Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2540
SOS…SAVE TIME AND SAVE LIFE             
 


   
www resources

โฮมเพจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

   
search resources

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
International SOS Assistance
Claude A.Giroux
Hospital




SOS บริการช่วยเหลือชีวิตฉุกเฉิน ในเมืองไทยคงมีคนจำนวนไม่มากนักที่รู้จักกับบริการที่ว่านี้ เหมือนในยุโรป อเมริกา International SOS Assistance เป็นบริษัทสวิสที่เข้ามาก่อตั้งเครือข่ายและให้บริการด้านนี้โดยเฉพาะ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เจนีวา และสำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียที่สิงคโปร์

ล่าสุด SOS ได้จับมือกับโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เปิด Alarm Center ซึ่งตั้งอยู่ภายในโรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ ให้บริการด้านการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย คือนำผู้ป่วยจากจุดเกิดเหตุจนถึงโรงพยาบาล ซึ่งอาจจะเป็นการเคลื่อนย้ายทางบกด้วยรถพยาบาล หรือทางอากาศด้วยเฮลิคอปเตอร์ เครื่องบินเจ็ต เครื่องบินโบอิ้ง(100 คนขึ้นไป) หรือเครื่องบินโดยสารพาณิชย์ธรรมดา ทั้งนี้แล้วแต่กรณี ซึ่งที่ผ่านมาทางบริษัทได้ใช้วิธีการเช่าเครื่องพร้อมนักบินจากบริษัทฮิลเลอร์ สีชังการบิน บางกอกแอร์เวย์ ไทยแอร์เวย์ โอเรียน แอร์ เอ็กซ์เพรส และการบินไทยในกรณีที่เป็นเครื่องบินพาณิชย์

นอกจากนี้ยังมีการบริการด้าน Medical treatment ซึ่งบริการทางด้านนี้ SOS จะทำหน้าที่เสริมให้แก่บริษัทประกันที่เป็นสมาชิกของ SOS โดยจะทำหน้าที่ประสานงานติดต่อแพทย์ในการรักษาผู้ป่วย ติดตามผลของคนไข้อย่างใกล้ชิด และติดต่อกับบริษัทประกันที่คนไข้ซื้อกรมธรรม์ให้เข้ามาดูแลในเรื่องผลประโยชน์ของคนไข้ ซึ่งปัจจุบัน SOS จะเน้นบริการทางด้านนี้มากเป็นพิเศษ เพราะมีบริษัทประกันภัยเข้าร่วมเป็นสมาชิกมาก นอกจากนี้ยังมีบริการล่าม และข้อมูลด้านการท่องเที่ยวอีกด้วย

สายสัมพันธ์ระหว่าง SOS และบำรุงราษฎร์ มีมาเป็นเวลานานแล้วจนกระทั่งบำรุงราษฎร์เปิดอาคารใหม่ที่มีลานจอดเฮลิคอปเตอร์บนอาคารขณะที่ SOS ต้องการที่จะให้บริการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางอากาศซึ่งมีความเชี่ยวชาญแต่ยังไม่เปิดให้บริการในเมืองไทยได้ ความร่วมมือกันในครั้งนี้นับว่าทั้งสองฝ่ายสามารถประสานประโยชน์กันได้อย่างลงตัว คือ SOS มีลานจอดเฮลิคอปเตอร์ที่จะให้บริการแก่ลูกค้า ขณะเดียวกันก็ยังได้ลูกค้าเพิ่มจากการแนะนำของบำรุงราษฎร์อีกด้วย ด้านบำรุงราษฎร์นอกเหนือจากจะได้ค่าเช่าพื้นที่จาก SOS ที่เข้าไปตั้งศูนย์อยู่ที่นั่นแล้วยังจะได้ลูกค้า/ผู้ป่วยที่ SOS จะส่งเข้ามาให้ด้วย และประโยชน์สูงสุดเหนือสิ่งอื่นใดที่บำรุงราษฎร์จะได้รับและเป็นที่ปรารถนาก็คือชื่อเสียงของโรงพยาบาล

"ความสัมพันธ์ที่บำรุงราษฎร์มีต่อ SOS ก็คือทางเราได้มีการจัดเตรียมการขนส่งทางพื้นดิน จัดหาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญตามที่คนไข้ต้องการ จัดหาการดูแลรักษาในระดับที่เป็นมาตรฐานสากล โดยเฉพาะการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ห้องพักคนไข้ฉุกเฉิน การดูแลคนไข้หนัก (intensive care or critical care services) ซึ่งบำรุงราษฎร์มีชื่อเสียงในด้านนี้เป็นที่รู้จักดี" เคอร์ติส ชโรเดอร์ CEO ของบำรุงราษฎร์ กล่าวถึงความพร้อมของโรงพยาบาลที่จะสามารถ serve กับความต้องการของ SOS

Claude A.Giroux ประธานกรรมการ SOS ซึ่งเดินทางมาเปิดศูนย์ด้วยตนเองกล่าวถึงที่มาที่ไปในการตัดสินใจเลือกบำรุงราษฎร์ว่า

"ที่สำคัญที่สุดที่เราพิจารณาก็คือเราจะมองหาโรงพยาบาลที่สามารถดูแลในเรื่องโรคหัวใจ หรือ การดูแลผู้ป่วยที่เป็นทารกหรือเด็ก ซึ่งเราถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะหากไม่มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่จะช่วยได้อย่างทันท่วงทีจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ และบำรุงราษฎร์ก็เป็นแห่งเดียวในเมืองไทยที่มีเครื่องขนย้ายทารกที่มีเครื่องช่วยหายใจและยังมีแพทย์ที่เชี่ยวชาญในด้านนี้ด้วย ซึ่งนั่นก็คือปัจจัยสำคัญที่เรามอง นอกจากนี้ การที่กรุงเทพฯตั้งอยู่ที่ในทำเลที่ดีจึงทำให้เราต้องเลือกที่จะส่งลูกค้ามาที่นี่ เพราะจะช่วยประหยัดเวลาและช่วยเหลือชีวิตได้ทันเวลา และอีกอย่างก็คือที่นี่มีเครื่องมือที่สามารถดูแลรักษาคนไข้ที่มีปัญหาซับซ้อนได้ อย่างเช่นคนไข้ที่คอหัก หลังหัก เราจะส่งมาที่นี่เพราะว่าที่นี่จะรู้วิธีและสามารถที่จะดูแลผู้ป่วยประเภทนี้ได้ นอกจากนี้ที่นี่ยังมีแพทย์ที่มีการฝึกฝนมาอย่างดีเยี่ยมในระดับสากล เราสามารถนำลูกค้าของเรา เช่น Exxon หรือ Mobil มาที่นี่ได้โดยไม่ถูกต่อว่าจากลูกค้าซึ่งเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมาก"

อย่างไรก็ตาม แม้ว่า SOS จะมีความสัมพันธ์กับบำรุงราษฎร์ แต่ไม่ได้หมายความลูกค้าของ SOS จะถูกส่งมายังที่นี่ทั้งหมด เพราะลูกค้ายังมีสิทธิที่จะเลือกโรงพยาบาลด้วยตัวเอง ยกเว้นเฉพาะในกรณีที่ลูกค้ายังไม่มีความคิดที่จะไปรักษาที่ไหน จึงจะส่งมาที่บำรุงราษฎร์

ที่ผ่านมา SOS จะนำผู้ป่วยที่เป็นชาวต่างชาติไปยังสิงคโปร์ ในขณะที่บำรุงราษฎร์เองก็วาง position ของตนเองเป็นโรงพยาบาลระดับภูมิภาคโดยมีสิงคโปร์เป็นคู่แข่งที่สำคัญ ดังนั้นเมื่อสามารถดึง SOS เข้ามาร่วมมือได้บำรุงราษฎร์จะสามารถยกระดับตนเองได้อย่างรวดเร็วขึ้น ซึ่งปัจจุบันบำรุงราษฎร์ได้รับคนไข้เอเชียจากบังกลาเทศ เนปาล เวียดนาม ลาว กัมพูชา จีนตอนใต้ และมาเลเซียอยู่แล้วเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ต้องการใช้บริการของ SOS จะต้องเป็นสมาชิก โดยจ่ายค่าธรรมเนียมเป็นรายปี ซึ่งแยกออกเป็นประเภทรายบุคคล และกลุ่มเริ่มตั้งแต่ 1,000 คนขึ้นไป ซึ่งในส่วนของรายบุคคลนั้นค่าธรรมเนียมตกปีละ 4,500 บาท(ไม่รวมค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาล) หากสมาชิกเป็นกลุ่มจะถูกลงมากขึ้นอยู่กับจำนวน ซึ่งปัจจุบัน SOS มีสมาชิกอยู่ทั่วโลกประมาณ 53 ล้านคน ส่วนในประเทศไทยสมาชิกส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทข้ามชาติที่เข้ามาเปิดสาขา หรือบริษัทลูกในเมืองไทย บริษัทประกัน เช่น นวกิจประกันภัย อาคเนย์ประกันภัย Chubb Thailand ซิกน่า เป็นต้น นอกจากนี้ก็มีบริษัท ชินวัตร, จ.ส.100 เป็นต้น ที่สำคัญสมาชิกของ SOS สามารถใช้บริการศูนย์ของ SOS ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะอยู่มุมใดของโลก

Giroux กล่าวว่าในแต่ละสัปดาห์ SOS มีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากแอฟริกาถึง 50 ราย และมีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุจากการไต่เขาซึ่งเมื่อปีที่แล้วทั้งปีมีถึง 17,000 ราย ปัจจุบัน SOS มี Alarm Center ทั้งหมดทั่วโลก 22 แห่ง สามารถให้บริการได้ 100,000 รายต่อปี "ที่เราทำอย่างนั้นได้มากเพราะเรามีความเชี่ยวชาญ มีสายสัมพันธ์กับโรงพยาบาลที่ดีมีชื่อเสียง มีลานจอดเฮลิคอปเตอร์ ที่เราสามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว และเราคิดว่าอีกประมาณ 2-3 ปี เราจะสามารถกระตุ้นคนไทยให้เข้าใจและมีโอกาสได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วซึ่งยังไม่ได้มีในตอนนี้"

โดยในเมืองไทย SOS ยังมีกำลังความสามารถจำกัดรองรับได้เฉพาะในประเทศเท่านั้นแม้ว่าจะมีการเพิ่มกำลังความสามารถไปแล้ว แต่ยังไม่เพียงพอเพราะอัตราการใช้บริการเพิ่มมากขึ้น จากการที่บริษัทได้สมาชิกที่เป็นบริษัทประกันมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม Giroux มองว่าปัญหาใหญ่ที่เป็นอุปสรรคในการทำธุรกิจในเมืองไทยก็คือความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนถึงเรื่องการอำนวยความสะดวกต่างๆ "ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์เราใช้เวลาถึง 45 นาทีกว่าจะไปถึงที่เกิดเหตุ ซึ่งใช้เวลานานมากผู้ป่วยอาจจะเลือดออก เสียชีวิตหรือไม่ก็สมองฟกช้ำ หากเราสามารถลดระยะเวลาเหมือนอย่างที่สวิสเซอร์แลนด์ ที่สามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยเฮลิคอปเตอร์ที่ใช้เวลาเพียง 8 นาทีก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ปัจจุบันยังไม่เป็นเช่นนั้น เราจำเป็นต้องสร้างกระบวนการทำความเข้าใจเรื่องนี้กับตำรวจ และเรื่อง facility เพราะตอนนี้คุณไม่สามารถจอดเฮลิคอปเตอร์บนถนนได้"

บริการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางเฮลิคอปเตอร์ที่ SOS นำเสนอแก่สมาชิกนี้จะสามารถให้บริการได้เฉพาะในช่วง 6.00 น.- 18.00 น.เท่านั้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายที่บังคับไว้

แต่การที่ศูนย์นี้เปิดให้สมาชิกโทรเรียกใช้บริการได้ 24 ชั่วโมง โดยที่ศุภรัตน์ ณรงค์วณิชย์ รับผิดชอบในตำแหน่ง Operation Manager ของศูนย์นี้ก็ด้วยเหตุที่ SOS และบำรุงราษฎร์กำลังสนใจที่จะให้บริการด้าน House Call Services รองรับความต้องการของนักเดินทางชาวต่างชาติในยามที่ต้องการแพทย์ไปรักษาถึงที่พัก ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีบริการเช่นนี้ในเมืองไทย แว่วๆมาว่าค่าบริการนี้สูงน่าดูทีเดียว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us