Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2540
รูดม่านวิทยุผู้จัดการเปิดฉากไอเอ็นเอ็น             
 


   
search resources

สำนักข่าวไอ เอ็น เอ็น
สนธิญาณ หนูแก้ว
Radio




ในที่สุดโครงการวิทยุผู้จัดการก็ถึงคราวต้องปิดฉากลง หลังจากที่เคยเพียรพยายามต่อลมหายใจมาแล้วหลายครั้ง

โครงการวิทยุผู้จัดการเป็นหนึ่งใน "สถานีข่าวสาร" ที่ถือกำเนิดขึ้นมาในช่วงที่คลื่นข่าวกลายเป็นแนวรบด้านใหม่บนหน้าปัดวิทยุ อันเนื่องมาจากความตื่นตัวของข่าวสารที่กระตุ้นให้สถานีเพลงทุกค่ายต้องมีรายงานข่าวลงไปในสถานี

กลุ่มผู้จัดการเข้าสู่สื่อวิทยุเมื่อ 3 ปีที่แล้ว เริ่มต้นด้วยการร่วมมือกับบริษัทยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่นอินดัสตรีส์ จำกัด (ยูคอม) ที่ได้สัมปทานเช่าคลื่น 97.5 เมกะเฮิรตซ์มาจากองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) หลังจากกลุ่มยูคอมถอนตัวออกไป กลุ่มผู้จัดการจึงเข้ามาเป็นคู่สัญญากับ (อ.ส.ม.ท.) แทน

รู่งมณี เมฆโสภณ ศิษย์เก่าวิทยุบีบีซีแห่งลอนดอน ต้องการสร้างให้คลื่น 97.5 เมกะเฮิรตซ์ให้เทียบเท่าวิทยุบีบีซีที่เน้นคุณภาพมากกว่าการนำเสนอข่าวแบบร้อนแรงตามกระแสตลาด แต่เมื่อคุณภาพสวนทางกับความต้องการของตลาด ผลลัพธ์ในเชิงธุรกิจจึงออกมาเป็นศูนย์

เพื่อพยุงธุรกิจให้อยู่รอดจากปัญหาการขาดทุนสะสม ในช่วงต้นปีโครงการวิทยุผู้จัดการยอมแปรสภาพจากสถานีข่าวสารและสาระมาเป็นสถานีเพลงผสมข่าว โดยการลดเวลาการนำเสนอข่าวจาก 24 ชั่วโมง เหลืออยู่เพียงแค่ 4 ชั่วโมง และนำเวลาอีก 20 ชั่วโมงที่เหลือให้ "วิทยุสยาม" ภายใต้การนำของไชยยงค์ นนทสุทร และกุลพงษ์ บุนนาค และบรรดาพนักงานของสยามเรดิโอเข้ามาดำเนินรายการ

ผลจากการ "ตัดอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต" ใช่จะสิ้นสุดลง กลุ่มวิทยุสยามต้องประสบปัญหาในเรื่องรายได้ไม่สามารถหาโฆษณาได้ตามเป้าหมาย ทำให้บริษัทออนป้าซึ่งเป็นนายทุนหลังกลุ่มวิทยุสยามตัดสินใจถอนตัวออกไป วิทยุผู้จัดการจึงต้องวิ่งหาพันธมิตรอีกครั้ง

ที่ผ่านมาวิทยุผู้จัดการเดินหน้าเจรจากับกลุ่มทุนหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเจเอสแอล กลุ่มสยามทีวี แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น แต่ในที่สุดก็มาลงเอยที่สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น ที่มีกลุ่มยูคอมเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

"เคยคุยกันแค่ 2 ครั้ง ครั้งสุดท้ายไปนั่งกินข้าวคุยกับคุณรุ่งมณีแค่ 2 ชั่วโมงก็ตกลงใจ" สนธิญาน หนูแก้ว ผู้อำนวยการสำนักข่าวไอเอ็นเอ็น เล่าให้ "ผู้จัดการรายเดือน" ฟังถึงเบื้องหลังการเข้าเสียบในคลื่น 97.5 เมกะเฮิรตซ์ของไอเอ็นเอ็นที่ใช้เวลาสั้นๆ

ผลจากการตกลงในครั้งนั้น คลื่น 97.5 เมกะเฮิรตซ์ก็ถูกพลิกโฉมหน้าอีกครั้ง กลายเป็น "สถานีคลื่นชุมชน" หรือ ซิตี้เรดิโอ เพื่อชาวกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นรูปแบบรายการเดิมที่ไอเอ็นเอ็นเคยออกอากาศมาแล้วเมื่อครั้งยังทำคลื่นข่าว 24 ชั่วโมงอยู่บนคลื่น 102.5 เมกะเฮิรตซ์ช่วงเวลาตั้งแต่ 10.00 น.ถึง 5.00 น. แต่ในครั้งนี้สถานีคลื่นชุมชนจะออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง

การดำเนินงานจึงออกมาเป็นการร่วมมือกัน 4 ฝ่าย ระหว่างสำนักข่าวไอเอ็นเอ็น กลุ่มผู้จัดการ อ.ส.ม.ท.และกรุงเทพมหานคร (กทม.)

"ไอเอ็นเอ็นจะเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องการบริหาร กลุ่มผู้จัดการยังเป็นคู่สัญญากับทางอ.ส.ม.ท.อยู่ พี่รุ่งมณียังคงเป็นหนึ่งในทีมงานของเรา และจะรับตำแหน่งเป็นที่ปรึกษา ส่วนการที่ดึงกทม.เข้ามานั้นเพราะเราต้องการให้คลื่นนี้เป็นของคนกรุงเทพฯ" สนธิญานชี้แจง

รูปแบบรายการจะมุ่งเน้นไปที่ปัญหาของคนกรุงเทพฯโดยเฉพาะ ด้วยการเปิดสายให้ประชาชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่ได้รับความเดือดร้อนโทรศัพท์เข้ามาในรายการ และเจ้าหน้าที่จะต่อสายไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบทันที โดยเฉพาะ กทม. ซึ่งรายงานผลการปฏิบัติงานจะออนไลน์ผ่านคอมพิวเตอร์ไปยังผู้ว่ากทม.ที่จะรับรู้ได้ตลอดเวลา

สนธิญานเชื่อว่า คลื่นชุมชน 97.5 จะแตกต่างไปจากคลื่นสังคมไทย 96.0 ของค่ายมีเดียพลัสซึ่งเป็นคู่แข่งโดยตรง และปัญหาที่เกิดขึ้นของคลื่นในลักษณะนี้ก็คือ ไม่สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้

"คอนเซ็ปต์ของเราชัดเจนจะเป็นเรื่องราวและปัญหาใกล้ตัวของทุกคนที่เกิดขึ้นของคนกรุงเทพฯ เราจะติดตามปัญหาที่โทรเข้ามาตลอด พอกทม.รับเรื่องไปแล้ว เราจะส่งทีมข่าวไปตามเรื่องราวมานำเสนอ เช่น กรณีโกดังเก็บสารเคมีที่ทำให้คนในกทม.จะมีการนำมาเสนอ ซึ่งจะเป็นการนำเสนอข่าวในอีกรูปแบบหนึ่ง ความร้อนแรงของคลื่นจะอยู่ตรงนี้" สนธิญานชี้แจง

ผลตอบแทนในเชิงธุรกิจที่สนธิญานมองเห็นจากการทำคลื่นชุมชน คือกลุ่มลูกค้าเป้าหมายขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพฯ ที่ประสบปัญหาร่วมกันดังเช่นที่จส.100 เคยทำสำเร็จมาแล้วกับคลื่นข่าวจราจร ที่คนในกรุงเทพฯประสบปัญหาจราจรร่วมกัน จนกลายเป็นรายการยอดฮิตที่มียอดผู้ฟังและยอดโฆษณาเป็นอันดับหนึ่ง

เป้าหมายที่สนธิญานวางไว้คือ คลื่นชุมชน 97.5 จะติดอันดับ 1 ของคลื่นข่าวภายใน 6 เดือน

นอกจากนี้สนธิญานยังมีแนวคิดจะมีการตั้งมูลนิธิร่วมด้วยช่วยกัน เพื่อใช้ในการบริจาคให้กับผู้เดือดร้อน ซึ่งเงินก้อนแรกจะมาจากไอเอ็นเอ็น และหลังจากนั้นจะเปิดรับบริจาค ซึ่งแน่นอนว่าไอเอ็นเอ็นต้องได้รับชื่อเสียงกลับมา เรียกว่าได้ทั้งเงินทั้งกล่อง !

จะว่าไปแล้วการพลิกโฉมคลื่น 97.5 เป็นสถานีชุมชนจึงเท่ากับเป็นการปิดฉากของวิทยุผู้จัดการลงอย่างสิ้นเชิง แม้ว่ากลุ่มผู้จัดการจะยังคงมีชื่อร่วมอยู่ แต่ก็เป็นเพียงแค่คู่สัญญากับทางอ.ส.ม.ท.เท่านั้น ซึ่งสัญญาจะหมดลงในปลายปี 2541 เพราะการบริหารงาน การผลิตรายการ รวมทั้งทีมงาน 20 กว่าคนของวิทยุผู้จัดการได้ถูกโอนย้ายให้เป็นภาระหน้าที่ของไอเอ็นเอ็น ส่วนงานทางด้านเทคนิคและสื่อสารจะดูแลโดยกลุ่มยูคอม

ในทางตรงกันข้ามเท่ากับเป็นการแจ้งเกิดของไอเอ็นเอ็นบนหน้าปัดวิทยุอย่างเต็มตัวอีกครั้ง หลังจากต้องเจอกับมรสุมครั้งใหญ่เมื่อกองทัพอากาศไม่ยอมต่อสัญญาบนคลื่น 102.5 เมกะเฮิรตซ์จนต้องปิดกิจการไป หากไม่บังเอิญได้กลุ่มยูคอมมาเป็นหุ้นส่วนใหญ่

แม้ว่าไอเอ็นเอ็นจะยังคงมีสถานีข่าวเศรษฐกิจ คลื่นเอฟเอ็ม 96.5 เมกะเฮิรตซ์ แต่ก็เป็นการร่วมทุน 3 ฝ่าย ระหว่างหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ และฟาติมา บรอดคาสติ้ง

การกลับมาบนคลื่น 97.5 ของไอเอ็นเอ็นในครั้งนี้ย่อมไม่ธรรมดา เพราะเป้าหมายในเวลานี้ของยูคอม คือการรุกขยายไปยังธุรกิจมีเดีย และบรอดคาสติ้ง ซึ่งการคว้าสัมปทานสถานีเอเอ็มสเตริโอ 40 สถานี 44 คลื่นความถี่ในมือสะท้อนถึงเจตนารมณ์ในธุรกิจนี้ได้เป็นอย่างนี้ ขณะเดียวกันก็เป็นการ "คืนสู่เหย้า" ของกลุ่มยูคอมบนคลื่น 97.5 เมกะเฮิรตซ์ อีกครั้ง

แน่นอนว่าเป้าหมายของไอเอ็นเอ็น และยูคอมย่อมไม่ได้หยุดเพียงแค่นี้ !

สมวงศ์ พงศ์สถาพร กรรมการผู้จัดการ บริษัทเวิลด์ เคเบิล เน็ตเวิร์ค จำกัด (WCN) กล่าวกับ "ผู้จัดการรายเดือน" ว่า การที่เลือกทำเป็น "คลื่นชุมชน" แทนที่จะเป็นคลื่นข่าว เนื่องจากคลื่น 97.5 เมกะเฮิรตซ์นั้นครอบคลุมเพียงแค่กรุงเทพฯ และปริมณฑลเท่านั้น และพอดีกับได้คลื่นเอเอ็ม 873 ของกทม.มาด้วย

สำหรับคลื่นข่าวด่วน 24 ชั่วโมงที่เคยสร้างความโด่งดังให้กับไอเอ็นเอ็นจะต้องหาคลื่นที่สามารถส่งสัญญาณครอบคลุมได้ทั้งประเทศ ซึ่งอยู่ระหว่างเจรจากับกรมประชาสัมพันธ์ หากตกลงกันได้ในไม่ช้าคลื่นข่าวของไอเอ็นเอ็นจะกลับมาอีกครั้ง

สนธิญาน เล่าว่า เป้าหมายข้างหน้าของไอเอ็นเอ็นก็คือ การมีคลื่นที่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่ม คือคลื่นชุมชน คลื่นข่าวเศรษฐกิจ คลื่นข่าวทั่วไป คลื่นกีฬา และคลื่นข่าวพัฒนาชนบท ซึ่ง 3 คลื่นหลังนั้นไอเอ็นเอ็นจะแพร่สัญญาณไปทั่วประเทศผ่านคลื่นเอเอ็มสเตอริโอ ที่จะนำมาออกอากาศภาคละ 2-3 คลื่น และเมื่อถึงวันนั้นไอเอ็นเอ็นจะมีคลื่นครอบคลุมไปยังกลุ่มเป้าหมายเกือบทุกกลุ่ม

แน่นอนว่าหากคลื่นชุมชนไปได้ตามเป้าหมาย การกลับมาของไอเอ็นเอ็นย่อมไม่ธรรมดา !

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us