Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน26 ธันวาคม 2548
ทีโอทีเร่งเคลียร์ปัญหา กทช. ยอมจ่ายค่าเลขหมาย 89 ล้าน             
 


   
www resources

โฮมเพจ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

   
search resources

Telecommunications
ทีโอที, บมจ.




ทีโอทีจูบปากกทช. เร่งสรุปปัญหาคาใจ หลังจ่ายค่าธรรมเนียมเลขหมายแล้ว 89 ล้านบาท ด้านผลประกอบการคาดครึ่งปีหลังกำไรลดลงจาก 2 ปัจจัยหลักค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจาก Early Retired พนักงานกว่าพันล้านบาทและค่าธรรมเนียมกทช. ส่วนบริการ 3G รอบอร์ดตัดสินอนาคตต้นปี 49

นายธีรวิทย์ จารุวัฒน์ กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที กล่าวภาย หลังการประชุมบอร์ดเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. ที่ผ่านมาว่า บอร์ดทีโอทีมีมติอนุมัติให้ จ่ายค่าธรรมเนียมการใช้เลขหมายให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ที่อัตราเลขหมายละ 12 บาทต่อปี โดยเฉลี่ยเดือนละประมาณ 22.2 ล้านบาท รวมตั้งแต่ได้รับใบอนุญาตในเดือน ส.ค.จนสิ้น พ.ย.ทีโอทีต้องจ่ายทั้งหมด 89 ล้านบาท สำหรับค่าธรรมเนียมใบอนุญาตที่ต้อง จ่าย 3% ของรายได้นั้น อยู่ในระหว่าง การต่อรอง โดยแนวทางของทีโอทีจะขอส่วนลดหย่อนใน 5 หมวดซึ่งตกลงกับกทช.ได้บางหมวดแล้ว ส่วนเรื่องบริการโทรคมนาคมทั่วถึงหรือ Universal Service Obligation (USO) นั้น ก็เป็นเรื่องหลักที่กำลังต่อรองกับกทช.เช่นกัน

ทั้งนี้ ทีโอทีไดตั้งสำรองเป็นค่าใช้จ่ายไว้ในงบการเงินจำนวน 1,500 ล้านบาทสำหรับค่าธรรมเนียมใบอนุญาต แต่ในความเป็นจริงไม่ต้องจ่ายเต็มจำนวนดังกล่าวเพราะได้ใบอนุญาตไปเมื่อเดือนส.ค.หรือคิดเป็น เวลาเพียง 5 เดือนเท่านั้น

ทีโอทีได้ยื่นไฟลิ่งเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯไปเมื่อวันที่ 29 พ.ย.ที่ผ่านมาทำให้ยังไม่สามารถให้ข้อมูลตัวเลขประมาณการผลประกอบการสิ้นปีได้ แต่สำหรับผลประกอบการครึ่งปีแรก พบว่าทีโอทีมีรายได้ใกล้เคียงช่วงเดียวกันกับปีที่ผ่านมาในระดับ 3.8 หมื่นล้านบาท แต่ผลกำไร ลดลงคือครึ่งปี 2547 มีกำไร 6 พันล้านบาท ส่วนครึ่งปี 2548 มีกำไร 5.6 พันล้านบาท และเชื่อว่าครึ่งปีหลังกำไรจะลดลงจากครึ่งปีแรกหรือน้อย กว่า 5.6 พันล้านบาท เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นที่สำคัญคือเรื่อง Early Retired ของพนักงานที่สูงถึง 1,024 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมกทช.ดังกล่าว

ส่วนไทยโมบายที่ให้บริการโทรศัพท์ มือถือในระบบ 1900 เมกะเฮิรตซ์ที่เป็นการร่วมทุนระหว่างทีโอทีกับบริษัท กสท โทรคมนาคมในสัดส่วน 58/42 อยู่ในขั้นตอนการประเมินมูลค่าที่ แท้จริง หลังจากที่สำนักงานตรวจเงิน แผ่นดิน (สตง.) ทักท้วงให้มีการปรับปรุง ตัวเลขบางรายการ เพื่อให้ทีโอทีเป็นผู้ได้สิทธิดำเนินการแต่เพียงผู้เดียวทั้งเรื่องการซื้อหุ้นและเรื่องความถี่

ประเด็นสำคัญที่ต้องมีการปรับปรุง คือเรื่องการด้อยค่าของโครงข่ายไทย โมบายในระยะเวลา 3 ปี หรือคิดเป็น มูลค่าประมาณ 1.5 พันล้านบาท ทำให้ ตัวเลข 4 พันล้านบาทเดิมที่กสทต้อง การให้ทีโอทีจ่ายอาจไม่สูงถึงขนาดนั้น รวมทั้งในเรื่องผลขาดทุนสะสมที่มีอยู่ ว่าจะปรับปรุงกันอย่างไรโดยปัจจุบันไทย โมบายมีลูกค้าใช้บริการไม่ถึง 1 แสนราย

"บอร์ดทีโอทีจะพิจารณาอนาคต ของไทยโมบายในต้นปี 2549 โดยประเมินมูลค่าและทางเลือกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการหาพาร์ตเนอร์ใหม่ไปจนถึงอาจเลิกกิจการ"

ด้านนายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานบอร์ดทีโอทีกล่าวว่าทีโอทีต้อง การเป็นเทเลคอม ซูเปอร์มาร์เกต เพื่อให้บริการครบวงจรโดยมุ่งที่ลูกค้า เป็นหลักหรือ Customer Centric ด้วยการปรับโครงสร้างองค์กรนำฝ่าย โปรดักต์และมาร์เกตติ้งมารวมกัน เพื่อ ลดช่องว่างและช่องทางในการนำสินค้า และบริการไปถึงมือลูกค้าให้เร็วที่สุด โดยความเข้มแข็งของทีโอทีมีหลายประการไม่ว่าจะมีโครงข่ายที่แข็งแรงอย่าง NGN, IP STAR, 3G การเป็น ผู้นำในตลาด IP Networks หรือมี ลูกค้ามากกว่า 2 แสนพอร์ต การเป็น ผู้นำในเรื่องโทรศัพท์สาธารณะ มีส่วน แบ่งตลาด 87% และมีการเติบโตในเรื่องบรอดแบนด์ที่สูงมากคือ เพิ่มขึ้นถึง 1,350% จากจำนวนลูกค้าในปี 2004   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us