|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
คณะกรรมการกำกับกิจการไฟฟ้าหรือ Regulator เห็นชอบกำหนดให้บริษัทลูกกฟผ. ไม่มีสิทธิเข้าร่วมประมูลแข่งขันผลิตไฟฟ้ากับผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ หรือ IPP เพื่อป้องกัน กฟผ. ผูกขาด โดยกำหนดให้ กฟผ.ได้สิทธิผลิต 50% ของความต้องการใหม่หลังปี 2553 เป็นต้นไป และ IPP 50% หลังหักการซื้อไฟจากเพื่อนบ้านแล้ว คาดเปิดประมูล IPP ได้ปลายปี 2549 เตรียมเสนอกระทรวง พลังงานชง"กพช." ชี้ขาดเป็นนโยบายเร็วๆ นี้ ด้านเอ็กโก้-ราชบุรี บริษัทลูก กฟผ.ต้องลุ้นระทึกมติ กพช.
นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ ประธานคณะกรรมการกำกับกิจการไฟฟ้าหรือ Regulator เปิดเผยว่า คณะกรรมการฯได้เห็นชอบแนว ทางการกำหนดสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าหลังปี 2553 เป็นต้นไป โดยมีข้อเสนอให้บริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) ได้สิทธิเป็นผู้ผลิตไฟฟ้า จำนวน 50% ของความต้องการใช้ไฟฟ้าใหม่ดังกล่าว และเปิดให้ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) 50% ซึ่งมีเงื่อนไขว่าการประมูลรับซื้อไฟในส่วนของ IPP บริษัทที่มี กฟผ.ถือหุ้นอยู่จะไม่สามารถประมูลได้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการแข่งขัน ไม่เป็นระบบผูกขาดที่จะเป็นประโยชน์ให้แก่ผู้บริโภคได้มีโอกาสใช้ไฟฟ้าในราคาที่ต่ำ
"บริษัทต่างชาติเองก็กังวลเรื่องนี้ เพราะ กฟผ.มีบริษัทลูกที่ถือหุ้นไขว้ หลายแห่ง หากกำหนดให้ กฟผ.ได้ผลิต 50% แล้วยังให้บริษัท กฟผ.ที่ถือหุ้นไขว้ประมูลได้อีก ในส่วนของ IPP ก็เท่ากับว่า กฟผ.จะผูกขาดเกินกว่า 50% เท่ากับไม่มีการแข่งขันอะไรก็จะไม่เกิดประโยชน์ โดยในส่วนของ 50% กฟผ.จะไปแบ่งบริษัทที่ถือหุ้นก็แล้วแต่ กฟผ.จะดำเนินการ และหากบริษัทลูก กฟผ.ต้องการประมูล IPP ก็ต้องไม่มีหุ้นกฟผ. เพราะการหารือครั้งนี้ก็ได้เชิญทางนายชัยอนันต์ สมุทวาณิช ประธานบอร์ด บมจ. กฟผ.มาหารือด้วยแล้ว" นายยงยุทธกล่าว
ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะดังกล่าวยังถือว่าไม่ใช่ข้อ ยุติ เพราะต้องเสนอไปยังกระทรวงพลังงานแล้ว คาดว่าจะนำไปสู่การพิจารณาของคณะกรรมการ นโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) อีกครั้งเพื่อสรุป โดยคาดว่าการประมูล IPP จะสามารถดำเนินการได้ภายในปลายปี 2549 เพื่อป้อนความต้อง การช่วงปี 2554-2558 ซึ่งอาจจะแบ่งเป็นเฟสในการประมูลก็เป็นไปได้ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ การประมูลนั้น บมจ.ปตท.สามารถประมูลได้เพราะ กฟผ.ไม่ได้ถือหุ้น ขณะที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ไม่ได้ทำธุรกิจผลิตไฟฟ้าเป็นเพียงผู้จำหน่าย
นายยงยุทธกล่าวว่า การเปิดประมูลจะเป็น จำนวนกี่เมกะวัตต์นั้นคงจะต้องดูรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง แต่ในหลักการแล้วจะคำนวณจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น โดยในส่วนที่รับซื้อไฟฟ้า จากประเทศเพื่อนบ้านจะนำมาหักจากความต้อง การแล้วนำส่วนที่เหลือมาแบ่งเป็น 50% ให้ กฟผ. และ 50% เปิดประมูล อย่างไรก็ตาม เดิมมีการ ประเมินความต้องการในช่วง 15 ปี(ปี 2548-2563) ไว้ที่ระดับ 1.3 หมื่นเมกะวัตต์เหลือประมูล IPP ประมาณ 6,000 เมกะวัตต์ ซึ่งล่าสุดคาดว่าตัวเลข ความต้องการคงจะลดลงไม่ถึง 1 หมื่นเมกะวัตต์ และต้องพิจารณารับซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านก่อน จึงจะสรุปตัวเลขชัดเจนได้ แต่ก็ยอมรับว่าหากจำนวนเมกะวัตต์ต่ำไปการประมูลก็อาจจะไม่จูงใจ
สำหรับแนวทางการรับซื้อไฟจากประเทศเพื่อนบ้านคงจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบต่อไป เพราะหากพึ่งมากเกินก็จะมีความเสี่ยงเพราะเท่ากับยืมจมูกคนอื่นหายใจ ส่วนเชื้อเพลิงที่จะเปิดประมูลให้ IPP นั้นยอมรับว่าคงจะต้องเป็นก๊าซธรรมชาติเป็นหลักเพราะถ่านหินยังคงไม่เป็น ที่ยอมรับของประชาชน อย่างไรก็ตาม การพึ่งพิง ก๊าซฯมากไปก็ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงซึ่งระยะยาวคงต้องดูรายละเอียดของพลังงานทางเลือกอื่นๆ ประกอบด้วย
ยันรัฐดูแลค่าไฟเหตุไม่ใช่ธุรกิจ
นายยงยุทธกล่าวว่า ค่าไฟฟ้าปี 2549 มีแนว โน้มปรับขึ้นมากนั้นยืนยันว่ารัฐบาลคงจะดูแลประชาชนไม่ให้เดือดร้อนจนเกินไป เพราะกิจการ ไฟฟ้าไม่ใช่ธุรกิจ แต่เป็นบริการที่รัฐต้องดูแลซึ่งต่างจากน้ำมัน เพราะไฟฟ้ายังคงมีไฟสาธารณะจะคิดค่าไฟง่ายๆ ไม่ได้ต้องรอบคอบพอสมควร ดังนั้นจึงได้ตั้งคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่จะเข้ามาดูแลค่าไฟฟ้าร่วมกับคณะอนุกรรมการพิจารณาค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติหรือ Ft ที่จะเป็นผู้พิจารณาค่าไฟฟ้าอยู่เช่นเดิม
เอ็กโก้-ราชบุรีแห้วประมูลIPP
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัทที่ กฟผ.ถือหุ้นอยู่ได้แก่ บริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด(มหาชน) ซึ่งกฟผ.ถือหุ้นอยู่ที่ 25.41% และบริษัทราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด(มหาชน) กฟผ.ถือหุ้น 45%
คาดศาลปกครองเริ่มพิจารณาคดีก.พ.
นายพิชัย จุลพงศธร รองกรรมการผู้ อำนวย การใหญ่บริหาร บริษัท กฟผ.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กฟผ.ส่งคำแก้ต่างกรณีที่ถูก มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภคและพวกฟ้องร้องต่อศาลปกครองเรียบร้อยแล้ว เมื่อกลางเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งผู้ฟ้องร้องจะสามารถยื่นชี้แจงกลับมาที่ศาลปกครองอีก ตามเวลาต้องส่งภายในวันที่ 8 ม.ค. หลังจากนั้นน่าจะเริ่มพิจารณาคดีภายในเดือนก.พ. ส่วนจะแล้วเสร็จเมื่อไหร่นั้นคงต้อง อยู่ที่การพิจารณาของศาล
|
|
|
|
|