Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2549
สถาบันการเงินในอังกฤษ             
โดย วิไลลักษณ์ ถิรนุทธิ
 

   
related stories

Biggest Move Biggest Change
Banking made easy in US
ATM Banking in JAPAN
จีนในยุคเงิน เงิน เงิน
Los Bancos
Banking in Canada
Banking in New Zealand

   
search resources

Banking and Finance




สถาบันการเงินในอังกฤษ ไม่อาจนับได้ว่าเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีทางการเงิน เมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วในประเทศอื่น ภาพคนเข้าคิวเพื่อติดต่อฝากและถอนเงินโดยตรงกับพนักงานของธนาคารยังเป็นภาพที่เห็นได้อยู่ทั่วไป แม้จะมีเครื่องรับฝาก-ถอน และอัพเดทสมุดเงินฝากให้บริการอยู่ทั่วไปก็ตาม ทั้งนี้ทั้งนั้นอาจเป็นเพราะการฝากเงินตามเครื่องใช้เวลาอย่างน้อยสองวันกว่าจำนวนเงินจะถูกบันทึกเข้าบัญชีของผู้ฝาก ซึ่งนับเป็นการเสียเวลามากเมื่อเทียบกับการนำเงินไปฝากกับเจ้าหน้าที่โดยตรงซึ่งมีผลทันที

อย่างไรก็ตาม สถาบันการเงินของอังกฤษอาจมีข้อแตกต่างจากสถาบันการเงินไทยในจุดหลักๆ 4 ประการ

1. Non-Bank Institutions สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารแต่บริการ รับเงินฝากและให้กู้ยืมเงินได้เหมือนธนาคารทั่วไป ที่เห็นได้บ่อยมากคือ Building Society ไม่ว่าจะเป็น Newcastle Building Society และ Leeds Building Society สถาบันการเงินประเภทนี้ไม่มีผู้ถือหุ้น แต่มีสมาชิกซึ่งเป็น ลูกค้าเงินฝากเป็นเจ้าของ ทำหน้าที่รับฝากเงินและให้บริการเงินกู้ซื้อบ้าน และเพราะไม่มีผู้ถือหุ้นเป็นเจ้าของและไม่มีการปันผลกำไรนี่เอง ทางสถาบัน จึงสามารถเสนอดอกเบี้ยเงินฝากให้แก่สมาชิกในอัตราที่สูงกว่าแบงก์ทั่วไปได้

2. ธนาคารที่ปรับโฉมและเปลี่ยนภาพลักษณ์ของตัวเองบ่อยที่สุดคือ Abbey หรือชื่อเดิมว่า Abbey National ทางแบงก์สร้างบรรยากาศเป็น กันเองกับลูกค้า ด้วยการร่วมพันธมิตรกับเชนร้านกาแฟชื่อดัง Costa Coffee โดยอนุญาตให้ Costa มาเปิดร้านกาแฟในสาขาของ Abbey ได้

3. เพราะปัญหาการใช้บัตรเงินสด (Debit card) และบัตรเครดิตปลอมจากมิจฉาชีพ ทำให้ธนาคารเกือบทุกแห่งของอังกฤษหันมาใช้เทคโน โลยี Chip and PIN กันมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อต้องการซื้อของด้วยบัตรแทนการจ่ายเป็นเงินสด โดยที่เจ้าของบัตรจะต้องใส่รหัสประจำตัวลงเครื่องเล็กๆ ที่มีประจำอยู่กับแคชเชียร์ในร้านค้าทุกแห่ง แทนการเซ็นชื่อในบิลเหมือนแต่ก่อน

4. Internet Banking คือธนาคารทางอินเทอร์เน็ตที่ไม่มีสาขาเป็นของตนเอง แต่ให้ลูกค้าไปใช้บริการฝากถอนเงินกับเครื่อง ของธนาคารอื่นแทน ด้วยเหตุที่ไม่มีค่าใช้จ่าย ในการดำเนินธุรกิจดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นค่าพนักงานประจำสาขาหรือค่าเครื่องมือต่างๆ ธนาคารเหล่านี้จึงสามารถเสนอดอกเบี้ยเงินฝากที่สูงกว่าแบงก์ทั่วไปให้แก่ลูกค้าได้ เช่น ING Direct เสนอดอกเบี้ยเงินฝากแก่ผู้ฝากถึง 4.75% เทียบกับ 4.1% สำหรับบัญชี e-saving ของ Barclays Bank อีกตัวอย่างหนึ่งคือ Egg สถาบันการเงินชื่อแปลกที่ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตล้วนๆ เปิดให้บริการ มาตั้งแต่ปี 1998 Egg Money คือบริการเครดิตการ์ด แต่เป็นบริการรับฝากเงินไปในตัว เดือนใดที่ลูกค้ามียอดติดลบในบัญชี ต้องเสียค่าชาร์จด้วยอัตราดอกเบี้ย 6.9% แต่หาก เดือนใดมียอดเงินฝากเป็นบวก ทางสถาบันจะคิดดอกเบี้ยเงินฝากให้ในอัตรา 4%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us