|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
แบงก์ชาติร่วมกับทีดีอาร์ไอ วิจัยโครงการผลักดันการ ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ แทนการใช้เงินสดและเช็ค เหตุมีความสะดวกรวดเร็ว เพื่อรองรับเศรษฐกิจมีความซับซ้อนมากขึ้น ระบุต้นปี 2549 แบงก์พาณิชย์จะขึ้นค่าธรรมเนียมในการใช้เช็ค และลดค่าธรรมเนียมการโอนเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็ม เผยอนาคตวางแผนจับมือกับประเทศในภูมิภาคอาเซียนโอนเงินข้ามประเทศ
วานนี้ (21 ธ.ค.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จัดสัมมนาระบบการชำระเงินประจำปี 2548 ในหัวข้อ "กลยุทธ์ส่งเสริมการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ทดแทนเช็คและเงินสด" ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ โดยมีนางสว่างจิตต์ จัยวัฒน์ รองผู้ว่าการด้านบริหาร ธปท. กล่าวเปิดงานสัมมนา
นางสว่างจิตต์ กล่าวว่า เงินสดและเช็คมีบทบาทสำคัญในฐานะสื่อกลางของการโอนเงินและการชำระเงินภายในประเทศมาก แต่สภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ได้เปลี่ยนไป เศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และมีความ ซับซ้อนมากขึ้น การโอนเงินและชำระเงินจึงต้องมีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น ดังนั้นกลยุทธ์ดังกล่าวจึงเป็นเป้าหมายสำคัญที่จะช่วยพัฒนาระบบชำระเงินในประเทศให้มีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้น ซึ่งการชำระเงินด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นช่องทางหนึ่งที่มีความสะดวกรวดเร็ว และมีค่าใช้จ่ายในการให้บริการที่ต่ำกว่าซึ่งเป็นการลดต้นทุนของประเทศ
"ตอนนี้ยังมีบางกลุ่มที่นิยมใช้เงินสดและเช็คกันอยู่มาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีปัญหาการขาดเอกสารที่ใช้รองรับการทำธุรกรรม เช่น ใบเสร็จรับเงิน ปัญหาค่าบริการที่ถูกมองว่าสูงเกินไป และผู้ใช้บริการบางส่วนเห็น ว่าการบริการอิเล็กทรอนิกส์ยังขาด ความสะดวกในการใช้งาน และไม่ สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้จริง รวมทั้งยังคุ้นเคยกับระบบการชำระเงินสดแบบเดิมๆ" นางสว่างจิตต์ กล่าว
ทั้งนี้การที่ ธปท.ต้องการส่งเสริมการใช้สื่อการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ทดแทนเงินสดและเช็ค จึงได้ร่วมกับสถาบันวิจัย เพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ทำการวิจัยโครงการดังกล่าวขึ้นเพื่อนำมาวางแผนและผลักดันให้มีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้มากขึ้น และเพื่อลดการใช้สื่อชำระเงินที่เป็นเช็คและเงินสดของประชาชน หน่วยธุรกิจ องค์กรภาครัฐ โดยสนับสนุนให้ใช้สื่ออื่นที่มีประสิทธิภาพมากกว่า โดยเฉพาะสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งเป็น การพัฒนาการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมการใช้สื่อทดแทนเงินสดและเช็ค
นายสายัณห์ ปริวัตร ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายระบบชำระเงิน ธปท.กล่าวว่า ในช่วงต้นปี 2549 ธนาคารพาณิชย์จะประกาศขึ้นค่าธรรมเนียมการใช้เช็ค โดยปัจจุบันนี้ค่าธรรมเนียมในการใช้เช็คจะอยู่ที่ 5 บาทต่อฉบับ ซึ่งการปรับขึ้นค่าธรรมเนียม เพื่อลดการใช้เช็คให้น้อยลง และเป็นการลดต้นทุนในการใช้เช็ค ขณะเดียวกันก็จะมีการลดค่าธรรมเนียมสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ลดค่าธรรมเนียมในการโอนเงินผ่านบัตรเอทีเอ็มระหว่างธนาคาร จากปัจจุบันนี้ที่ธนาคารพาณิชย์คิดค่าธรรมเนียมการโอนต่อรายการ 35 บาท ซึ่งคาดว่าจะสามารถลดค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บได้อีกเล็กน้อย
อีกทั้งจะมีการพัฒนา ระบบใหม่ที่เรียกว่า ITMX ในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2549 ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบมาจากระบบ ATM POOL เดิม เช่น การโอนเงินเดือน ซึ่งปัจจุบันจะต้องมีการเปิดบัญชีของธนาคารที่จะโอนเข้า แต่ต่อไปหากพัฒนาระบบนี้สำเร็จก็สามารถเปิดบัญชีกับธนาคารไหนก็ได้
นอกจากนี้ การพัฒนาระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในระยะต่อไป ประเทศไทยจะร่วมมือกับ ประเทศในแถบภูมิภาคอาเซียน หรือ Asian Pay ในด้านการโอนเงินข้ามประเทศ ซึ่งช่วงแรกจะเริ่มจาก 4 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย โดยจะเริ่มใช้บัตร เอทีเอ็มโอนเงินข้ามประเทศ ส่วนประเทศแรกที่ไทยจะเริ่มทดลองในต้นปีหน้า คือ มาเลเซีย ซึ่งคนไทยสามารถกดเงินจากบัตรเอทีเอ็มที่ประเทศมาเลเซียได้เลยโดยเงินออกมาเป็นสกุลท้องถิ่นริงกิต และใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ ขณะนั้น แต่เวลาตัดบัญชีจะคิดเป็นเงินบาทของไทย ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศ และหากทดลอง ใช้แล้วไม่มีปัญหา ก็จะขยายไปยังประเทศสิงคโปร์ต่อไป
"ไม่ห่วงว่าปัญหาแก๊งโจรกรรม บัตรเครดิตในประเทศมาเลเซีย จะมีปัญหาทางด้านความปลอดภัย เพราะในปีหน้ามาเลเซียจะเปลี่ยน บัตรเครดิตเป็นชิปการ์ดใหม่หมด ส่วนของค่าธรรมเนียมโอนเงินระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นคงไม่แพง มากนัก ถ้าเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายในการโอนเงินในประเทศเราเอง นายสายัณห์" กล่าว
นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจส่วนรวมและการกระจาย รายได้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ปัจจุบันธุรกิจและผู้บริโภคยังคงนิยมใช้เงินสดและเช็คในชำระเงินทำให้ต้นทุนการดำเนินการอยู่ในระดับสูง โดยข้อมูลการศึกษาการหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารในกรุงเทพฯ เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา พบว่า การสั่งจ่ายเช็คจากบัญชีแต่ละรายการเฉลี่ยต่อวันมีทั้งสิ้น 585,507 ใบต่อวัน ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่สูงมาก
|
|
|
|
|