Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์26 ธันวาคม 2548
'เคที เรสทัวรองท์' แจ้งเกิด 'มิสเตอร์เหม็ง' ครบไลน์แฟรนไชส์อาหารไทย จีน ฝรั่ง             
 


   
search resources

Food and Beverage
Franchises




หลังจากที่ "เคที เรสทัวรองท์" ประสบความสำเร็จจากการขายแฟรนไชส์ร้านเสต็ก "ซานตา เฟ่" ในไทยและ "ครัวไท" ในต่างประเทศ ในปี 2549 "เคพี เรสทัวรองท์" พร้อมใจเปิดขายแฟรนไชส์น้องใหม่ “มิสเตอร์เหม็ง” อาหารจีนประเภทติ่มซำนึ่งสดและหม้อดินหวังเป็นทางเลือกของผู้นิยมบริโภคอาหารจีนเพราะเห็นว่าตลาดอาหารจีนมีการเติบโตทุกปี

พร้อมเปิดตัวขายแฟรนไชส์ "ครัวไท" ครั้งแรกในไทยหลังจากที่ไปประสบความสำเร็จในตลาดต่างประเทศ วางอนาคตบริษัทจะซื้อแฟรนไชส์จากต่างประเทศเข้ามาเปิดหวังเป็นการแลกเปลี่ยนโนฮาว

"มิสเตอร์เหม็ง"ทางเลือกใหม่อาหารจีน

สุรชัย ชาญอนุเดช กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เคที เรสทัวรองท์ จำกัด กล่าวกับ “ผู้จัดการรายสัปดาห์” ว่า ล่าสุดได้เปิดแฟรนไชส์มิสเตอร์เหม็งประมาณ 3 เดือนแล้ว เป็นอาหารจีนติ่มซำแบบนึ่งสด และอาหารประเภทหม้อดินเนื่องจากติ่มซำเป็นอาหารที่คนไทยรู้จักมานานและเป็นอาหารที่หาทานได้ง่ายภายใต้คอนเซ็ปท์เร็วและลูกค้าต้องมีส่วนร่วม

"คือทีมบริหารยังเป็นทีมของเคที เรสทัวรองท์อยู่ ซึ่งตรงนี้มั่นใจได้เลยว่ามิสเตอร์เหม็งไม่ใช่การโตแบบฉาบฉวย แต่เรามองผลในระยะยาวช่วงแรกเราต้องทำให้ลูกค้าพึ่งพอใจและต้องทำให้คอนเซ็ปท์เป็นที่ติดตลาดก่อน อย่างโต๊ะจีนมันไม่ตอบโจทย์เพราะวัฒนธรรมตอนนี้การจะรวมกลุ่มกันไปกินกลุ่มใหญ่ๆ ทำได้ยากขึ้นครอบครัวและสังคมเล็กลงซึ่งตรงนี้ตอบโจทย์ได้เลยว่าอาหารจีนที่เราจะทำต้องเป็นอาหารจีนที่ค่อนข้างเป็นเทรนดี้หน่อย และต้องเข้ากับยุคเข้ากับสไตล์คือดูทันสมัย"

ปัจจุบันมิสเตอร์เหม็งเปิดให้บริการไปแล้ว 3 สาขา คือที่สาขาแฟชั่นไอส์แลนด์, เดอะมอลล์ บางกะปิ และโลตัสบางกะปิ เนื่องจากต้องการสร้างความรู้จักกับกลุ่มผู้บริโภครอบนอกก่อน โดยมิสเตอร์เหม็งจะจับกลุ่มลูกค้าระดับบีอายุ 15-35 ปี เพราะกลุ่มดังกล่าวมีโอกาสในการเข้ามาเดินในห้างสรรพสินค้าสูง และกลุ่มคนระดับกลางมีรสนิยมในการทานอาหารที่ดีขึ้นเรื่อยๆ

สำหรับโอกาสในการลงทุนธุรกิจมิสเตอร์เหม็งนั้น “สุรชัย” เชื่อว่า เป็นโอกาสที่ดีเนื่องจากเป็นการลงทุนที่ไม่สูงจนเกินไปหากเทียบกับการซื้อแฟรนไชส์ที่มีระบบ นอกจากนี้ การที่ห้างสรรพสินค้าที่มิสเตอร์เหม็งเข้าไปเปิดได้นั้นเป็นห้างที่มีความเป็นมืออาชีพอยู่แล้วทางห้างต้องมีการสกรีนอยู่แล้วกลุ่มผู้ลงทุนจึงน่าจะมั่นใจได้

โดยการเปิดสาขาของมิสเตอร์เหม็งจะเน้นการขยายสาขาตามห้างสรรพสินค้าและตามตึกสำนักงานเป็นหลัก เนื่องจากสามารถอำนวยความสะดวกกับลูกค้าได้ง่ายกว่า ส่วนสแตนอโลนบริษัทไม่เน้นแต่หากมีก็คงน้อยมากคงจะอยู่ตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ อย่างสีลม

ด้านการสร้างแบรนด์ของมิสเตอร์เหม็งนั้นในปี 2549 บริษัทจะใช้การเปิดสาขาเพื่อให้ลูกค้าเห็นโดยในปี 2549 จะเปิดสาขาของตัวเอง 8 สาขา และสาขาแฟรนไชส์อีก 5 สาขารวมกับสาขาที่มีอยู่ในปีนี้เป็น 16 สาขาซึ่งมีสาขาแฟรนไชส์ที่จองพร้อมเปิดในปีหน้าแล้ว 1 สาขาอยู่ที่หัวหินมาร์เก็ตวิลเลจ และในปี 2550 จะเปิดสาขาแฟรนไชส์และสาขาของบริษัทเพิ่มอีก 20 แห่ง ส่วนในปี 2551 จะมีการสร้างแบรนด์ผ่านทางสื่อแมสมีเดีย

ส่วนเงินลงทุนมิสเตอร์เหม็งราคาค่าแฟรนไชส์อยู่ที่ 2 ล้านบาทต่อหนึ่งสาขา โดยบริษัทจะเข้าไปช่วยดูแลทุกอย่างให้ทั้งการหาสถานที่และอุปกรณ์ เนื่องจากบริษัทเชื่อว่าแฟรนไชซอร์สามารถเข้าใจพื้นที่ได้มากกว่าแฟรนไชซี นอกจากนี้ยังมีการวางระบบร้านและการฝึกอบรมไว้ให้ ซึ่งจะต้องใช้พื้นที่ประมาณ 100 ตารางเมตร ประมาณการณ์คืนทุนไว้ที่ 2 ปีครึ่ง โดยแฟรนไชซีไม่ใช่แค่เพียงมีเงินในการลงทุนแต่ต้องมีความเป็นนักลงทุนด้วยนอกจากนี้ยังต้องรักษาระบบมาตรฐานของบริษัทไว้ด้วย

สุรชัย กล่าวต่อว่า สำหรับกระแสความนิยมในการทานอาหารจีนนั้นพึ่งเริ่มกลับมานิยมเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมาเนื่องจากที่ผ่านมาเจอภาวะเศรษฐกิจทำให้การกินโต๊ะจีนลดน้อยลง อย่างไรก็ดีการที่ตลาดเริ่มกลับมาเป็นที่นิยมเหมือนเดิมเพราะผู้ประกอบบางรายเริ่มมีปรับขนาดของการทานอาหารบนโต๊ะจีนให้ย่อขนาดลงจากอาหาร 10 อย่างต่อโต๊ะก็เหลือ 4-5 อย่างต่อโต๊ะ นอกจากนี้ยังมีการตกแต่งร้านที่ทันสมัยขึ้นเพื่อให้ตอบรับกับเทรนด์ของตลาด ซึ่งบริษัทเชื่อว่าตลาดอาหารจีนนั้นเชื่อว่ายังคงไปได้เรื่อยๆ อีก 10-20 ปีทั้งนี้อยู่ที่การสร้างแบรนด์ของแต่ละแบรนด์มากกว่า เนื่องจากต่อไปตลาดจะมองเรื่องของแบรนด์มากขึ้นหากเป็นร้านโนเนมโอกาสที่ลูกค้าจะยอมรับก็เป็นไปได้ยาก

อย่างไรก็ตามแม้ว่าผู้ประกอบการบางรายจะมีการปรับตัวจากในอดีตมากขึ้นแต่ปัจจุบันผู้ประกอบการจะต้องสามารถบอกได้ด้วยว่าร้านของตนเองเป็นร้านอาหารจีนที่เชี่ยวชาญด้านไหน? ซึ่งเทรนด์ของตลาดตรงนี้เป็นมา 5 ปีแล้ว และในอีก 3 ปีข้างหน้าจะเห็นเทรนด์ของตลาดตรงนี้ชัดเจน เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนไป อย่างบริษัทก็มีการวางโพซิชั่นนิ่งของมิสเตอร์เหม็งให้เป็นร้านอาหารจีนที่ชำนาญด้านติ่มซำ โดยในแต่ละเดือนจะมีติ่มซำหน้าใหม่ๆ เพิ่มเดือนละ 5 หน้า อย่างกุ้งยัดใส่ราดซุปข้าวโพด นอกจากนี้บริษัทจะมีการพัฒนาหน้าของติ่มซำให้แปลกจากเดิมมากขึ้นซึ่งตรงนี้จะทำให้ราคาในจำหน่ายติ่มซำสูงขึ้นตามไปด้วย อย่างติ่มซำหน้าแกะ

คาดมีการเติบโตขึ้นทุกปีประมาณ 20-30% เนื่องจากปริมาณผู้บริโภคที่มากขึ้นและการเพิ่มมูลค่าเพิ่มของอาหารเพราะติ่มซำเป็นสินค้าที่มีอิสรภาพในการออกแบบเหมือนกับพิซซ่าที่สามารถทำเป็นหน้าต่างๆ ได้หลากหลาย อย่างไรก็ดี ตนเชื่อว่าการทำติ่มซำนึ่งสดมีมานานแล้วเพียงแต่วิธีการขายแตกต่างกันเท่านั้นเองจากเดิมใส่รถเข็นออกมาให้เลือก ปัจจุบันเปลี่ยนไปเป็นผู้บริโภคเป็นผู้เดินไปเลือกของสดแล้วถึงนำไปนึ่ง

ด้านการแข่งขันในตลาดกับร้านติ่มซำในปัจจุบันตนมองว่าเป็นคนละตลาดกันเนื่องจากร้านเหล่านี้เปิดสาขาในลักษณะของสแตนอโลนในขณะที่ของบริษัทเป็นการเปิดสาขาในห้างสรรพสินค้า และเป็นระบบแฟรนไชส์ที่เป็นระบบ นอกจากนี้ บริษัทถือหุ้นโดยกองทุนวรรณ และในปี 2549 บริษัทจะเข้าสู่การเป็นมหาชน อย่างไรก็ตามหากมองถึงคู่แข่งจริงๆ แล้วตนเชื่อว่าคู่แข่งของมิสเตอร์เหม็งเป็นผู้ประกอบการอาหารที่อยู่ตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป เนื่องจากอาหารเป็นสินค้าที่สามารถทดแทนกันได้อยู่แล้ว

"ครัวไท"เปิดตัวขายแฟรนไชส์ครั้งแรกในไทย

นอกจากนี้ในปี 2549 บริษัทยังพร้อมที่จะเปิดตัวขายแฟรนไชส์ครัวไทอีกหนึ่งแบรนด์ หลังจากที่ครัวไทไปประสบความสำเร็จจากการขายแฟรนไชส์ในต่างประเทศมาแล้ว

สุรชัย กล่าวว่า แฟรนไชส์ครัวไทจะขายในไทยเป็นครั้งแรกในปี 2549 เนื่องจากมีผู้สนใจติดต่อเข้ามาจำนวนมากแม้ว่าครัวไทจะเปิดมานานแล้วแต่ในช่วงแรกบริษัทไม่มีนโยบายที่จะขายเพราะไปเน้นทำตลาดต่างประเทศมากกว่าและบริษัทมองว่าตลาดในไทยก็มีอาหารไทยอยู่มากแทบทุกแห่งอยู่แล้วจึงมองว่าอาจจะทำตลาดได้ลำบาก อย่างไรก็ดีบริษัทเปิดสาขาครัวไทไปแล้ว 14 สาขาและคาดว่าปีหน้าบริษัทจะเปิดสาขาของตัวเองเพิ่มอีก 3 สาขา และเปิดสาขาแฟรนไชส์อีก 3 สาขาการที่ตั้งเป้าสาขาแฟรนไชส์ไว้น้อยเพราะตนมองว่าการขยายสาขาแฟรนไชส์อาหารไทยทำได้ยาก โดยโลเกชั่นในเปิดครัวไทจะเน้นตามห้างสรรพสินค้าเป็นหลักส่วนกลุ่มลูกค้าของครัวไทจะเริ่มตั้งแต่อายุ 18-40 ปีเพราะเป็นกลุ่มที่สนใจในเรื่องของสุขภาพ

ด้านการแข่งขันของธุรกิจอาหารไทยนั้นปัจจุบันถือว่าค่อนข้างจะสูงและมีการตบเท้าเข้ามาของรายใหม่ๆ ค่อนข้างมากขึ้นหากเทียบกับ 4 ปีก่อน ส่วนการลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ครัวไทนั้นจะต้องใช้เงินลงทุน 2.5 ล้านบาทต่อ 1 สาขาใช้พื้นที่ 100 ตารางเมตร

"เรามองว่าภาพรวมของร้านอาหารไทย ในช่วงหลังถือว่าหดตัวลงด้วยซ้ำเพราะคนจะไปทานอาหารตามสวนอาหารมากกว่าการทานอาหารในห้าง ดังนั้นคนที่เปิดร้านอาหารในห้างสรรพสินค้าจะต้องหาจุดยืนของตัวเองให้ได้อย่างครัวไทจุดยืนของเราคือแกงต่างๆ และใช้กลยุทธ์ในเรื่องของคุณภาพ" สุรชัย กล่าวทิ้งท้าย

"ซานตา เฟ่" ต้นแบบระบบแฟรนไชส์

ด้านซานตา เฟ่นั้นถือเป็นระบบแฟรนไชส์ต้นแบบของบริษัทในไทยเนื่องจากเป็นแฟรนไชส์แรกที่บริษัทเปิดขายเมื่อสองปีที่ผ่านมาซึ่งประสบความสำเร็จพอสมควรจนถึงปัจจุบันบริษัทได้ขยายสาขาของบริษัทไปได้ถึง 10 สาขา และสาขาแฟรนไชส์อีก 3 สาขา โดยกลุ่มเป้าหมายของซานตา เฟ่จะจับกลุ่มผู้บริโภคระดับบี อายุ 18-35 ปี ในด้านระบบแฟรนไชส์จะใช้งบในการลงทุน 3-6 ล้านบาทต่อสาขา พื้นที่ 150 ตารางเมตรมุ่งขยายไปตามห้างสรรพสินค้าใช้ระยะเวลาคืนทุน 2 ปีครึ่ง

คาดว่าในปี 2549 จะเปิดเพิ่มได้อีก 6 สาขา ซึ่งขณะนี้มีสาขาที่พร้อมจะเปิดในปีหน้าแล้ว 3 สาขา เนื่องจากการเปิดร้านซานตา เฟ่ต้องใช้เวลาในการเตรียมตัวก่อนเปิดนานโดยกลยุทธ์ที่บริษัทจะใช้คือเรื่องคุณภาพของรสชาติและมาตรฐาน ด้านตลาดสเต็กในปีนี้ถือว่ามีการเติบโตขึ้นอย่างชัดเจน

สุรชัย กล่าวต่อว่า นอกจากการขายระบบแฟรนไชส์ทั้ง 3 แบรนด์ที่มีอยู่ในอนาคตบริษัทอาจจะมีการซื้อแฟรนไชส์จากอเมริกาเข้ามาเปิดซึ่งคาดว่าจะเป็นแฟรนไชส์อาหารเนื่องจากบริษัทมีความชำนาญในเรื่องนี้ และการซื้อแฟรนไชส์จากต่างประเทศเข้ามาก็ทำกับเป็นการแลกเปลี่ยนโนฮาวซึ่งกันและกันด้วย ด้านภาพรวมยอดขายของบริษัทคาดว่าปีนี้จะสามารถปิดได้ที่ 180 ล้านบาทจากทั้ง 3 แบรนด์ ส่วนปี 2549 ตั้งเป้าไว้ที่ 300 ล้านบาทซึ่งจะมาจากมิสเตอร์เหม็ง 70 ล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us