|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ดีแทคตั้งเป้าขยายเครือข่ายเบียดเอไอเอส หวังปลดแอกบริการที่บางพื้นที่ไม่มีโอกาสและทางเลือก อย่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้และภาคกลาง
นายซิคเว่ เบรคเก้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทคกล่าวถึงเป้าหมายของดีแทคในปีหน้าว่า จะเข้าสู่ยุคการยกเลิกการผูกขาดตลาดมือถือ (To End the Monopoly Era) โดยดีแทคมองว่าปัจจุบันตลาดในประเทศไทยยังไม่มีการแข่งขันสมบูรณ์แบบในบางพื้นที่ อย่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีประชากรมือถือ 26% ตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 13% ภาคเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่างมี 30% ภาคใต้ตอนบนมี 50% และภาคใต้ตอนล่างมี 29% เนื่องจากในพื้นที่ดังกล่าวมีแต่เครือข่ายของเอไอเอส ซึ่งเหมือนกับเป็นการผูกขาดการให้บริการ โดยที่ประชาชนไม่มีโอกาสและทางเลือก
ในปีหน้าดีแทคจะใช้เงินประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท ในการขยายเครือข่าย 1,500 สถานีฐาน เพื่อให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้และกรุงเทพฯ รวมภาคกลาง มีเครือข่ายครอบคลุมเท่ากับเอไอเอส ส่วนภาคเหนือจะขยายหลังจากนั้นอีก 1 ปี โดยที่มุมมองของดีแทคดังกล่าว ทำให้ดีแทคคาดว่าอีก 3 ปีข้างหน้าจะมียอดผู้ใช้บริการใหม่รวม 15 ล้านราย หรือเฉลี่ยโตปีละ 5 ล้าน ในขณะที่เอไอเอสหรือทีเอออเร้นจ์มองที่ 2-3 ล้านเท่านั้น เพราะดีแทคเชื่อว่าหากเครือข่ายครอบคลุมเท่ากับเอไอเอสแล้ว จะทำให้เกิดการแข่งขันที่กระตุ้นตลาดให้เติบโตมากขึ้น โดยที่ดีแทคคาดว่าภาคเหนือจะมีศักยภาพของตลาดในอีก 3 ปี รวม 3.5 ล้าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8 ล้าน กรุงเทพฯ และภาคกลาง 1 ล้าน และภาคใต้ 2.5 ล้าน
“ปัจจุบันประชากรมือถือประมาณ 45% และอีก 3 ปีหน้าจะเพิ่มเป็น 70% โดยคนอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปจะมีการใช้โทรศัพท์มือถือ”
ตัวเลข 1.2 หมื่นล้านบาท เป็นการขยายเครือข่ายรวมทั้งการขยายการให้บริการ EDGE ใน 16 จังหวัดโดยยังไม่รวม 3G หากมีการเปิดให้ไลเซนส์ โดย EDGE ในปัจจุบันสามารถตอบสนองความต้องการใช้การสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงได้ดีอยู่แล้วในช่วง 1-2 ปีนี้ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่ง 3G ที่ยังไม่มีไลเซนส์รวมทั้งเรื่องคอนเทนต์และแอปพลิเคชั่นต่างๆ ในขณะที่ดีแทคเองก็พร้อมที่จะลงทุน 3G ด้วยความเข้มแข็งจากฐานเงินทุน ประสบการณ์ตลาด และการให้บริการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงจากเทเลนอร์
นายซิคเว่กล่าวว่า ในปัจจุบันยอดของการใช้โทรศัพท์มือถืออยู่ที่ 45 % ถือว่ายังอยู่ในสัดส่วนที่ต่ำมาก หากเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆในภูมิภาคเดียวกัน เนื่องจากตลาดยังไม่ได้มีการแข่งขันอย่างเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะในตลาดต่างจังหวัดซึ่งปัจจุบันมีผู้ให้บริการเพียงรายเดียว ทำให้ผู้บริโภคไม่มีทางเลือก ไม่ว่าจะเป็นในด้านราคา คุณภาพของเครือข่ายและรวมไปถึงเรื่องการให้บริการด้วย
จากสถิติพบว่า ในพื้นที่ที่มีการแข่งขันสูงและมีสัญญาณครอบคลุมของผู้ให้บริการจากทั้งสามค่ายนั้น มักจะมียอดผู้ใช้โทรศัพท์มือถือถึง เกือบ 100% อย่างในกรุงเทพและภาคกลางมีประชากรมือถือถึง 83% ในขณะที่ในพื้นที่ที่มีผู้ให้บริการเพียงรายเดียวจะมียอดการใช้โทรศัพท์มือถือเพียง 30% เท่านั้น
จากตัวเลขดังกล่าว ทำให้ดีแทคตั้งเป้าหมายที่จะมีส่วนผลักดันให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรีเต็มรูปแบบในทุกพื้นที่ และเชื่อมั่นว่าดีแทคสามารถเป็นทางเลือกที่ทัดเทียมกับคู่แข่งในทุกพื้นที่การบริการ
นายสันติ เมธาวิกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารดีแทคกล่าวว่า ดีแทคจะใช้เงินประมาณ 1,450 ล้านบาท ในการให้บริการแบ่งเป็นลงทุนปฏิรูประบบ CRM ใหม่ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นฐานข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง 1 พันล้านบาท ขยายศูนย์บริการเพิ่มอีก 100 แห่งจากปัจจุบันที่มี 22 แห่งอีก 150 ล้านบาท และการเพิ่มพนักงานคอลเซ็นเตอร์ 2 พันคน อีก 300 ล้านบาท ส่วนเป้าหมายของโพสต์เพดต้องการรักษาการเพิ่มของลูกค้าใหม่เดือนละ 1 หมื่นราย และทำให้ผู้บริโภคคิดถึงดีแทคหากคิดจะใช้บริการโพสต์เพดรวมทั้งแพกเกจด้านราคาใหม่ๆเพื่อสร้างความคุ้มค่าให้ลูกค้า
นายธนา เธียรอัจฉริยะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารดีแทคกล่าวว่า ในระบบพรีเพดจะยึดแนวทางการทำตลาดสไตล์แฮปปี้ โดยจะเริ่มเปิดแคมเปญใหม่ตั้งแต่กลางเดือนม.ค.49 โดยที่ผ่านมารายได้เฉลี่ยต่อเลขหมายพรีเพดของดีแทคถือว่าเป็นอันดับ 1 ในตลาดรวมทั้งรายได้จากบริการเสริมก็สูงถึง 11% ของรายได้รวม
สำหรับการทำ Tender Offer หุ้นดีแทคในตลาดสิงคโปร์สรุปว่าเทเลนอร์เอเซียซื้อหุ้นจำนวน 14 ล้านหุ้น หรือ 2.96% และบริษัท ไทย เทเลคอม โฮลดิ้งซื้อหุ้นจำนวน 2.4 ล้านหุ้น หรือ 0.5% รวมแล้วเทเลนอร์ถือหุ้นตรงในดีแทคทั้งสิ้น 32.5% นายซิคเว่กล่าวว่าการที่ผู้ถือหุ้นรายย่อยในสิงคโปร์ขายหุ้นไม่มากนักเป็นเพราะเห็นแนวโน้มดีแทคที่ดี ส่วนประเด็นการนำดีแทคเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯนั้น มี 3 ทางเลือกโดย1.เก็บยูคอมไว้ในตลาด และเจรจาเพื่อหาทางให้ดีแทคเข้ามาจดทะเบียนในตลาดเช่นกัน 2.เอายูคอมออกจากตลาดและเอาดีแทคเข้าจดทะเบียนเพื่อได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีและ 3.นำดีแทคเข้าจดทะเบียนทางอ้อมผ่านยูคอม ซึ่งการตัดสินใจทั้งหมดจะได้ข้อสรุปภายในไตรมาสแรกปี 2549
“แปลกมากที่ดีแทคอยู่ในตลาดต่างประเทศ เราอยากนำดีแทคกลับบ้านเกิดซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้นักลงทุนรายย่อยมีโอกาสเป็นเจ้าของบริษัทและเราได้ประโยชน์ทางภาษี”
|
|
|
|
|