|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มกราคม 2549
|
|
ทางเลือกในการออมเงินระยะยาวของผู้ออมผ่านการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนต่างๆ แม้จะมีข้อดีในแง่ที่ว่า ผู้ออมสามารถสรรหาหน่วยลงทุนเข้าพอร์ตได้มากขึ้นก็ตาม แต่ด้วยภาพภายนอกของตัวกองทุนที่ดูไม่แตกต่างกัน บ่อยครั้งอาจทำให้นักลงทุนมือใหม่เกิดความลังเลใจว่าควรจะเลือกใส่เงินในกองทุนใดดี
หลัง บลจ.ฟินันซ่ากำหนดกลยุทธ์การทำธุรกิจบนแนวคิดให้บริการด้านบริหารความมั่งคั่งในแต่ละช่วงชีวิตให้แก่นักลงทุนที่เป็นลูกค้าของบริษัท 3 ประการ อันประกอบด้วย 1. การสร้างความมั่งคั่งให้แก่ผู้ลงทุนในทุกสาขาอาชีพ 2. การสะสมความมั่งคั่งของผู้ลงทุนในระยะยาว และ 3. การ ส่งมอบความมั่งคั่งให้แก่ทายาทของผู้ลงทุน บลจ.ฟินันซ่าก็ได้ ใช้เวลาอยู่หลายเดือนกับการประเมินและคัดเลือกตัวกองทุนหุ้นใน บลจ.ต่างๆ (ดูจากตาราง) เพื่อนำมาเสริมสร้าง เป็นพอร์ตตัวเลือกในการกระจายการลงทุนให้แก่นักลงทุน ซึ่งเป็นฐานลูกค้าเดิม และฐานลูกค้าใหม่ของตัว บลจ.ฟินันซ่า ในฐานะที่เป็นตัวแทนจัดจำหน่ายหน่วยลงทุนอีกรายให้แก่ บลจ. ผู้ออกกองทุนเหล่านี้
ที่มาในการคัดเลือกตัวกองทุนฯ เกิดจากปัญหาที่ว่า ปัจจุบันสินค้าในตลาดมักจะมีความคล้ายคลึงกันในเชิงกายภาพ แต่อาจมีรายละเอียดที่แตกต่างกันเมื่อพิจารณาถึงองค์ประกอบในเชิงคุณภาพอันเป็นไส้ในของตัวกองทุนแต่ละกอง ขณะที่การเลือกพิจารณาการลงทุนของนักลงทุน ก็มักมุ่งเน้นที่จะมองแต่เฉพาะตัวกองทุนที่ให้อัตราผลตอบแทนในการดำเนินงานที่สูงสุดเป็นอันดับแรก แต่กลับละเลยต่อการพิจารณาถึงความสม่ำเสมอในการให้ผลตอบแทนระยะยาวจากการบริหารจัดการกองทุนใน บลจ.ต่างๆ อันเป็นหัวใจหลัก ที่สำคัญอันดับแรกที่ผู้ลงทุนควรต้องพิจารณา
ขณะที่อัตราผลตอบแทนการลงทุนจากการถือหน่วยลงทุนในกองทุนหุ้นแต่ละกองของประเทศไทย มักจะมีความแตกต่างกันอย่างมาก โดยผลตอบแทนลักษณะดังกล่าวจะตรงข้ามกับกองทุนของ ต่างประเทศ ซึ่งมักจะสร้างผลตอบแทนได้ในระดับที่ไล่เลี่ยกัน ด้วยเหตุที่ว่า ตลาดหุ้นไทยยังหลุดไม่พ้นจากข้อจำกัดทั้งในเรื่องขนาดของตลาด สภาพคล่อง และความหลากหลายของเครื่องมือทางการเงินชนิดใหม่ๆ ที่ บลจ.แต่ละแห่งจะสามารถเลือกใช้บริหารความเสี่ยงของตลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ในบางช่วงบางเวลา
"ที่เราเลือกมานั้น เรากำลังจะแนะนำว่า core holding ของนักลงทุนนั้น ควรจะมีกองทุนจำพวก index ไว้สักกอง ที่เหลือก็อาจจะเป็นกองทุนที่ค่อนข้างจะ active หน่อย แต่ที่เราอยากให้เกาะ index ไว้สักนิดก็เพื่อว่าผู้ลงทุนจะไม่แพ้ตลาด เพราะมีบางกองทุนที่ผู้จัดการกองทุนฯ ค่อนข้างจะ out perform ได้ในระยะยาว" ธีระ ภู่ตระกูล ประธาน กรรมการบริหาร บลจ.ฟินันซ่า บอกกับ "ผู้จัดการ"
การคัดเลือกตัวกองทุนนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งในการให้บริการในรูปแบบ one stop boutique ที่ บลจ.ฟินันซ่าได้พยายามพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้เป็นแหล่งอำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนที่สามารถจะแวะเวียนเข้ามาใช้ บริการด้านข้อมูลผลประกอบการของกองทุน (NAV) ตลอดจนการให้อันดับความสม่ำเสมอในการให้ผลตอบแทนการลงทุนในตัวกองทุนแต่ละแห่ง ซึ่งจัดโดยบริษัท Lipper
"มีหลายกองทุนที่มีผลตอบแทนที่สูงเป็นอันดับ 1 ก็จริง แต่เมื่อเข้าไปดูองค์ประกอบข้างใน เราพบว่าพอร์ตการลงทุนค่อนข้างจะกระจุกตัวอยู่ในหุ้นบริษัทใดบริษัทหนึ่งในระดับที่ค่อนข้างสูง ผลตอบแทนไม่ค่อย สม่ำเสมอจากที่ต้องอิงกับราคาของหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง และเมื่อดูที่ผลตอบแทน กองทุนเมื่อเทียบกับผลตอบแทนตลาดหุ้นที่ 5% นั้น เราเห็นว่ามันค่อนข้างจะสูงไปมากแล้ว จนเราเองก็ไม่แน่ใจว่ามันจะวิ่งไปได้ด้วยอัตราความ เร็วแบบนี้อีกนานแค่ไหน"
เมื่อราวเดือนสิงหาคมปีก่อน ระหว่างการแถลงเปิดตัวกองทุนเปิด Finansa Global Allocation Fund เพื่อลงทุนในตลาดทั่วโลก บลจ.ฟินันซ่า แสดงทีท่าว่าจะยุติการออกกองทุนในประเทศเพื่อขายให้แก่นักลงทุน แต่จะมุ่งเน้นการออกกองทุน FIF และหันมาเล่นบทบาทการเป็นที่ปรึกษาด้านการสะสมความมั่งคั่งให้แก่นักลงทุนในประเทศ โดยไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะนักลงทุนรายใหญ่แต่เพียงกลุ่มเดียว
และเพื่อให้สอดคล้องกันทีท่าที่ได้ประกาศเอาไว้แล้ว ในปีหน้า บลจ. ฟินันซ่ายังเตรียมออกกองทุน country fund อีก 5-8 กองทุน เพื่อเน้นการลงทุนที่เจาะเข้าไปในตลาดแบบรายประเทศ นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะ จัดตั้งกองทุนที่ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ขั้นพื้นฐานในต่างประเทศเพิ่มเติมอีก 1 กอง โดยกองทุนนี้จะมุ่งเน้นการจัดตัวสินค้าที่หลากหลายไม่ว่า จะเป็นกลุ่มน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ กลุ่มโลหะที่ไม่มีค่าอย่างทองแดง อะลูมิเนียม หรือเงิน ซึ่งราคาเริ่มปรับตัวดีขึ้นจากความต้องการใช้ในภาค อุตสาหกรรมการผลิตที่มีพื้นที่ใหญ่กว่าความต้องการในการบริโภคทองคำ รวมถึงกลุ่มสินค้าเกษตรประเภทข้าว ยางพารา ให้เข้ามารวมอยู่ในกองทุน เดียวกัน เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการปรับพอร์ตการลงทุน
|
|
|
|
|