Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2540
"หุ่นยนต์สมองกล"ยุคใหม่ในอุตสาหกรรมไทย             
 


   
search resources

ชิต เหล่าวัฒนา




งานนิทรรศการเทคโนโลยีเครื่องจักรอุตสาหกรรม หรืองานอินเตอร์แม็ค '97 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-11 พ.ค. 40 ได้จบสิ้นลงแล้วพร้อมกับความสำเร็จอย่างมาก แน่นอนว่าปีนี้การจัดงานใหญ่โตมโหฬารกว่าทุกปี และที่น่าสนใจไม่น้อยก็คือการเปิดงานด้วยหุ่นยนต์อัตโนมัติเป็นครั้งแรกในเมืองไทย แม้เจ้าหุ่นยนต์ตัวนี้จะมีรูปร่างแตกต่างไปจากที่หลาย ๆ คนจินตนาการกันไว้ กล่าวคือมันมีลักษณะคล้ายแขนขนาดใหญ่ข้างเดียวเท่านั้น แต่ลีลาความสามารถการเปิดงานครั้งนี้ก็ใช่ย่อยเลยทีเดียว

ปัจจุบันประเทศอุตสาหกรรมต่างๆ นิยมนำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเข้ามาในงานอุตสาหกรรมกันมาก สาเหตุหลักๆ ก็มาจากประสิทธิภาพในการทำงานเป็นเลิศ ความแม่นยำเที่ยงตรงที่เกินกว่ามนุษย์จะทำได้ เช่นการตัดวัตถุให้ได้ขนาด 1 ใน 1,000 นิ้วโดยไม่มีการผิดพลาดเป็นต้น นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดต้นทุน โดยเฉพาะต้นทุนด้านแรงงานเนื่องจากอัตราค่าแรงงานในประเทศเหล่านั้นแพงมาก ทั้งยังขาดแคลนแรงงานฝีมือในภาคอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมากอีกด้วย

ประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาดูจะเป็นต้นแบบในเรื่องนี้ เจ้าหุ่นยนต์หรือโรบอทถูกนำมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมแทบทุกชนิด และที่นิยมกันมากก็คือในอุตสาหกรรมรถยนต์ หุ่นยนต์เหล่านี้มีการควบคุมด้วยระบบสมองกล แม้มันจะทำงานหลายๆ อย่างได้ดีกว่ามนุษย์แต่ก็ยังมีอีกหลายอย่างที่ต้องพัฒนาปรับปรุงกันต่อไปอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่มันถูกสั่งให้ทำงานตามโปรแกรม ทำให้ขาดความยืดหยุ่นในการทำงาน และเรื่องของราคาอันแพงลิบลิ่วของมันจนทำให้ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในโรงงานขนาดเล็ก เพราะอาจจะทำให้ไม่คุ้มกับการลงทุนก็เป็นได้

ดร.ชิต เหล่าวัฒนา อาจารย์ประจำศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาหุ่นยนต์ภาคสนาม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านหุ่นยนต์ซึ่งมีอยู่เพียง 4-5 คนในเมืองไทย กล่าวแนะนำว่า การจะลงทุนซื้อหุ่นยนต์แต่ละตัวผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนในเรื่องของความคุ้มค่าและต้องวางแผนในระยะยาวนับ 10 ปี

"ควรมีการวางแผนระยะยาวเลยว่าต่อไปจะมีการขยายโรงงานหรือไม่อย่างไร เพื่อจะได้ซื้อหุ่นยนต์ที่สามารถรองรับการทำงานในอนาคตได้ด้วย เพราะหากจะซื้อมาทำเท่าที่ทำอยู่ พอมีการขยายงานแล้วก็ขายหุ่นยนต์ทิ้งแล้วซื้อตัวใหม่ ทำอย่างนี้อาจจะไม่คุ้ม" ดร.ชิตกล่าว

สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันมีโรงงาน 4-5 แห่งได้นำหุ่นยนต์เข้ามาใช้ในงานอุตสาหกรรมบ้างแล้ว เช่น โรงงานผลิตเม็ดพลาสติกของบริษัท ทีพีไอ จำกัด (มหาชน) ที่ จ.ระยอง โรงงานของบริษัทมินีแบ จำกัด ที่บางปะอิน จ.อยุธยา และในเร็วๆ นี้โรงงานประกอบรถยนต์ซึ่งฟอร์ดร่วมทุนกับมาสด้า ก็จะมีการติดตั้งหุ่นยนต์ประมาณ 30 ตัว

ประชากรหุ่นยนต์กำลังตบเท้ากันเข้ามาในเมืองไทย พร้อมๆ กับการเข้ามาลงทุนของต่างชาติ และพัฒนาการทางอุตสาหกรรมของประเทศ

ดร.ชิต ให้ความเห็นว่าการนำหุ่นยนต์มาใช้ในงานอุตสาหกรรมนั้นเป็นผลดีอย่างแน่นอนในเรื่องของประสิทธิภาพของงาน ความเที่ยงตรงและลดต้นทุน อย่างไรก็ตามสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากๆ ก็คือหุ่นยนต์แต่ละตัวราคาจะแพงมาก ผู้ประกอบการควรจะศึกษารายละเอียดว่าต้องการหุ่นยนต์มาทำอะไรบ้าง เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ และบางทีก็ต้องมีการดัดแปลงให้เข้ากับความต้องการใช้งาน ซึ่งจะทำให้ต้นทุนของหุ่นยนต์สูงขึ้นไปกว่าที่ใช้ในสหรัฐฯ หรือญี่ปุ่นอีก 1-3 เท่า เพราะจำเป็นต้องจ้างบริษัทต่างประเทศมาจัดการดัดแปลงปรับเปลี่ยนให้ หากคนไทยสามารถออกแบบ ผลิตและดัดแปลงหุ่นยนต์เพื่อนำมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมได้เอง จะประหยัดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ลงไปได้อย่างมหาศาล ทั้งยังจะได้ใช้ประโยชน์จากหุ่นยนต์อย่างเต็มที่

"อย่างเช่นการกินอาหาร หากเราเข้าไปสั่งอาหารในร้านพอกินแล้วไม่ถูกปากเราก็ได้แต่บ่น แต่หากเราทำอาหารได้เอง ชอบรสชาติอย่างไรก็ทำเองปรุงเอง มันก็ถูกปากมากกว่า" ดร.ชิตยกตัวอย่าง

ดังนี้แล้วสิ่งสำคัญคือ การสร้างบุคลากรขึ้นมา นักออกแบบ นักประดิษฐ์สิ่งต่างๆ มีการทำวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพดีขึ้นเรื่อยๆ ในต้นทุนที่ถูกลง ซึ่งในขณะนี้มีหลายอุตสาหกรรมได้เล็งเห็นความสำคัญและลงทุนสนับสนุนการวิจัยและพัฒนากันมากขึ้น

"ปัจจุบันโรงงานของไทยที่นำหุ่นยนต์เข้ามาใช้ส่วนมากยังใช้งานไม่เหมาะสมกับความต้องการ และเมื่อมีปัญหาบริษัทผู้ขายจะไม่ค่อยติดตามแก้ไข สิ่งเหล่านี้ต่อไปอาจจะทำให้ผู้ประกอบการรู้สึกว่าการลงทุนซื้อหุ่นยนต์ราคาแพงๆ มาใช้นั้นไม่คุ้ม และยุ่งยาก ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ประกอบการไม่ต้องการซื้อหุ่นยนต์มาใช้อีก" ดร.ชิตกล่าว

พร้อมแนะนำไปยังผู้นำเข้าหุ่นยนต์มาขายในไทยว่า หากผู้ขายมีการให้รายละเอียดแก่ผู้ซื้ออย่างครบถ้วน ดูแลให้บริการหลังการขายให้มาก จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ เพราะผู้ซื้อเองอาจจะไม่มีความเข้าใจในการใช้หุ่นยนต์มากนัก และไม่ทราบว่าจะต้องใช้หุ่นยนต์แบบใดจึงจะเหมาะสมกับความต้องการมากที่สุด ดังนั้นความแพร่หลายในการใช้หุ่นยนต์ในไทย ส่วนสำคัญน่าจะมาจากการที่ผู้ขายพยายามสร้างทัศนคติที่ดีต่อหุ่นยนต์ให้เกิดขึ้นในหมู่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us