Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2540
เครดิตฟองซิเอร์ กับอนาคตที่เหมือนจะไม่มี             
 


   
search resources

ส่งเสริมออมทรัพย์ไทย
ณฐกร วรอุไร




ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา กลุ่มบงล.ศรีมิตร บงล.นวธนกิจ และบงล.ไทยเม็กซ์ ได้ประกาศเจตนารมณ์ในการควบกิจการกับสถาบันการเงินอื่นๆ อีก 5 แห่งเพื่อขอใบอนุญาตธนาคารพาณิชย์ตามนโยบายของแบงก์ชาติ ที่ต้องการให้สถาบันการเงินต่างๆ รวมตัวกันเพื่อให้มีความมั่นคงทางการเงินมากขึ้น รองรับการเปิดเสรีทางการเงินในอนาคต

หลังจากนั้นไม่นาน ก็มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างสถาบันการเงินทั้ง 8 แห่งดังกล่าว มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาประมาณ 9 ชุด เพื่อพิจารณาแนวทางในการรวมตัวกัน และได้จัดตั้งที่ปรึกษาทางการเงินขึ้นเพื่อเป็นตัวกลางในการประเมินราคาหุ้นของแต่ละบริษัทในการแลกเปลี่ยนกัน ทุกอย่างกำลังดำเนินไปด้วยดี และค่อนข้างแน่นอนว่าจะได้รับใบอนุญาตธนาคารพาณิชย์ในเวลาต่อมา เนื่องจากทุกอย่างเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่แบงก์ชาติกำหนด

และนี่เองคือสัญญาณการควบกิจการสถาบัติการเงินอีกหลายแห่งที่กำลังจะตามมา ไม่ผิดอะไรกับการควบกิจการของบริษัทยักษ์ใหญ่ในสหรัฐอเมริกาหรือในญี่ปุ่น ทั่วโลกกำลังเชื่อในทฤษฎีที่ว่าถ้าจะใหญ่ต้องใหญ่แบบมโหฬารจึงจะอยู่รอด หรือถ้าจะเล็กก็คือเล็กจิ๋ว ไม่ใช่เป็นบริษัทขนาดกลางๆ เพราะพวกนี้จะตายก่อน เนื่องจากไม่เหมาะสมในเชิงการแข่งขัน

ตลอดหลายปีที่ผ่านมาแบงก์ชาติมีนโยบายที่จะให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (บค.) ได้มีการควบกิจการกันเอง หรือควบกิจการกับสถาบันการเงินอื่น ด้วยเหตุผลที่ว่าเพื่อความมั่นคงของสถาบันการเงิน และรองรับการเปิดเสรีทางการเงินในอนาคต

ณฐกร วรอุไร กรรมการผู้ช่วย กรรมการผู้จัดการ บค.ส่งเสริมออมทรัพย์ไทย จำกัด ให้ความเห็นว่า "การไปควบกิจการ สำหรับบค.แล้วก็เหมือนกับไปขายธุรกิจให้เขามากกว่า"

สิ่งที่เขาอยากเห็นก็คือความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชน จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาศึกษาอย่างจริงจังว่า บค.ควรจะเดินไปทางไหน เพราะทุกวันนี้ธุรกิจมันคาบเกี่ยวกันอยู่ บค.ก็คือใบอนุญาตหนึ่งของบริษัทเงินทุน ในส่วนของสินเชื่อเพื่อการเคหะ ในขณะที่บริษัทเงินทุนมีช่องทางในการระดมเงินมากกว่า

ทุกวันนี้บค.ที่เหลืออยู่ 11 แห่งยังพยายามที่จะหาทางรอดและขยายธุรกิจออกไป ขณะที่บค. 10 แห่งเลิกกิจการโดยถูกเพิกถอนใบอนุญาต อีก 11 แห่งส่งคืนใบอนุญาตเนื่องจากการควบกิจการและอีก 1 แห่งล่าสุดคือ บค.ไทยเคหะกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อควบกิจการ (พิจารณาตาราง)

ไมใช่เพราะบค.เหล่านี้ต้องการควบกับกิจการอื่น แต่เป็นเพราะมันไม่ได้มีทางเลือกมากนัก ปัญหาหลักที่ทำให้ธุรกิจนี้ไม่สามารถแข่งขันได้ก็คือเรื่องของการระดมเงินฝากจากประชาชนได้ในสัดส่วนที่น้อย และมีต้นทุนทางการเงินสูง

บค.จะรับฝากเงินเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน 1 ปี ไถ่ถอนก่อนครบกำหนดไม่ได้ เพราะฉะนั้นคนที่จะมาฝากก็ต้องแน่ใจว่าจะไม่ใช้เงินจำนวนนี้เลยทั้งปี ดังนั้นเงินที่จะนำมาฝากจึงไม่มีมากนัก หรือนำมาฝากแค่ส่วนเดียว เงินที่เหลืออาจจะนำไปฝากออมทรัพย์ หรือฝากตั๋วสัญญาใช้เงินแบบ 3 เดือนกับบริษัทเงินทุน ซึ่งสามารถไถ่ถอนก่อนครบกำหนดได้

"ตรงนี้มีทังข้อดีข้อเสีย คือ เมื่อฝากครบปีแล้วเขาก็จะไม่ค่อยไถ่ถอนเพราะไม่รู้จะเอาไปทำอะไร มันเป็นเงินเย็นจริงๆ ฉะนั้นฐานเงินฝากของเราจะค่อนข้างมั่นคงแต่มีปริมาณน้อย พอจะไปปล่อยสินเชื่อก็ปล่อยได้น้อยด้วย ส่วนแบ่งตลาดเราก็เลยเล็ก" ณฐกร อธิบาย

ปัจจุบันบค.ทั้งระบบคือ 12 แห่งมีทรัพย์สินรวมกันประมาณ 10,000 ล้านบาท และมีการปล่อยสินเชื่อทั้งระบบประมาณ 8,000 ล้านบาท ซึ่งน้อยมาก ทั้งระบบรวมกันยอดทรัพย์สินและการปล่อยสินเชื่อยังน้อยกว่าบริษัทเงินทุนขนาดเล็กเพียงแห่งเดียวเสียอีก

ณฐกร กล่าวว่า "แนวคิดเริ่มแรกของการก่อตั้ง บค.ขึ้นมาคือการให้ระดมเงินโดยการออกหุ้นกู้ และเอาหุ้นกู้นั้นไปลงทุนทำโครงการของบค.เอง แล้วให้เช่าซื้อกับประชาชน แต่ไปๆมาๆธุรกิจก็ผิดเพี้ยนไป เราออกหุ้นกู้ไม่ได้เพราะติดกฎหมายของก.ล.ต. ตามพ.ร.บ.ควรจะออกได้แต่ไปติดกฎหมายฉบับอื่น"

นี่เองคือสาเหตุที่ทำให้ บค.ไม่สามารถหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อนำมาแข่งขันกับสถาบันการเงินอื่นๆ ได้ ประกอบกับธุรกิจของ บค.ก็จำกัดอยู่เพียงแค่การให้สินเชื่อเพื่อการเคหะ และสินเชื่อเพื่อธุรกิจจัดสรรเท่านั้น ซึ่งธุรกิจเหล่านี้ทั้งธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนก็สามารถทำได้เช่นกัน ทั้งยังทำได้ดีกว่าเนื่องจากมีต้นทุนการเงินต่ำกว่าก็สามารถปล่อยกู้ได้ในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกกว่า และมีปริมาณเงินให้กู้อย่างเพียงพอ

ณฐกร อธิบายว่า "เราต้องสู้ดอกเบี้ยในอัตราที่สูง ปัจจุบันรับกันที่ 12.5% ถ้ารายใหญ่จริงๆ ก็ 13% แล้วอย่างนี้จะไปปล่อยที่ไหน ปริมาณปล่อยก็น้อย ค่าใช้จ่ายคงที่ก็สูง ค่าดำเนินงานในระบบธนาคารจะประมาณ 1% แต่ของบค.อาจจะ 2-3% ไปบวกกับต้นทุนก็เข้าไป 15-16% แล้ว นี่ยังไม่บวกกำไรเลย แค่ดอกเบี้ยก็ 15-16% เอาไปปล่อยสินเชื่อเคหะก็คงไม่มีใครรับ เพราะฉะนั้นสินเชื่อเคหะเราสู้ตลาดไม่ได้"

สิ่งที่ช่วยให้อยู่รอดได้ก็คือสินเชื่อเพื่อธุรกิจจัดสรร ซึ่งก็จะเป็นโครงการขนาดเล็ก แม้ บค. จะคิดอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างสูง แต่เนื่องจาก บค.มีขนาดเล็กมีเวลาในการบริหารสินเชื่อมาก บริการลูกค้าอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่ต้นจนจบ ทำให้มีลูกค้าเข้ามาใช้บริการอย่างสม่ำเสมอ

"เราเข้าไปช่วยลูกค้าถึงขนาดที่ว่าพิจารณาในการยื่นขอจัดสรรที่ดินลูกค้าเวลาติดปัญหาบางเรื่องเราจะเข้าไปช่วยแก้ไข พอดูแลใกล้ชิดมีปัญหาเราแก้ไขทันที ปัญหามันก็น้อย" ณฐกรกล่าว

เหตุที่ บค.ไม่สามารถปล่อยกู้โครงการขนาดใหญ่ได้เนื่องจาก บค.ไม่มีเงินมากพอที่จะมาปล่อยกู้ และยังติดปัญหาคือ บค.ไม่สามารถออกตั๋วอาวัลให้แก่ผู้ประกอบการได้ ลูกค้าจำเป็นต้องเบิกเป็นเงินสดซึ่งทำให้ลูกค้ามีภาระดอกเบี้ย

ความซ้ำซ้อนทางธุรกิจ และความเสียเปรียบนานาประการเหล่านี้ ไม่เคยได้รับการแก้ไขมาตั้งแต่อดีตและในอนาคต อันใกล้ก็ยังไม่มีวี่แววที่จะได้รับการแก้ไขสิ่งที่แบงก์ชาติเล็งเห็นก็คือธุรกิจนี้ยากที่จะเยียวยาเสียแล้ว ปรารถนาดีที่หยิบยื่นให้ในขณะนี้จึงมีแต่เพียงคำแนะนำให้ควบกับกิจการอื่น

ในอดีตสมัยที่ สุรเกียรติ์ เสถียรไทยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แบงก์ชาติเคยมีนโยบายที่จะให้บค. ควบกิจการระหว่างกัน เช่น 5 แห่งรวมกัน แล้วจะพิจารณาใบอนุญาตประกอบกิจการเงินทุนให้ทำให้ บค.ทั้งหลายมีความหวังกันขึ้นมา แต่ประเด็นนี้ก็ยังไม่สรุปจนเมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาลนโยบายนี้ก็ไม่มีการสานต่อ

"ผมตั้งคำถามว่าต้องการให้รวมกันเพราะอะไร แน่นอนก็คือความมั่งคงยกตัวอย่างการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่ ผู้ที่เข้ามาขอใบอนุญาตไม่เคยทำธนาคารมาก่อน ความมั่นคงมันกำหนดกันได้ คุณสมบัติขั้นต่ำ ทุนจดทะเบียน 7,5000 ล้านบาท ผู้ถือหุ้นใหญ่รวมกัน 25% และอื่นๆ จริง ๆ แล้วมันขึ้นอยู่กับนโยบายตรงนี้มากกว่า ผมเชื่อว่า บค. หลายแห่งรวมกันก็ไม่ทำให้แข็งแกร่งเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ แต่ถ้ากำหนดคุณสมบัติขั้นต่ำมาเลยว่า บค. 1 แห่งสามารถที่จะเป็นผู้นำในการจัดตั้งบริษัทเงินทุนแห่งใหม่ได้ โดย บง. แห่งใหม่ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง ทุนจดทะเบียนเท่าไหร่" ณฐกรกล่าว

เขาคิดว่านั่นคือหนทางหนึ่งที่จะอยู่รอดได้โดยไม่ต้องถูกกลืนด้วยการควบกับบริษัทขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามสมาคมการค้าผู้ประกอบการกิจการเครดิตฟองซิเอร์ได้ร่วมกันผลิตงานวิจัยเชิงวิชาการขึ้นมา โดยได้รับความร่วมมือจากอาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคาดว่างานวิจัยนี้จะเสร็จภายใน 2 เดือน

"รายงานนี้จะชี้ให้เห็นภาพของบค. อย่างชัดเจน ในมุมมองของนักวิชาการและข้อเสนอที่ว่าบค.จะมีทิศทางไปทางไหนได้บ้าง เอกสารนี้คงจะเสนอทางการซึ่งอาจจะเป็นแนวทางในการพัฒนาบค.ต่อไปได้ แต่ทางการจะรับข้อมูลตรงนั้นไปศึกษาเพิ่มเติมหรือไม่ก็อยู่ที่ทางการ"ณฐกรกล่าวสรุป

นั่นคืออีกหนึ่งความหวังของธุรกิจ บค. และทั้งหมดขึ้นอยู่กับความกรุณาของแบงก์ชาติ !!!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us