Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2549
ATM Banking in JAPAN             
โดย ภก.ดร. ชุมพล ธีรลดานนท์
 

   
related stories

สถาบันการเงินในอังกฤษ
Biggest Move Biggest Change
Banking made easy in US
จีนในยุคเงิน เงิน เงิน
Los Bancos
Banking in Canada
Banking in New Zealand

   
search resources

Electronic Banking




พลวัตของรูปแบบบริการของธนาคารพาณิชย์ญี่ปุ่น มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา เฉกเช่นเดียวกับการบริการของธุรกิจประเภทอื่นๆ ในญี่ปุ่นที่ให้ความสำคัญกับ Customer Oriented Service เป็นหัวใจหลัก กลยุทธ์การบริการในแบบ conventional service ที่เพียบพร้อมรอให้บริการที่ดีเลิศในอาคารสถานที่สวยหรูจึงไม่ขลังพอที่จะใช้สะกดลูกค้าในภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันได้

การรุกเข้าหากลุ่มเป้าหมายรายใหญ่และรายย่อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าไปมีส่วนสนับสนุนภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมให้มีศักยภาพสูงขึ้นสำหรับการแข่งขันที่รุนแรงภายในประเทศ อีกทั้งการรักษาตำแหน่งของบรรษัท ข้ามชาติของญี่ปุ่นในเวทีโลก เป็นแนวโน้มที่มีมาตั้งแต่ปี 2000 โดยเน้นการประยุกต์เทคโนโลยีขั้นสูงเข้ามาใช้ในระบบของธนาคารให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว และแน่นอน ภายใต้การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่เชื่อถือได้

ที่เห็นเป็นรูปธรรมมากที่สุดคือธนาคารพาณิชย์แทบทุกแห่งเริ่มให้บริการ internet banking จนกระทั่งเกิดตัวอย่างธนาคาร digital สมบูรณ์แบบอย่าง 7 BANK (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในผู้จัดการฉบับเดือนธันวาคม 2548 คอลัมน์ Japan Walker)

ทุกวันนี้จำนวนลูกค้าที่ (เสียเวลาเดินทาง) ไปรอใช้ บริการยังที่ทำการสาขาและ/หรือ ATM ของธนาคารเองรวมทั้งตู้ที่ตั้งตามห้างสรรพสินค้านั้นมีจำนวนลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับการใช้บริการ ATM จากร้านสะดวกซื้อ (convenient store) ที่กระจายตัวอยู่ในชุมชนทุกหนแห่ง

กระนั้นก็ดีนับจากนี้ไปพฤติกรรมการบริโภคของคนญี่ปุ่นจะเกิดการเปลี่ยนแปลงและก้าวข้ามไปสู่ยุคของ electric money เมื่อเทคโนโลยี "Felica" ซึ่งพัฒนาขึ้นครั้งแรกโดย Sony ได้รับการนำเสนอผ่านสินค้าและบริการ ในชีวิตประจำวัน อย่างเช่น การขึ้นรถไฟ การจับจ่ายอยู่กับบ้าน ฯลฯ จากการทดลองใช้นวัตกรรมใหม่นี้ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาพบว่า Felica อำนวยความสะดวกและกลาย เป็นเทรนด์ใหม่สำหรับ lifestyle ของคนญี่ปุ่นในอนาคต

ในญี่ปุ่น Felica ได้นำไปใช้กับบริการตั๋วรถไฟแบบ เติมเงินล่วงหน้า Suica ของ east JR, Edy card ใช้ซื้อของพร้อมสะสมไมล์ของ ANA, การใช้โทรศัพท์มือถือเป็น กระเป๋าสตางค์ เป็นต้น นอกจากนี้เทคโนโลยี Felica ได้เริ่มนำไปใช้ในต่างประเทศด้วย เช่น บัตรรถไฟ Metrocard ที่กรุงเทพฯ, ez-link card ใน Singapore, Octopus card ใน Hong Kong, Transcard ในจีน เป็นต้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us