|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ไทยเบฟฯ ยกเครื่องบลู อีเกิ้ล ทุ่ม 100 ล้านบาท ปั้นแบรนด์ใหม่ แปลงชื่อเป็น “บลู” ชูกลยุทธ์ราคาถูกกว่า 60 บาท สอยบัลลังก์ฮันเดรดฯภายใน 5 ปี ปีแรกดูดแชร์ 10% ติดอันดับทอปทรีของตลาด ลั่นปี 49 บุกหนักเน้นสร้างภาพลักษณ์ “Be Blue Be Your Self” เจาะคนรุ่นใหม่
นายวิโรจน์ จันทรโมลี รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด บริษัทบริหารกิจกรรมการตลาดในเครือของบริษัท ไทยเบฟ เวอร์เรจ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากนโยบายของบริษัทฯที่มุ่งเน้นกลยุทธ์พรีเมียมไมซ์เซชั่น หรือขยายไลน์สินค้าสู่ตลาดระดับบนในปีหน้านี้ ล่าสุดบริษัทฯได้รีลอนช์บลู อีเกิ้ล ครั้งใหญ่ หลังจากที่หยุดทำตลาดมากว่า 2 ปี
โดยได้เปลี่ยนชื่อตราสินค้าใหม่ภายใต้แบรนด์ “บลู” พร้อมกันนี้ยังได้ปรับภาพลักษณ์และแนวทางการสื่อสารแบรนด์ไว้ภายใต้แนวคิด “Be Blue Be Your Self” เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่อายุ 20-29 ปี สำหรับแผนการตลาดบลูในเซกเมนต์เซกันดารี่ บริษัทฯจะใช้กลยุทธ์ราคา
โดยเป็นเหล้าที่หมักบ่ม 5 ปี แต่จำหน่ายราคาเท่ากับเหล้าบ่ม 3 ปี ซึ่งเป็นกลยุทธ์เดียวกับผู้นำตลาดในขณะนี้ คือ ฮันเดรด ไพเพอร์ส อย่างไรก็ตามบลูจะมีความได้เปรียบในเรื่องต้นทุนการผลิต โดยเป็นเหล้ามอลต์ที่ผลิตภายในประเทศ ทำให้ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าจึงมีราคาที่ถูกกว่าฮันเดรดฯถึง 60 บาท โดยบลูจำหน่ายในราคา 260 บาท มีจุดเด่นตรงที่มีส่วนผสมหลักของมอลต์จากสก็อตแลนด์
“พฤติกรรมการผู้บริโภคการตัดสินใจซื้อเหล้าในเซกเมนต์เซกันดารี่หลักๆ จะมาจาก ด้านราคา คุณภาพ และประการสำคัญคือ ภาพลักษณ์ ซึ่งโจทย์ใหญ่ของบลูคงเป็นเรื่องของการสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้าให้มีความแข็งแกร่งเป็นหลักก่อน โดยบริษัทฯจะเน้นการสื่อสารบุคลิกของแบรนด์ คือ การบ่งบอกความเป็นตัวของตัวเอง อินเทรนด์ มีรสนิยม ขณะที่มีความสนุกสนานผ่อนคลายไปด้วย เพื่อให้สอดคล้องไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่”
สำหรับบูลบริษัทได้ทุ่มงบการตลาด 100 ล้านบาท เน้นบีโลว์เดอะไลน์มากกว่า ส่วนอะโบฟเดอะไลน์หรือการทำภาพยนตร์โฆษณาประชาสัมพันธ์จะมีในช่วงต้นปีหน้านี้ ช่วงปีแรกจะเน้นทำตลาดในกรุงเทพฯเป็นหลักก่อน โดยให้ความสำคัญทั้งตลาดออนพรีมิสและออฟพรีมิสในสัดส่วนที่เท่ากัน คือ 50% ซึ่งเมื่อเทียบกับคู่แข่งแล้วจะเน้นช่องทางออนพรีมิสมากกว่า ทั้งนี้เป็นเพราะกลไกราคาของบลูถูกกว่า ส่งผลให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ในทุกช่องทาง
ปีหน้านี้บริษัทฯจะเริ่มเข้าไปทำตลาดช่องทางออนพรีมิสอย่างเต็มตัว ขณะนี้ได้เจรจากับผู้ประกอบการบ้างแล้ว ส่วนกลางปีหน้าบริษัทฯจะส่งออกบลูไปยังตลาดต่างประเทศ ในเบื้องต้นวางไว้เป็นประเทศเพื่อนบ้านเป็นหลักก่อน
แนวโน้มตลาดเซกันดารี่มูลค่า 2.5 ล้านบาท ในปีหน้าสภาพตลาดจะทรงตัวหรือหดตัว เนื่องจากได้รับผลกระทบจากมาตรการของภาครัฐ รวมทั้งผลพวงจากภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบด้านกำลังซื้อ สำหรับในปีแรกบริษัทฯตั้งเป้ายอดขายบลู 2.5 แสนลัง หรือมีส่วนแบ่ง 10% ติดอันดับทอปทรีของตลาด โดยปัจจุบันฮันเดรดเป็นผู้นำตลาดครองส่วนแบ่ง 60% อันดับสองสเปย รอยัล 14% และอันดับสามเบนมอร์ 7-8% ซึ่งใน 3-5 ปีบริษัทตั้งเป้าหมายไว้ว่า บลูจะขึ้นเป็นผู้นำตลาดครองส่วนแบ่ง 50%
ทั้งนี้จากนโยบายพรีเมียมไมซ์เซชั่น นโยบายทางการตลาดในปีหน้า บริษัทฯจะเริ่มเปิดตัวแบรนด์ใหม่อย่างน้อย 1 แบรนด์ต่อปี โดยจะค่อยๆเปิดตัวสินค้าในเซกเมนต์ระดับบนอย่างต่อเนื่อง จากปัจจุบันสินค้าในพอร์ต ประกอบด้วย กลุ่มเหล้าขาว,กลุ่มเหล้าสี แม่โขง แสงโสม มังกรทอง,กลุ่มแอดมิกซ์ คราวน์ 99 และล่าสุดเซกันดารี่ ภายใต้แบรนด์ บลู
|
|
|
|
|