20 มีนาคม 2543 บริษัทอาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์ ได้ส่งเอกสารข่าวไปยังสำนักพิมพ์ต่างๆ
เนื้อหาในข่าวระบุว่าบริษัทเฟอร์เรียร์ ฮอดจ์สัน ได้รับรางวัล "บริษัทธุรกิจยอดเยี่ยมแห่งปี"
จากหอการค้าออสเตรเลีย-ไทย
หากเป็นช่วงเวลาปกติ ข่าวการได้รับรางวัลชิ้นนี้ อาจจะดูเหมือนข่าวแจกทั่วไป
แต่จังหวะ ที่ข่าวนี้ปรากฏออกมา เป็นช่วงหลังจากศาลล้มละลายกลาง เพิ่งมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการของบริษัท
อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย (ทีพี ไอ) เพียง 5 วัน จึงดูเป็นเรื่องไม่ธรรมดา
เพราะจังหวะเวลาดังกล่าว เป็นช่วง ที่มีการชิงความได้เปรียบในการเข้าไปเป็นผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการของทีพีไอ
ระหว่างบริษัทเอฟเฟคทีฟ แพลนเนอร์ส กับตัวทีพีไอเอง
เฟอร์เรียร์ ฮอดจ์สัน เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในเอฟเฟคทีฟ แพลนเนอร์ส ขณะที่อาซิแอม
เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์ ก็เป็นบริษัทประชาสัมพันธ์ ที่คณะกรรมการเจ้าหนี้ของทีพีไอ
ซึ่งเป็นแกนนำในการเจรจาเรื่องปรับปรุงหนี้ใช้เป็นผู้เผยแพร่ข่าวสารมาตลอด
คำสั่งฟื้นฟูกิจการของศาลเมื่อวันที่ 15 มีนาคม ยังไม่มีการแต่งตั้งผู้ทำแผนฟื้นฟู
โดยให้เจ้าหนี้ของทีพีไอทั้งหมดนัดประชุม และ ลงมติกันว่าจะเลือกใครเป็นผู้ทำแผน
ตามกฎหมายล้มละลายกำหนดให้สิทธิในการทำแผนฟื้นฟูเป็นของลูกหนี้ ซึ่งก็คือ
ทีพีไอ แต่ก็ให้สิทธิเจ้าหนี้เสนอผู้ทำแผนฟื้นฟูเข้ามาได ้แต่จะต้องได้รับคะแนนเสียงสนับสนุนจากเจ้าหนี้ไม่น้อยกว่า
2 ใน 3 ของมูลหนี้ทั้งหมด
เจ้าหนี้ของทีพีไอทั้งหมด หมายรวมถึงเจ้าหนี้สถาบันการเงิน 148 ราย มีมูลหนี้รวม
3,478 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเจ้าหนี้การค้า กับเจ้าหนี้บริษัท ที่ เกี่ยวข้อง
ซึ่งมีมูลหนี้ราว 10,467 ล้านบาท ในจำนวนหนี้สถาบันการเงิน ที่มีอยู่ 3,478
ล้านดอลลาร์สหรัฐนั้น เป็นสัดส่วนของคณะกรรมการเจ้าหนี้อยู่ 66%
ดังนั้น โอกาส ที่ทีพีไอจะได้รับการแต่งตั้ง ให้เป็นผู้ทำแผนฟื้นฟูเองยังคงมีอยู่
หากประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารทีพีไอ สามารถเกลี้ยกล่อมเจ้าหนี้จำนวนหนึ่งให้เห็นด้วยได้
การช่วงชิงจังหวะเผยแพร่ข่าวการได้รับรางวัลของเฟอร์เรียร์ ฮอดจ์สัน จึงถือเป็นความพยายามในการสร้างความเชื่อถือให้กับเจ้าหนี้ส่วน
ที่ไม่ได้อยู่ในคณะกรรมการเจ้าหนี้ ว่าเอฟเฟคทีฟ แพลนเนอร์ส ซึ่งเป็นบริษัทในเครือมีความสามารถเพียงพอ
ที่จะเป็นผู้ทำแผนฟื้นฟูทีพีไอได้