Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน28 ธันวาคม 2548
ทุ่ม 4.8 หมื่นล. ดันแผนขยายสุวรรณภูมิ 2             
 


   
www resources

โฮมเพจ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
โฮมเพจ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่
ท่าอากาศยานไทย, บมจ.
คณะกรรมการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - กทภ.
Airport




กทภ.พิจารณาแผนขยายสนามบินสุวรรณภูมิ เฟส 2 วันนี้ มูลค่าเงินลงทุน 4.8 หมื่นล้านบาท หวังรองรับจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเป็น 55-60 ล้านคนต่อปี รักษาความเป็นศูนย์กลางด้านการขนส่งทางอากาศในภูมิภาคนี้ หลังทอท.ประเมินว่าสนามบินสุวรรณภูมิรับคนได้ 45 ล้านคน ในปี 2550

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า วันนี้ (28 ธ.ค.) การประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (กทภ.) ที่มี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน จะมีการพิจารณาแผนการลงทุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 รองรับปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้น จากเดิม 45 ล้านคน เป็น 55-60 ล้านคนต่อปี โดยเป็นแผนงาน 5 ปี (2549-2553) วงเงินลงทุน 48,122.37 ล้านบาท

แหล่งเงินทุนที่ใช้ในโครงการดังกล่าวจะมาจากบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. 25% หรือคิดเป็นวงเงิน 12,348 ล้านบาท และอีก 75% เป็นเงินกู้ 35,774 ล้านบาท

สำหรับแผนเพิ่มขีดความสามารถของสนามบินสุวรรณภูมิ ประกอบด้วย 5 งาน ได้แก่ 1.อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (Satellite Building) ใช้เงิน 22,273 ล้านบาท 2. งานผิวทางวิ่งเส้นที่ 3 ด้านตะวันตกของสนามบิน และผิวลานจอดเครื่องบิน วงเงิน 7,118.17 ล้านบาท 3. งาน Automated People Mover ระหว่างอาคารเทียบเครื่องบินหลักกับอาคารรองและงานขนส่งกระเป๋าระหว่างทั้งสองอาคาร วงเงิน 2,420 ล้านบาท 4.งานต่อขยายอุโมงค์ด้านใต้วงเงิน 3,940.75 ล้านบาท และ 5.งานระบบสาธารณูปโภค วงเงิน 1,648 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังมีค่าใช้จ่ายในการออกแบบ 561.54 ล้านบาท เงินสำรองสำหรับการเปลี่ยนแปลง ราคาน้ำมัน 5,750.15 ล้านบาท และสำรองราคาอีก 10 % หรือประมาณ 4,374.76 ล้านบาท

สาเหตุที่ต้องมีการขยายขีดความสามารถของสุวรรณภูมิ เฟส 2 เนื่องจากสถิติปริมาณผู้โดยสารที่ท่าอากาศยานกรุงเทพในปี 2548 มี 38.6 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นจากช่วงปี 2541 ประมาณปีละ 5.8% ทำให้ ทอท.มีการประมาณการผู้โดยสารในระหว่างปี 2548-2553 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 6.8% ดังนั้น ในปี 2551 เป็นต้นไป สนามบินสุวรรณภูมิจะไม่สามารถรองรับจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นได้ จำเป็นต้องมีการเพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อรักษาความเป็นศูนย์กลางด้านการขนส่งทางอากาศในภูมิภาค

แหล่งข่าวคมนาคมกล่าวว่า แผนขยายขีดความสามารถของสนามบินสุวรรณภูมินั้นผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการ ทอท. เมื่อวันที่ 19 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยมีความพยายามที่จะเสนอให้บรรจุเข้าสู่วาระการประชุมของ กทภ.หลายครั้ง แต่ได้รับการทักท้วงจากนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายกรัฐมนตรีเคยประกาศไว้ว่าจะพิจารณาเรื่องนี้หลังจากเปิดใช้สนามบินแล้ว 1-2 ปี เนื่องจากไม่มีความจำเป็นต้องรีบเร่งในขณะนี้

เป็นที่น่าสังเกตว่า การชงแผนการขยายสนามบินสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 เข้าสู่ที่ประชุม กทภ.ในครั้งนี้ อาจมีผลผูกพันในการดำรงตำแหน่งประธานบอร์ด ทอท.ของนายศรีสุข จันทรางศุ ที่จะพิจารณาในที่ประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 27 ม.ค.49 เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนินโครงการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ รวมทั้งมีงานหลายส่วนที่เจ้าหน้าที่ทอท.จะต้องเข้ามารับผิดชอบ ปรากฏว่างานทั้งหมดยังคงผูกขาดอยู่ที่นายศรีสุขเพียงคนเดียว ทำให้เกิดความขัดแย้งในการทำงาน

วานนี้ (27 ธ.ค.) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และ บริษัทผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น จำกัด (DCAT) ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าและน้ำเย็น สำหรับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มูลค่า 25,000 ล้านบาท อายุสัญญา 25 ปี มีปริมาณการซื้อขายไฟฟ้าจำนวน 50 เมกะวัตต์ และน้ำเย็น 12,500 ตันความเย็น

นายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บมจ.ปตท. กล่าวว่า ความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการและประเทศไทยเนื่องจากโรงไฟฟ้าและระบบการผลิตเป็นเทคโนโลยีที่สะอาดทันสมัย ใช้พลังงานที่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทำให้ต้นทุนของสนามบินสุวรรณภูมิลดลงปีละ 60 ล้านบาท การใช้เทคโนโลยียังส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมไม่เกิดมลพิษยังเป็นความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างรัฐวิสาหกิจด้วยกันตามนโยบายการประหยัดพลังงานของรัฐบาลอีกด้วยเนื่องจากระบบ District Cooling System and Power Plant เป็นการนำความร้อนทิ้งจากระบบผลิตไฟฟ้ามาใช้ในการผลิตน้ำเย็นต่อซึ่งเป็นการนำเชื้อเพลิงมาใช้ประโยชน์สูงสุด

บริษัท DCAT เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงพลังงานเกิดจากการร่วมทุนระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท กฟผ.จำกัด (มหาชน) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) โดยนอกจากป้อนระบบไฟฟ้าและน้ำย็นให้กับสนามบินแล้ว ยังป้อนให้กับครัวการบินของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us