|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มกราคม 2549
|
|
วาณิชธนกิจชื่อดังของสหรัฐฯ กำลังใช้เส้นสายและความเจนสังเวียน รวมกิจการตลาดหุ้นสหรัฐฯ กับบริษัทค้าหุ้นทางอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับ Goldman Sachs วาณิชธนกิจที่ทรงอิทธิพลอย่างสูงในสหรัฐฯ การที่จะเป็นทั้งบริษัทที่ปรึกษาในการรวมกิจการ และมีส่วนเป็นเจ้าของในกิจการทั้งสองแห่งที่ตนกำลังจัดการนำมารวมกันนั้น หาใช่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้
ในขณะที่หากเป็นวาณิชธนกิจอื่นๆ คงไม่กล้าที่จะทำเช่นนั้น เพราะถึงแม้จะได้ผลประโยชน์สองต่อทั้งจากค่าธรรมเนียมที่จะได้รับในฐานะบริษัทที่ปรึกษาแล้ว ยังจะได้รับผลประโยชน์จากมูลค่าที่พุ่งขึ้น ของบริษัทใดบริษัทหนึ่งในบริษัททั้งสองที่กำลังจะรวมกิจการกันอีกด้วย แต่ก็เสี่ยงที่จะถูกเพ่งเล็งจากผู้คุมกฎ เนื่องจากการทับซ้อนของผลประโยชน์
แต่ Goldman Sachs กำลังจะได้ประโยชน์สองต่อ จากการพยายามรวมตลาดหุ้นนิวยอร์ก (New York Stock Exchange : NYSE) กับบริษัท Archipelago บริษัท ค้าหุ้นทางอิเล็กทรอนิกส์ โดย Goldman เป็นทั้งบริษัทที่ปรึกษาในการรวมกิจการและ ยังถือหุ้นร้อยละ 15 ของ Archipelago ในขณะเดียวกันก็ยังเป็นบริษัทสมาชิกตลาด หลักทรัพย์ NYSE ซึ่งมีสิทธิ์ซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ และถือหุ้นใน NYSE ด้วย (ซึ่ง CEO ของ NYSE ก็คือ John Thain อดีตผู้บริหารระดับสูงคนหนึ่งของ Goldman)
Duncan Niederauer ผู้บริหารระดับ สูงคนหนึ่งของ Goldman ซึ่งเคยนั่งในบอร์ด บริหารของ Archipelago มีบทบาทสำคัญในริเริ่มการรวมกิจการในครั้งนี้ และผลตอบ แทนที่ Goldman จะได้รับหากการรวมกิจการสำเร็จ จะมีมูลค่ามากถึง 200 ล้านดอลลาร์
Goldman กล่าวว่าไม่ได้ทำอะไรผิด เพราะเปิดเผยทุกอย่างอย่างโปร่งใส แต่ Hank Paulson CEO ของ Gold-man ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์
การหาญกล้าพยายามรวม กิจการตลาดหุ้นสหรัฐฯ กับบริษัท อื่นในครั้งนี้เป็นตัวอย่างที่สะท้อน ให้เห็นความทรงอิทธิพลอย่างสูงของ Goldman ใน Wall Street ได้อย่างชัดเจนที่สุด Goldman ซึ่งดำเนินธุรกิจด้วยความชาญฉลาดและความเขี้ยวรวมทั้งการใช้เส้นสาย มีอำนาจสูงอย่างชนิด ที่วาณิชธนกิจอื่นใดไม่มี นักกฎหมายหลักทรัพย์ชี้ว่า Goldman เป็นที่หนึ่งเสมอในหลายๆ ด้านเมื่อเทียบกับคนอื่นๆ ในธุรกิจประเภท เดียวกัน
อย่างไรก็ตาม บริษัทสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ NYSE ซึ่งไม่เห็นด้วยกับการรวมกิจการดังกล่าว ได้นำเรื่องขึ้นสู่การพิจารณาของ ศาล และศาลได้มีคำวินิจฉัยเมื่อเร็วๆ นี้ว่า อาจมีบางฝ่ายไม่ได้รับความเป็นธรรมเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าของตลาดหุ้นในการรวมกิจการ และทางตลาดหุ้นก็ได้ตกลงว่าจ้างให้ Citigroup มาเป็นผู้ประเมินวิเคราะห์อิสระในการประเมินมูลค่าของ NYSE ซึ่งถ้าหากผลการประเมินของ Citigroup ออกมาแตกต่างจากของ Goldman อย่างมีนัยสำคัญแล้ว แผนรวมกิจการ NYSE กับ Archipelago ของ Goldman ครั้งนี้ ก็มีสิทธิ์จะเป็นหมันได้ และหากเป็นเช่นนั้น Gold-man ก็อาจต้องเตรียมเผชิญการฟ้องร้องอุตลุดจากบริษัทสมาชิก NYSE ซึ่งอาจจะรู้สึกหมั่นไส้มานาน และรู้สึกว่าตนถูกเอาเปรียบอย่าง ไม่เป็นธรรมได้
ก่อนหน้านี้ Goldman ก็เคยต้องถอนตัวจากดีลอื่นมาแล้วใน ปีนี้ เนื่องจากการเข้าไปมีผลประโยชน์ทับซ้อน Refco บริษัทนายหน้าค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งยื่นขอล้มละลายในเดือนพฤศจิกายน ได้ขอให้ Goldman เป็นที่ปรึกษาในภาวะที่บริษัทกำลังเผชิญวิกฤติ แต่บริษัท อื่นๆ ใน Wall Street ต่างโวยวายคัดค้าน โดยชี้ว่า Goldman เคย เป็นผู้รับประกันการขายหุ้นให้แก่ Refco ก่อนหน้านั้นไม่นาน จึงอาจ จะต้องมีความผิดด้วย ที่ผิดพลาดไม่รู้ถึงปัญหาการเงินของ Refco ซึ่งทำให้ Goldman ต้องตัดสินใจถอนตัวออกไป
อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครจะปฏิเสธได้ว่า Goldman ดำเนินธุรกิจ ด้วยความชาญฉลาดสุดยอด และเป็นผู้ริเริ่มวิธีที่ให้ผู้บริหารของตนประกบติด CEO ของบริษัทต่างๆ เพื่อที่ Goldman จะได้มีชื่ออยู่ในรายชื่อวาณิชธนกิจที่บริษัทต่างๆ จะเลือกใช้บริการในกิจการที่เกี่ยวกับวาณิชธนกิจ
Paulson CEO ของ Goldman จะตื่นตี 3 ทุกวันเพื่อโทรถึงลูกค้าและยังพยายามจะใช้เส้นสายที่มีอยู่ เข้าไปมีส่วนในการเสนอขายหุ้นครั้งแรกของ Google บริษัทชื่อดังบนอินเทอร์เน็ต (แม้จะไม่สำเร็จ เพราะ Google ไม่ต้องการ และได้กีดกัน Goldman ออกจากการทำ IPO ของตน เมื่อรู้ว่า Goldman พยายามใช้เส้นสาย)
ความได้เปรียบในการแข่งขันเหนือคู่แข่งที่สำคัญประการหนึ่งของ Goldman ก็คือ ทัพผู้บริหารทั้งอดีตและปัจจุบัน ที่ได้เข้าไปเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงในรัฐบาลหรือเป็นนักการเมืองที่ทรงอิทธิพล ซึ่งได้กลายเป็นเครือข่ายความสัมพันธ์และเส้นสายที่แข็งแกร่งของ Goldman
ผู้บริหารระดับสูงคนหนึ่งของ Gold-man มีชื่อว่า George H. Walker IV ซึ่งเป็นญาติใกล้ชิดกับประธานาธิบดี George W. Bush และทั้ง Walker กับ Paulson ต่าง ได้รับสถานะพิเศษจากการที่ได้บริจาคเงินเข้ากองทุนรณรงค์หาเสียงของ Bush ส่วน John Thornton อดีตผู้บริหารระดับสูงอีกคนหนึ่งของ Goldman ขณะนี้เป็นอาจารย์สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัย Tsinghua ในกรุงปักกิ่ง ก็ยังคงรั้งตำแหน่งที่ปรึกษาอาวุโสของ บริษัท
เครือข่ายของเส้นสายเหล่านี้ช่วยอธิบายถึงการที่ดีลอย่างการรวม NYSE กับ Archipelogo สามารถเกิดขึ้นได้ Goldman เคยบ่นมานานแล้วว่า ระบบการซื้อขายหุ้น แบบดั้งเดิมโดยใช้เทรดเดอร์ในห้องค้าที่ NYSE ใช้อยู่นั้นมันล้าสมัยแล้วแต่ก็ถูกต่อต้านอย่าง หนักจาก Richard Grasso อดีตประธาน NYSE จนเมื่อ Grasso เกิดเรื่องอื้อฉาวที่พัว พันกับเงิน 140 ล้านดอลลาร์ในปี 2003 Goldman ก็สบโอกาสในการช่วยอัปเปหิเขาให้กระเด็นออกไปจากตลาดหลักทรัพย์ Thain อดีตผู้บริหารของ Goldman ได้เข้าแทนที่ Grasso และเสนอเรื่องการรวมกิจการดังกล่าวทันที
นอกจากนี้นิวสวีคยังพบว่า Margaret Tutwiler หัวหน้าฝ่ายสื่อสารของ NYSE และอดีตโฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ สนิท สนมกับ John Rogers คนสนิทของ Paulson อย่างมากและ Rogers เป็นคนแนะนำให้ Tutwiler ได้ตำแหน่งดังกล่าวใน NYSE
ส่วน Neiderauer ผู้บริหารระดับสูงอีกคนหนึ่งของ Goldman ซึ่งมีฉายาว่า "พ่อมดแห่งออซ" เนื่องจากความมีอิทธิพลและเส้นสาย ของเขาได้เล็งที่จะรวมกิจการ NYSE-Archipelago มาตั้งแต่ปี 2000 เป็นอย่างน้อย เมื่อเขาได้เข้าไปเป็นตัวแทนของ Goldman ในบอร์ด บริหารของ Archipelago และพยายามจะชี้ว่า การนำระบบการซื้อขายหุ้นทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ จะทำให้การซื้อขายหุ้นมีประสิทธิภาพ มากขึ้น เสียค่าใช้จ่ายน้อยลง และยังช่วยลดโอกาสการฉ้อโกงลูกค้า
ด้วยความทรงอิทธิพลและการมีเส้นมีสาย จึงไม่แปลกที่จะมีเสียงประชดประชันดังมาจากใน Wall Street เรียก NYSE ว่าเป็น "ตลาดหุ้นของ Goldman Sachs" และหลายคนก็เชื่อว่า ชื่อเล่นที่แสดงถึงอิทธิพลของ Goldman นี้คงจะไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าความพยายามที่จะรวม NYSE-Archipelago ของ NYSE-Archipelago จะสำเร็จหรือไม่ก็ตาม
แปลและเรียบเรียงจาก
นิวสวีค 28 พฤศจิกายน 2548
โดย เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์
|
|
|
|
|