|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มกราคม 2549
|
 |

ค่ำคืนวันที่ 19 ธันวาคมที่ผ่านมา ห้องเพลนารี 1-3 ของศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้ถูกแปลงโฉมให้เป็นสถานที่จัดงาน ฉลอง 50 ปีเครือสหวิริยา หนึ่งในผู้นำอุตสาหกรรมเหล็กของไทย โดยมี ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นประธานในงาน
การครบรอบ 50 ปีของเครือสหวิริยาเกิดขึ้นในจังหวะสำคัญ พอดี เนื่องจากในปีที่ผ่านมาเครือสหวิริยาได้ตัดสินใจเดินหน้าโครงการ ลงทุนครั้งใหญ่ที่สุดขององค์กร ด้วยโครงการโรงถลุงเหล็กและผลิตเหล็กกล้าครบวงจร ซึ่งจะเป็นโครงการอุตสาหกรรมเหล็กขั้นต้นแห่ง แรกของไทย นอกเหนือจากอุตสาหกรรมเหล็กขั้นกลางและขั้นปลาย ที่มีผู้ผลิตอยู่หลายราย
โดยสหวิริยาได้ตั้งบริษัท โรงถลุงเหล็กสหวิริยาขึ้นเพื่อดำเนิน โครงการดังกล่าว ซึ่งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้อนุมัติส่งเสริมการลงทุนให้กับโครงการดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 3 มิถุนายนที่ผ่านมา หลังจากที่มีการถกเถียงถึงความเหมาะสมของโครงการดังกล่าวอยู่ระยะเวลาหนึ่ง รวมทั้งยังได้อนุมัติโครงการท่าเรือน้ำลึก ซึ่งเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับโครงการนี้เมื่อวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมา
โครงการถลุงเหล็กและผลิตเหล็กกล้าครบวงจรของสหวิริยามีเป้าหมายในการผลิตรวม 30 ล้านตันต่อปี แบ่งการลงทุนออกเป็น 5 ระยะ รวมเวลา 15 ปี โดยในระยะแรกจะมีกำลังการผลิตเริ่มต้น 5 ล้านตัน ก่อสร้างโรงงานที่ที่อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบ คีรีขันธ์ ซึ่งเป็นจุดที่ผู้บริหารสหวิริยายืนยันผลการศึกษาว่าเหมาะสม ที่สุดสำหรับการตั้งโรงงานเหล็ก เนื่องจากมีข้อได้เปรียบในสภาพภูมิประเทศที่เป็นท่าเรือน้ำลึกโดยธรรมชาติ ส่งผลให้ต้นทุนดำเนินงาน อยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตจากต่างประเทศได้
สหวิริยาระบุว่าการเกิดขึ้นของโรงถลุงเหล็กในประเทศเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ เพราะจะช่วยยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กของไทย สามารถตอบสนองต่อความต้องการของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ช่วยลดต้นทุนให้กับผู้ผลิตสินค้าต่อเนื่องและยังช่วยป้องกันการไหลออกของเงินได้ปีละนับแสนล้านบาท ซึ่งอุตสาหกรรมเหล็กถือเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาประเทศ ดังเช่นกรณีของญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ซึ่งผู้ผลิตเหล็กใน 2 ประเทศนี้ล้วนมีความแข็งแกร่งและสามารถแข่งขันได้ในระดับโลกและเป็นรากฐานสำคัญให้กับอุตสาหกรรมต่อเนื่องอีกมาก ทั้งการต่อเรือและ อุตสาหกรรมรถยนต์
เครือสหวิริยาเริ่มต้นธุรกิจค้าเหล็กและนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศ ในปี 2498 เริ่มสร้างโรงงานแห่งแรกที่จังหวัดสมุทรปราการ ในปี 2506 ต่อมาได้ขยายฐานการผลิตไปที่อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา และในปี 2534 มีการลงทุนครั้งใหญ่เพื่อสร้างฐานการผลิตเพื่อแข่งขันในระดับโลกที่อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบ คีรีขันธ์ ปัจจุบันมีกำลังการผลิตรวม 9.5 ล้านตัน มียอดขายรวมปีละกว่า 100,000 ล้านบาท
|
|
 |
|
|