Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน22 ธันวาคม 2548
ตลท.ส่งซิกบล.บลจ.เพิมทุน โบรกฯ/กองทุนชี้ยังไม่จำเป็น             
 


   
www resources

โฮมเพจ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

   
search resources

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
กิตติรัตน์ ณ ระนอง
Stock Exchange




ตลท.ตอกย้ำ บล.-บลจ. ควรเพิ่มทุนจดทะเบียนรองรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตหลังหารือ ก.ล.ต. สมาคมโบรกเกอร์ เห็นด้วยในเบื้องต้น หวังเห็นให้นำเข้าแผนพัฒนา ตลาดทุนไทย ย้ำโบรกเกอร์เร่งสร้างความพร้อมไม่ใช่มองแค่เรื่องหั่นราคาเท่านั้น ด้านผู้บริหาร บล.-บลจ.มองสวนทางยังไม่เห็นความจำเป็นต้องเพิ่มทุน ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทฯ

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ปริมาณธุรกิจในอนาคตในส่วนของตลาดทุนจะเพิ่มขึ้น มูลค่าตลาด รวม(มาร์เกตแคป) จะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยในช่วง 5 ปีข้างหน้า การเติบโตของตลาดตราสารหนี้ การเพิ่มของจำนวนตราสารหนี้ ทั้งในภาคเอกชนและรัฐบาลจะสูงขึ้น

ทั้งนี้ ในเบื้องต้นตลาดหลักทรัพย์ สำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ ได้มีการหารือในแนวทางเพื่อรองรับความเสี่ยงของธุรกิจในอนาคต โดยในเบื้องต้นมีแนวคิดในทิศทางเดียว กัน คือ ควรที่จะให้บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทหลักทรัพย์จัด การกองทุนเพิ่มขนาดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำให้สูงขึ้น โดยปัจจุบันทุนจดทะเบียนขั้นต่ำของบริษัทหลักทรัพย์(บล.)อยู่ที่ 200 ล้านบาท และทุนจดทะเบียนขั้นต่ำของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อยู่ที่ 100 ล้านบาท

"เป็นการเสนอแนวทางเบื้องต้นเท่านั้น ที่โบรกเกอร์ควรจะมีทุน จดทะเบียนเพิ่มขึ้น และผมหวังว่าเรื่องนี้จะถูกดันเข้าในแผนพัฒนาตลาดทุนไทย" นายกิตติรัตน์กล่าว

ในส่วนของการเสนอในเรื่องดังกล่าวหวังว่าจะมีการนำเรื่องนี้เสนอเข้าไปในแผนพัฒนาตลาดทุนไทยฉบับที่ 2 ที่จะมีการใช้ในช่วง 5 ปีข้างหน้า โดยขณะนี้การจัดทำแผนพัฒนาตลาดทนไทยอยู่ระหว่างการศึกษา และรวบรวมผลการศึกษาซึ่งจะออกเป็นแผนเพื่อที่จะให้มีผลเริ่มใช้ทันในต้นปี 2549

สำหรับแนวทางในการกำหนดขั้นต่ำของทุน จดทะเบียน เช่น บริษัทหลักทรัพย์ที่จะดำเนินธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งอาจจะมีการกำหนดที่ระดับสูงกว่าขั้นต่ำเดิม ขณะที่หากจะดำเนินธุรกิจแบบครบวงจรการกำหนดอัตราขั้นต่ำก็จะเป็นอีก ระดับ ซึ่งการปรับที่จะเห็นผลกับการเปลี่ยน แปลงในอนาคต คือ การปรับที่สูงกว่าระดับที่คาดว่าจะมีการเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในเรื่องดังกล่าวอาจจะมีบริษัทบางแห่งที่ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดเนื่องจากบางบริษัทมีขนาดเล็ก การกำหนดมาตรการบางอย่างออกมาจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อบริษัท

นายกิตติรัตน์ กล่าวอีกว่า ในความคิดเห็น ส่วนตัว หากเป็นผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ ในตอนนี้จะเริ่มคิดแล้วว่าจะดำเนินการในเรื่องการเพิ่มทุนของบริษัทอย่างไร อาจจะเป็นการเข้าระดม ทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือจะต้องควบรวมกิจการระหว่างกิจการ โดยจะต้องมีการทบทวนความพร้อมและศักยภาพในการดำเนินธุรกิจของบริษัทแต่ละแห่งด้วย

ทั้งนี้ ความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะประเภทใดก็จะมีความเสี่ยงที่ต่างกัน เช่นในธุรกิจนายหน้าค้าหลักทรัพย์ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดจากการชำระราคา การเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน การเป็นแกนนำรับประกันการจัดจำหน่ายหุ้น เป็นต้น การสร้างความน่าเชื่อถือในภาพลักษณ์ของบริษัทถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ ส่วนทุนที่เพิ่มมากขึ้น และความเข้มแข็งในธุรกิจจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น

"โบรกเกอร์ควรเตรียมความพร้อมกับปริมาณธุรกิจที่จะเพิ่มมาขึ้นในอนาคต อย่ามัวเตรียมการที่จะหั่นราคาค่าธรรมเนียมเท่านั้น" นายกิตติรัตน์กล่าว

นอกจากนี้ เรื่องการเพิ่มเงินลงทุนของบริษัท หลักทรัพย์เพื่อเพิ่มและอำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนเป็นสิ่งที่ควรจะเกิดขึ้น เช่น การเพิ่ม จำนวนจุดให้บริการในสถานที่สำคัญต่างๆ

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าตลาดทุนไทยไม่ได้อยู่ ในสถานการณ์ที่มีความจำเป็นที่จำนวนบริษัทหลักทรัพย์จะต้องมีจำนวนลดลง เนื่องจากปริมาณธุรกิจที่จะมากขึ้นในอนาคต

นายเกษมสิทธิ์ ปฐมศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่ บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด เปิดเผยว่า การเพิ่มทุนของบริษัทหลักทรัพย์นั้น ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของแต่ละบริษัท เพราะบางบริษัทเป็นบริษัทหลักทรัพย์ขนาดเล็ก และเป็นโบรกเกอร์ในลักษณะดิสเคานต์์โบรกเกอร์ มีกลุ่มลูกค้าเป้า หมายที่ชัดเจน ดังนั้นบริษัทหลักทรัพย์เหล่านี้ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มทุน เพราะถ้ามีการ เพิ่มทุนจำนวนมาก ก็อาจจะทำให้บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าว อาจจะส่งผลทำให้มีเงินทุนที่มาก เกินไป และทำให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องพยายามหาทางบริหารเงินเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่ดี โดยไปทำธุรกิจที่มีความเสี่ยงมากขึ้นก็ได้

ปัจจุบันนี้ บริษัทหลักทรัพย์จะถูกควบคุมให้มีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง(NCR)ให้ได้ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)ได้กำหนดไว้ ซึ่งถือว่าเป็นแนวทางที่ดีอยู่แล้ว

นายสรรเสริญ นิลรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บีที จำกัดเปิดเผยว่า ขึ้นอยู่กับแผนการขยายงานของบริษัทหลักทรัพย์บางราย ซึ่งถ้าเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่มีแผนจะขยายธุรกิจอย่างมากในอนาคต เช่นในธุรกิจตลาดอนุพันธ์,ตราสารหนี้และเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นผู้จัดจำหน่าย และรับประกันการจำหน่ายหุ้นขนาดใหญ่หลายบริษัท อาจจะจำเป็นที่จะต้องเพิ่มทุนให้มากขึ้นเพื่อมา รองรับ แต่ถ้าเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ไม่ได้มุ่งขยายงานเพิ่มขึ้นมากนั้น ก็อาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องเพิ่มทุนก็ได้

แหล่งข่าวจากบริษัทจัดการกองทุนรายหนึ่ง เปิดเผยว่า บลจ.คงยังไม่มีความจำเป็นในการเพิ่มทุนในขณะนี้ เนื่องจากบลจ.ไม่ใช่ธุรกิจที่ต้อง การใส่เงินทุนเข้าไป แต่เป็นธุรกิจที่ใช้เงินมากกว่า ซึ่งขณะนี้ในเรื่องของคนก็ไม่ได้ขาดแคลนจนถึงขั้นต้องเพิ่มทุนเพื่อหาคนเข้ามาเพิ่ม และจากผลกำไรที่เกิดขึ้นก็เพียงพอแล้ว นอกจากนี้ การดำเนินธุรกิจของบลจ. เงินของผู้ถือหน่วยลงทุนไม่ได้อยู่ที่ตัวบลจ. แต่อยู่ที่ผู้รับฝากทรัพย์สินที่เป็นธนาคารพาณิชย์ จะดีหรือไม่ดีก็เงินก็อยู่ตรง นั้น บลจ.เข้าไปแตะไม่ได้ ในขณะที่บลจ.เอง ก็มี การทำประกันในกรณีเกิดความผิดผลาดขึ้นด้วย

นายมาริษ ท่าราบ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวคงต้องพิจารณาจากความต้องการของแต่ละบริษัทมากกว่า ซึ่งในส่วนของบลจ.เอง มองว่ายังไม่มีความจำเป็น โดยสำนักงานก.ล.ต.ก็มีการกำหนด ชัดเจนอยู่แล้วว่าไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ทั้งนี้ธุรกิจ บลจ.เป็นธุรกิจที่ไม่ต้องใช้เงินในการลงทุน มากนัก แต่เป็นธุรกิจที่ใช้คนมากกว่า ซึ่งในการบริหารจัดการบางแห่งก็มีการประกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย

"ถ้าต้องเพิ่มทุน คงต้องดูว่าเรามีความต้อง การแค่ไหน เพราะถ้าไม่มีความจำเป็นในการใช้เงิน หากเพิ่มทุนขึ้นมาก็ไม่มีประโยชน์อะไร ซึ่งที่ผ่านมาธุรกิจบลจ.เอง ก็มีกำไรจากการดำเนินธุรกิจติดต่อกันมาอย่างต่อเนื่อง เราเองก็เพิ่มทุน ไปแล้วในช่วงกลางปีจาก 100 ล้านบาทเป็น 200 ล้านบาท" นายมาริษกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us