บริษัทต้องเตรียมเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน มากขึ้น จึงเป็นที่มาของการเข้าระดมทุนในตลาด หลักทรัพย์ฯ
โดยสหไทยสตีลไพพ์จะจัดสรรหุ้น 150 ล้าน หุ้น แบ่งเป็นหุ้นเพิ่มทุน 105 ล้านหุ้น และหุ้นของผู้ถือหุ้นเดิมอีก 45 ล้านหุ้นออกขายในครั้งนี้ เงินที่ได้รับจากการระดมทุนในครั้งนี้จะนำไปใช้ปรับปรุงเครื่องจักรเพื่อเพิ่มรูปแบบของสินค้าราว 50 ล้าน บาท เป็นการสร้างความหลากหลายให้สินค้าโดยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าท่อเหล็กในปัจจุบัน เช่น การทำท่อเหล็กพ่นสีสำเร็จรูป ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสะดวกในการนำไปใช้งานและยังป้องกันสนิมได้ขึ้น
นอกจากนี้ยังนำไปใช้เพื่อปรับปรุงระบบการจัดจำหน่ายและแผนการตลาด เพื่อรองรับนโยบายการขยายตลาด ทั้งในและต่างประเทศอีก 50 ล้านบาท โดยจะมีการขยายช่องทางการตลาดให้เข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น มีการขยายพื้นที่เก็บสินค้าเพื่อผลิตสินค้าสำเร็จรูปเก็บเป็นสต็อกมากขึ้นเพื่อลดการเสียโอกาสในการขายสินค้าสำหรับตลาดในประเทศ ซึ่งที่ผ่านมามักจะเกิดขึ้นในช่วงที่บริษัทได้รับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศจำนวนมาก ทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าให้กับตลาดในประเทศได้ ส่วนที่เหลือจะใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและชำระคืนเงินกู้บางส่วน
"ที่ผ่านมาเราไม่ได้เน้นตลาดในประเทศมากนัก แต่หลังจากนี้เราอยากจะเพิ่มส่วนแบ่งในประเทศให้มากขึ้น เพราะนอกจากจะช่วยเพิ่มรายได้แล้วยังเป็นการกระจายฐานลูกค้าให้กว้างขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงจากการพึ่งตลาดสหรัฐอเมริกาด้วย" ทวีศักดิ์กล่าว
|
|
 |
|
|