|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มกราคม 2549
|
|
ธนาคารกรุงเทพได้จัดงานปาฐกถาพิเศษ ชิน โสภณพนิช อนุสรณ์ เป็นกิจกรรมส่งท้ายของปี 2548 ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นรำลึกถึงชิน โสภณพนิช ผู้ก่อตั้งธนาคาร แต่อีกส่วนหนึ่งเพื่อแสดงทัศนะต่อสภาวการณ์ที่มีนัยสำคัญต่อโลกธุรกิจในปัจจุบัน
การจัดงานล่าสุดเมื่อวันที่ 19 ธันวาคมที่ผ่านมา หลิว หมิงคัง ประธานคณะกรรมการกำกับและควบคุมกิจการธนาคารจีน และอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศจีน เป็นบุคคลที่ได้รับเชิญให้เป็นองค์ปาฐกประจำปีนี้ ในหัวข้อ "มิติใหม่ระบบการเงินการธนาคารจีน"
ภายในงานยังมีแขกวีไอพีจากไทยหลายท่านเข้าร่วม อาทิ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.), จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์, อำนวย วีรวรรณ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง, สิงห์ ตังทัตสวัสดิ์ อดีตผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสถาพร กวิตานนท์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุน
สำหรับไฮไลต์นั้นน่าจะอยู่ที่การให้ข้อคิดในตอนท้ายของหลิว ต่อประเด็นคำถามถึงการแข่งขันของธนาคารในจีน และผลที่จะเกิดต่อท้องถิ่นจากการเปิดเสรี ซึ่งตัวหลิวเองเห็นว่าจีนต้องคิดว่าจะดึงคนดีๆ ที่มีความสามารถในระดับผู้บริหาร หรือ CEO ให้อยู่กับธนาคารนานๆ ได้อย่างไร เพราะพวกเขาเข้าใจดีถึงกฎเกณฑ์การต่อสู้ระหว่างธนาคารในและนอกประเทศ ขณะที่ปีนี้จีนจะลงนามข้อตกลงเปิดเสรีการเงินร่วมกับ WTO เพื่อให้ต่างชาติถือหุ้นธนาคาร ท้องถิ่นในระยะเริ่มต้นที่ 25% บนหลักเกณฑ์การแข่งขันที่เท่าเทียม
ที่ผ่านมามีธนาคารจากไทย 3 แห่งคือ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ ได้เข้าไปตั้งสาขาที่จีนแล้ว แต่จีนยังจะเปิดให้นักลงทุนไทยถือหุ้นในธนาคารจีนได้มากขึ้นด้วย และเขาเชื่อว่าในอนาคตธนาคารแห่งประเทศจีนน่าจะต้องมีข้อตกลงความร่วมมือกับ ธปท. นอกเหนือจากที่เคยมีอยู่กับหลายๆ ประเทศ เช่น เยอรมนี อิตาลี โปแลนด์ ออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์ เป็นต้น
แต่จีนรู้ตัวดีว่ายังมีอีกหลายอย่างที่ต้องปรับปรุง เช่น การจัดระบบประเมินความเสี่ยงภายในสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์แห่ง Basel 2 ที่จะเสร็จสิ้นภายในปี 2012 แต่จากที่เป็นประเทศใหญ่ จีนย่อมมีเรื่องยุ่งยากและท้าทายมากมายในการเข้าสู่การปฏิรูปทั้งในเชิงอุตสาหกรรม สังคม ขณะที่คนต่างปรับตัวกันราวกับหนูถีบจักรที่ไม่อาจจะอยู่นิ่งได้ แต่กระนั้นจีนก็ต้องมี Road Map เป็นของตัวเอง และไม่ทำสิ่งที่ล้ำหน้าจนเกินไป
"จีนไม่ได้รับผิดชอบแต่ตัวเอง แต่ยังต้องรับผิดชอบต่อเพื่อน บ้านในเอเชียด้วย เราคงต้องมาเริ่มคิดถึงข้อได้เปรียบระหว่างกัน เราควรต้องฉลาด เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ในกรณีที่เราไม่สามารถสนับสนุนเอกชนได้อีก เพราะจากที่เราเคยรับจ้างผลิตให้ต่างชาติ เช่น วอลล์มาร์ท หรือโมโตโรล่า ซึ่งเขาเป็นคนกำหนดราคา สิ่งนี้เป็นเรื่องที่แต่ละคนต้องไปคิดกัน เพราะเราต้องไม่เสียเปรียบ" อดีตผู้ว่าการธนาคารจีนกล่าวตอนท้าย
|
|
|
|
|