|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เปิดนโยบายกระทรวงการคลังยุค "ทนง พิทยะ" ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ-อัตราภาษี เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้มีศักยภาพในการแข่งขันกับประเทศคู่แข่ง ขณะเดียวกันต้องเอื้อการขยายการลงทุนภายใน พัฒนาเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพ เผยต้องการให้สัดส่วนเอกชนในการถือหุ้นกฟผ. ไม่เกิน 25% ยอมรับยังไม่มีความเห็นจาก ครม. แนะเมกะโปรเจกต์ต้องดูความจำเป็นเพื่อเรียงลำดับก่อนหลังของโครงการ
อยากทราบแนวนโยบายการคลังปีหน้า
ต้องเข้าใจว่าเมื่อ 4-5 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงของการขยายกำลังการผลิตที่เหลืออยู่จากช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ เพื่อเสริมสร้างการเติบโต ทำให้มีนโยบายช่วยการสร้างพื้นฐานรากหญ้า ซึ่งช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตได้ดีทั้งในระดับล่างและระดับบน แต่คำถามต่อมาคือแล้ว 4 ปีสร้างนับจากนี้จะเป็นอย่างไร เพราะกำลังการผลิตได้ใช้อย่างเต็มที่แล้ว เฉลี่ย 70% ซึ่งเป็นระดับเดียวกับเมื่อตอนก่อนวิกฤตที่เศรษฐกิจบูมมากๆ โดยบางโรงงานขยายกำลังการผลิตไปกว่า 90% หรือถึง 100% แล้ว ดังนั้นจำเป็นต้องมาคิดว่านโยบายเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการเงินการคลัง ต้องทำอะไรบ้าง ซึ่งถ้าดูภาพสิ่งแวดล้อม อัตราดอกเบี้ยขึ้นแน่ แต่เท่าที่ผ่านมา ก็ยังไม่มีผลกระทบมาก เพราะผลตอบแทนยังคุ้ม ในแง่ของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ถ้ายังอยู่ในระดับ 8% ธุรกิจก็จะยังสามารถดำเนินธุรกิจได้
อย่างไรก็ตาม ในระบบเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ การลงทุน เมื่อลงทุนเต็มกำลังแล้วก็ต้องขยายเพิ่ม ดังนั้นเมื่อเรามองว่าต้องเพิ่มเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไปได้ และให้มีการขยายการจ้างงานตามมา สิ่งที่ทำได้ ต้องส่งเสริมการลงทุน ด้านหนึ่ง กระทรวงอุตสาหกรรมโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ก็จะเน้นส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ขณะนี้ได้ผลักดันอุตสาหกรรมรถยนต์ได้เกิน 1 ล้านคันแล้ว และจะผลักดันให้ได้ 2 ล้านคัน ในอีก 5 ปีข้างหน้า เพื่อเป็น ดีทรอยต์ ออฟ เอเชีย ซึ่งเชื่อว่าในอาเซียน เราคงเป็นผู้นำได้
จะเน้นการปรับโครงสร้างอย่างไร โครงสร้างภาษีจะได้เห็นอะไรใหม่ๆ บ้าง
เราได้มองถึงอุตสาหกรรมที่เราคิดว่าเรามีศักยภาพแต่สูญเสียความสามารถในการแข่งขันไป และพยายามดึงกลับมา ซึ่งก็คือ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ เราสูญเสียสมรรถนะในการแข่งขันบางส่วนไปให้แก่ มาเลเซีย ขณะที่จีนไม่ต้องพูดถึง เพราะเขาเติบโตด้วยภาวะตลาดที่ใหญ่มาก กระทรวงการคลังจึงได้มีมาตรการภาษี โดยลดภาษีชิ้นส่วนต้นน้ำจนก่อนถึงปลายน้ำที่นำเข้ามาประกอบ และผลิตเป็นชิ้นส่วนในประเทศให้ลดลงใกล้ 0% มากที่สุด ทำให้สินค้ากว่า 700 กว่ารายการ มีภาษีเป็น 0% หมด ที่เหลือยังมีอุตสาหกรรมในประเทศ ซึ่งเราต้องจะดูแลเขาอีก 3-4 ปี และในปี 2553 ก็จะเปิดหมด เพื่อสอดคล้องกับอาฟต้า ต้องเข้าใจว่า จุดที่เราสูญเสียการแข่งขันไป เพราะตอนที่อาฟต้าลดลงเหลือ 5% เรายังไม่ได้ทำอะไร ทำให้ผู้ประกอบการสั่งนำเข้าชิ้นส่วนจากอาฟต้า แทนที่จะนำเข้ามาประกอบเป็นชิ้นส่วน เพราะไม่คุ้ม เราจึงเสนอมาตรการภาษีเข้า ครม.เมื่อวันอังคารที่ 20 ธ.ค.ที่ผ่านมา
หมายถึงมาตรการยกเว้นภาษีขายเครื่องจักร
ใช่ จุดสำคัญที่เรามองหลักๆ คือ เรื่องของการลงทุน ว่าทำอย่างไรกระตุ้นการลงทุนให้ได้ เรามองภาพความเป็นจริง ภาษีรายได้บริษัทของประเทศไทย สูงกว่าภาษีรายได้ของประเทศที่เราแข่งขันด้วยพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นสิงคโปร์ ฮ่องกง ภาษีรายได้เราสูงกว่า 30% ขณะที่ของคนอื่น 15-20% ซึ่งบริษัทต่างประเทศ ที่จะมาก็มาด้วย บีไอไอ เพราะได้รับยกเว้นภาษีอยู่แล้ว คำถามคือ บริษัทไทยที่อยู่ในประเทศ โดยเฉพาะในตลาดหลักทรัพย์ จะมีขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างไร ซึ่งถ้าผลิตแล้วขายในประเทศไทย ก็คงจะไม่มีปัญหา แต่ถ้าผลิตเพื่อส่งออกถ้าไม่ได้ บีโอไอ มีปัญหาแน่นอน เพราะภาษีสูงกว่าคู่แข่ง แต่การจะไปลดภาษีรายได้ก็ทำให้มีผลกระทบมากๆ ต่อการจัดเก็บรายได้ ดังนั้นเราจึงจูงใจให้การขยายการลงทุนเป็นหลัก โดยทำ 2 ระดับ ระดับที่ทำทั่วประเทศ คือ ถ้าขายเครื่องจักรเก่าเพื่อซื้อเครื่องจักรใหม่ เงินที่ได้จากการขายเครื่องจักรเก่าไม่ถือเป็นเงินได้ที่ต้องเสียภาษี เพื่อให้เขามีโอกาสเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ที่ผมต้องคิดแบบนี้ เพราะเวียดนามกำลังไล่เรามา ซึ่งค่าแรงเขาต่ำกว่าเรา ดังนั้นถ้าไม่หนีระยะยาวจะลำบาก เพราะต้นทุนต่อหน่วยจะมีปัญหา ทางที่จะหนีคือ ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพราะแม้ว่าเมื่อรวมกับค่าแรงที่สูงกว่าก็ตาม แต่ผลผลิตต่อหน่วยมีเสกลพอ ตลาดใหญ่พอ ต้นทุนต่อหน่วยก็จะถูกลง และแข่งกับเขาได้ นี่คือปรากฏการณ์ของการเลือกเทคโนโลยีการผลิตที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทั้งประเทศ ด้อยพัฒนา กำลังพัฒนา ไปจนถึงประเทศที่พัฒนาแล้ว จะเห็นมีการเปลี่ยนแปลง เพราะแม้ว่าค่าแรงจะสูงขึ้นก็ผลิตต่อได้ เพื่อให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยถูกที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งไทยต้องหนีประเทศเพื่อนบ้าน โดยการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่มีอยู่ ไปสู่เทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น
กระทรวงการคลังให้ความสำคัญกับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แค่ไหน
เรามองว่า บริษัทเหล่านี้ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 400 บริษัท มีระบบธรรมาภิบาลที่ดีกว่าบริษัทนอกตลาด มีการตั้งบอร์ด มีการตรวจสอบ มีการตั้งมาตรฐานในการตรวจสอบ มีแหล่งเงินทุน มีประชาชนร่วมเป็นผู้ถือหุ้น มีส่วนได้เสียค่อนข้างมาก และเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญมากๆ ของกรมสรรพากร เราจึงทดลองใช้มาตรการภาษี 3 ปี ให้เครื่องจักรที่ซื้อมา หักค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น โดยให้หักค่าใช้จ่ายได้ทันที 25% ไม่จำเป็นต้องขายเครื่องจักร เช่น การเพิ่มห้องโรงแรม ซึ่งเชื่อว่าทำแบบนี้ ขยายเทคโนโลยีหนีคนอื่นได้ และบริษัทไม่ได้พร้อมๆ กัน ดังนั้นการจัดเก็บรายได้ภาษีก็จะไม่หายไป และใครขยายเครื่องจักรใหม่ กำไรก็จะเพิ่มขึ้น เราก็จะได้ภาษีเพิ่มขึ้น ผมเชื่อในทฤษฎีเลี้ยงห่านเพื่อกินไข่ ไม่ใช่เลี้ยงห่านเพื่อถอนขน ซึ่งถือว่าเหมาะในช่วงนี้ เพราะเป็นช่วงที่ต้องขยายการลงทุน ไม่ได้หมายความว่า เหมาะตลอดไป เราจะทดลองก่อน 3 ปี ว่าเป็นอย่างไร
เป็นช่วงจังหวะที่เลยเวลาไปแล้วหรือเปล่า?
เราไม่ได้มองแบบนั้น แต่มองในภาพรวม เพราะถ้ามองเป็นอุตสาหกรรม ผมก็จะถูกว่าได้ ซึ่งเมื่อมองว่าเอกชนต้องการขยายการลงทุน เราก็ออกมาตรการภาษีกระตุ้นการลงทุนให้ 3 ปี ถ้าได้ผลและจะต่ออีก ก็อีกเรื่องหนึ่ง ในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีบริษัทตั้ง 400 บริษัท และการต่อสู้สมัยใหม่ หยุดไม่ได้ การขยายการลงทุนสมัยใหม่เกิดขึ้นเร็วมากๆ บางแห่งลงทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพตลอดเวลา ดังนั้นถ้าบอกว่าปีนี้ขยายแล้ว ปีหน้าจะไม่ขยาย ผมไม่เชื่อ ทุกคนต้องหนีคู่แข่ง หนีประเทศเพื่อนบ้าน ผมเชื่อจังหวะนี้ยังได้
ที่บอกว่าเราจะดึงอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์กลับมามีขีดความสามารถในการแข่งขัน คิดว่าจะใช้เวลาซักกี่ปี
ตอนนี้มีคำขอเข้ามาที่ บีโอไอ ค่อนข้างเยอะ แต่สิ่งที่เรากำลังจะทำ คือ ดึงไต้หวัน เกาหลีใต้และญี่ปุ่นเข้ามา จีนเป็นจุดหนึ่ง เพราะอุปกรณ์บางอย่างเขาอาจขายได้ถูก อาจจะมีบางแบรนด์เข้ามา แต่ผมมองว่าเขายังเน้นตลาดในประเทศเป็นหลัก แบรนด์เขาก็เริ่มสร้าง จึงไม่แน่ใจว่าเขามีความพร้อมแค่ไหน ดังนั้นเชื่อว่าอุตสาหกรรมนี้ยังไปได้ เพราะสิ่งแวดล้อมการลงทุนของเราดีกว่าในประเทศคู่แข่ง ค่าแรงตอนนี้ก็ไม่ได้แพงกว่า ทักษะของแรงงานเราก็ดีกว่า ดังนั้นผมจึงเชื่อว่า อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของเราจะกลับมานำมาเลเซียได้
ได้มีการวางแผนยุทธศาสตร์เชื่อมต่อบ้างไหมว่า หลังจากฟื้นอุตสาหกรรมในประเทศโดยดูความสามารถในการแข่งขันทั้งหมดแล้ว จะมีการแยกอุตสาหกรรมที่เป็นอนาคตข้างหน้าจริงๆ ใน 5 ปี หรือ 10 ปีข้างหน้า
ปีใหม่นี้ เซคเตอร์ที่เราจะทำเป็นเซคเตอร์ยุทธศาสตร์ คือ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ซึ่งบีไอไอได้เริ่มศึกษาแล้ว เราเองก็จะเริ่มเข้าไปศึกษาว่า ในแง่ของเราจะต้องทำอะไรบ้าง ซึ่งบทบาทของเรา คือ เข้าไปดูว่าจะสามารถสร้างเอสเอ็มอีขึ้นมาซับพอร์ตธุรกิจขนาดใหญ่ได้อย่างไร เพื่อให้เชื่อมต่อกันเป็นระบบ ถ้าเราไม่สามารถสร้างเอสเอ็มอีได้ บริษัทแม่ก็จะนำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้นคลังต้องหามาตรการทางภาษีและมาตรการจูงใจต่างๆ ให้เอสเอ็มอีโต ทำให้โรงงานอะไหล่เกิดขึ้นมากที่สุดในเมืองไทย เพราะนั่นคือ การจ้างงานและการสะสมเทคโนโลยีความรู้ ในแง่ของการสร้างดีไซน์แข่ง เราคงไปไม่ถึง อย่างเกาหลีใต้ต้องใช้เวลาถึง 30 ปีกว่าจะได้เริ่มทำแบรนด์ ออกไปสู่ตลาด ถ้าเราเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของวิธีการพัฒนาอุตสาหกรรม เราก็สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมกลางน้ำ และต้นน้ำไปสนับสนุนได้ แต่ถ้าไม่เข้าใจ ก็จะเจ๊งเหมือนอุตสาหกรรมรถยนต์ ยี่ห้อ โปรตรอน ของมาเลเซีย
การลงทุนในส่วนของเอกชนพอเห็นภาพ แล้วในส่วนของภาครัฐ
รัฐไม่ควรลงทุนแข่งกับเอกชน อะไรที่มีการแข่งขันเพียงพอควรปล่อยให้เอกชนแข่งขัน แต่ถ้ายังมีน้อย ก็อาจจะมีของรัฐตัวหนึ่งเพื่อคานในแง่ของราคา และนี่ก็เป็นสาเหตุที่ รัฐบาลถึงยังเก็บธนาคารกรุงไทย เก็บบริษัท ปตท.เอาไว้
อย่าง กฟผ.ถือว่าเข้าข่ายไหม
กฟผ.เป็นของระบบการขายไฟฟ้า ซึ่งแน่นอนว่า ควรจะเป็นของรัฐ แต่จะ 100% หรือไม่เป็นการตัดสินใจของรัฐว่ารัฐจะสนับสนุน ซึ่งถ้า 100% รัฐก็ต้องออกเงินกู้ และถ้าคิดค่าไฟแพงก็จะมีปัญหา และเป็นภาระของรัฐบาลอีก ต้องดูว่าความพอดีอยู่ตรงไหน ต้องมานั่งคิดว่าแทนที่จะออกพันธบัตรเพื่อกู้นำเงินมาลงทุน กฟผ. แต่เอาเงินนั้นไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นในสังคม อันไหนจะดีกว่า การแปรรูปธุรกิจที่ผูกขาดทำได้แค่นี้ คือ รักษาความเป็นรัฐวิสาหกิจเพื่อกำกับดูแลได้ และแปรรูปเพื่อลดภาระของรัฐ และเพิ่มประสิทธิภาพ ระยะแรกควรจะต้องกระจายหุ้น 25% ยกเว้นว่ากลไกการกำกับชัดเจน แต่ตัวผมเองไม่เชื่อว่าควรต้องต่ำกว่า 50% แน่นอน แต่จะเป็น 50% หรือ 75% เป็นเรื่องที่ต้องถกเถียงกัน
คนที่ต่อต้านเขาไม่เชื่อว่าจะเป็น 25% ตลอดไป แต่เชื่อว่าสุดท้ายจะไปถึง 49% มากขึ้น ทำไมเขาถึงไม่มั่นใจตรงนี้
การแปรรูปให้เหลือต่ำกว่า 50% ไม่ใช่ความพยายามของรัฐบาลนี้เลย เป็นมติ ครม.ของรัฐบาลก่อนหน้า แต่รัฐบาลชุดนี้ เอาเข้า ครม.ใหม่ จะรักษาความเป็นรัฐวิสาหกิจ คือถือ 50% ขึ้นไป และรัฐวิสาหกิจไหนที่สำคัญ ก็จะถือ 75% แต่สภาพแรงงานเคยคุยกับรัฐบาล และมี MOU ว่าบางกลุ่มไม่ควรถือต่ำกว่า 75% บางกลุ่มไม่ควรต่ำกว่า 50% แต่ไม่ใช่มติ ครม. ดังนั้น ถ้าสหภาพยอมรับได้ก็ไม่มีปัญหา แต่กรณี กฟผ.ก็สามารถออกกฎหมายได้ แต่ต้องเข้าใจว่ากฎหมายก็เปลี่ยนแปลงได้ และเราก็มารู้ว่าปัญหามีแค่นี้หรือเปล่า ถ้าเราแก้จุดนี้ จะมีการต่อต้านจุดอื่นอีก มันก็ไม่จบ
เมกะโปรเจกต์ ภาพชัดๆ เป็นอย่างไร
ตอนแรกเริ่มต้นจากแนวคิดในภาพรวม แต่ตอนนี้ถึงจุดที่ลงในรายละเอียด จึงมีการปรับเปลี่ยนบ้าง บางโครงการต้องทำให้เร็วขึ้น บางโครงการต้องช้าลง ขณะที่บางโครงการอาจจะต้องเพิ่มหรือลดลง อย่างโครงการระบบขนส่ง พอมาดูก็พบว่า ดีไซน์เดิมฟุ่มเฟือยมากเกินไป ควรลดลงมาให้มีดีไซน์ที่เหมาะสม ทำให้มีเงินเหลือ จึงเปลี่ยนจาก 7 สาย เป็น 10 สาย แต่งบประมาณยังเท่าเดิม ดังนั้นวิธีจัดงบประมาณก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร หรืออย่างเรื่องระบบน้ำ ก็มีการปรับเปลี่ยน ซึ่งเขาบอกว่าเขาทำได้เร็วขึ้น ก็มีการปรับเรื่องการจัดสรรงบประมาณบ้าง ผมมองว่า ในแง่การเงินเป็นเหมือนรถยนต์ ที่เปลี่ยนเฉพาะส่วนประกอบ ไม่ได้เปลี่ยนตัวหลัก
วิธีบิดดิ้งเปลี่ยนแปลงอย่างไร
เดิมเราคิดว่ามีงบประมาณ เงินกู้ และเงินของรัฐวิสาหกิจเอง แต่นายกฯมองว่า สิ่งที่คนไทยไม่สามารถทำได้ 100% คือ เรื่องของระบบขนส่ง และระบบน้ำ น้ำแม้คนไทยทำได้ แต่นายกฯก็มองว่า ทำไมไม่ใช้ผู้เชี่ยวชาญ เพราะเราทำมานานแต่ก็ยังมีแห้งแล้ง มีจุดน้ำท่วม ดังนั้นจึงควรมีผู้เชี่ยวชาญมาช่วยดูให้สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ การบิดดิ้ง จะมี 4 ประเด็น.1. เริ่มจากการหาผู้เชี่ยวชาญ 2.เรื่องของราคา 3. แผนการเงิน และ4.มีความเป็นไปได้ที่จะทำบาร์เตอร์เทรดหรือไม่ ดังนั้นประเทศใด สนใจที่จะลงทุนในโครงการไหน ก็สามารถเสนอความเห็นขอเปลี่ยนแปลงได้ ถ้ารัฐบาลเห็นว่าดีขึ้นก็ปรับเปลี่ยน แต่ถ้าไม่ดีขึ้นก็ใช้ดีไซน์เดิม มกราคมจะมีการเสนอข้อมูลเบื้องต้น เราต้องรอความชัดเจน
MTA ของกระทรวงคมนาคมไปถึงไหนแล้ว
MTA เป็นองค์กรมหาชนอิสระที่ร่างขึ้นมา เพื่อกำกับดูแลการสร้างระบบการขนส่งทั้งระบบ กฤษฎีกาออกระเบียบในร่างแรกให้หารายได้ และกู้เงินได้เอง ตอนนี้เรื่องอยู่ระหว่างการร่างของกฤษฎีกา แต่ตอนที่มีความเห็นจากกระทรวงการคลังตอนแรก เพียงแค่พยามบอกเขาว่า ถ้าเป็นองค์กรมหาชนอิสระ กระทรวงการคลัง จะไม่สามารถค้ำประกันเงินกู้ได้ ดังนั้นจึงเตือนให้เขาทราบ ไม่ได้มีอะไรที่เป็นปัญหา ทางคมนาคมก็รับทราบ กฤษฎีกาก็ไปทำรายละเอียด
แล้วในส่วนของนโยบายภาษี Sin Tax
เป็นเรื่องที่กรมสรรพาสามิตต้องดู ต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อลดการบริโภคในสินค้าที่ไม่ควรบริโภค ซึ่งเรื่องรายได้ถ้าลดลงจากนโยบายของรัฐบาล อย่างตอนปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์ ก็ต้องยอมรับ ไม่เป็นไร เพราะเราดูภาพรวม เช่นมีภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่มมาทดแทน ดังนั้น การมองภาพภาษีใหม่ จะต้องดูว่า ลดส่วนหนึ่งแล้วไปเพิ่ม อีกส่วนหนึ่งหรือเปล่า ไม่ใช่ดูอันใดอันหนึ่ง กลไกภาษียุ่งกว่านั้น และอีกจุดหนึ่งที่ต้องระวังในการขึ้นภาษีสรรพสามิต คือ จะทำให้มีของเถื่อนเกิดขึ้น ตอนนี้ให้เขาเน้นเรื่องภาษีที่เกี่ยวกับมลภาวะ
เบียร์ช้างจะได้เข้าตลาดไหม
เห็นกรรมการบอกว่า ต้องการจะรอกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดจำหน่ายและการบริโภคสุราจากกระทรวงสาธารณสุขก่อน ตอนนี้เขากำลังประชุมกันอยู่ ปัญหาที่คณะกรรมการมอง คือ การตีความว่ามีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม ตีแบบตรงๆ ตัว คงลำบาก เพราะการจัดระเบียบยังไม่ดีพอ ดังนั้นคณะกรรมการจึงอยากเห็นการจัดระเบียบที่ดีพอก่อนที่จะตัดสินใจ
|
|
|
|
|