|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ทีทีแอนด์ทีใช้บริษัท Triple T broadband ขอไลเซนส์บริการโทรศัพท์พื้นฐานและ บรอดแบนด์ กทช. จำนวน 5 แสนเลขหมาย หวังบุกตลาดกรุงเทพฯ ต่อยอดเครือข่ายที่ครอบคลุมไม่ถึง และสนองตลาดบรอดแบนด์ที่เติบโตสูง โดยใช้เงิน 2 พันล้านลงทุนขยายบริการ
นายประจวบ ตันตินนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีทีแอนด์ที กล่าวว่า ได้ยื่นขอใบอนุญาต ให้บริการโทรคมนาคมประเภท 3 หรือมีโครงข่ายเป็น ของตัวเองภายใต้ชื่อบริษัท Triple T broadband ทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท เพื่อให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน จำนวนเบื้องต้นประมาณ 5 แสนเลขหมาย บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงหรือบรอดแบนด์ โดย มีแผนจะให้บริการในกรุงเทพฯ ด้วยเทคโนโลยี NGN หรือ Next Generation Network ซึ่งคาดว่าคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) จะพิจารณาออกใบอนุญาตให้เดือนม.ค.2549
"บริษัทนี้ไม่จำเป็นต้องมีพาร์ตเนอร์ไม่ว่าจะเพื่อเทคโนโลยีหรือเพื่อเงินทุน เนื่องจากปัจจุบันต้นทุนต่อเลขหมายในระบบ NGN ลดลงมาก"
นอกจากนี้ ทีทีแอนด์ที ยังจัดตั้งบริษัท Triple T Global เพื่อเตรียมยื่นขอใบอนุญาตให้บริการอินเตอร์เนชั่นแนล เกตเวย์ ซึ่งสามารถให้บริการทั้งวอยซ์และดาต้า หรือบริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศและบริการด้านอินเทอร์เน็ต รวมทั้งบริษัทยังจัดตั้งบริษัท Triple Telecom เพื่อทำธุรกิจด้านการให้บริการ System Integration
เป้าหมายของทีทีแอนด์ทีในปีหน้า คือมุ่งเน้นให้บริการบรอดแบนด์ โดยมีแผนที่จะลงทุน 2 พันล้านบาทและหวังที่จะมีลูกค้าประมาณ 3 แสนพอร์ต จากปัจจุบันที่มีลูกค้าใช้บริการประมาณ 7-8 หมื่นรายโดยเป็นลูกค้าของแม็กซ์เน็ตภายใต้บริษัท TT&T Subscriber service ที่เป็นบริษัทลูกของทีทีแอนด์ที และได้ไลเซนส์ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ไอเอสพี) ประเภทที่ 1 หรือไม่มีโครงข่ายเป็นของตัวเอง ประมาณ 5 หมื่นราย ที่เหลือเป็นไอเอสพีอื่นๆที่มาใช้โครงข่ายทีทีแอนด์ที
"ลูกค้า 5 หมื่นรายของเราใช้เวลาแค่ 6 เดือนเท่านั้น ซึ่งตลาดยังมีโอกาสอีกมาก โดยปีหน้าเราคาดว่ารายได้จากบรอดแบนด์จะอยู่ในระดับพันล้านบาทหรือประมาณ 15% ของรายได้รวมทีทีแอนด์ทีที่เฉลี่ยประมาณ 7 พันล้านบาท"
สำหรับแผนการให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน 5 แสนเลขหมายใหม่นั้น Triple T Broadband มีแผนที่จะให้บริการในกรุงเทพฯ ในสัดส่วนเบื้องต้น 30/70 คือยังให้ความสำคัญตลาดต่างจังหวัดมากกว่า ในกรุงเทพฯ เนื่องจากเป็นฐานธุรกิจของทีทีแอนด์ที นอกจากนี้ ค่าบริการของบริษัทใหม่ยังน่าจะจูงใจมากกว่า เพราะต้นทุนในเรื่องใบอนุญาตต่ำกว่าทีทีแอนด์ทีที่สูงถึง 43.1%
นายประจวบกล่าวว่า Triple T Broadband หากเสียค่าธรรมเนียมตามไลเซนส์ใหม่ของกทช.จะตกประมาณไม่เกิน 10% ของรายได้ โดยเสียค่าใบอนุญาต 3% ค่า USO 4% และค่าเลขหมายปีละ 12 บาท ซึ่งคิดอย่างไรก็ยังต่ำกว่าทีทีแอนด์ทีอยู่ดี ซึ่งในอนาคตหากลูกค้าจะไหลมายังบริษัทดังกล่าว เนื่องจากค่าบริการจูงใจหรือมีบริการที่หลากหลายก็เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทต้องพยายามไม่ให้มีผลกระทบกับบริษัท ทีโอที ซึ่งเป็นคู่สัญญาร่วมการงาน
สำหรับต้นทุนค่าธรรมเนียม กทช.ของ Triple T Broadband ยังขึ้นอยู่กับแผนธุรกิจของบริษัทด้วย หากต้องการหาฐานลูกค้าจำนวนมากก็อาจต้องจ่าย ค่า USO เต็ม 4% แต่หากเลือกลงทุนให้บริการในพื้นที่ซึ่ง กทช.กำหนดเป็น USO ก็สามารถนำมาหักลดหย่อนค่าธรรมเนียมลงให้ต่ำกว่า 4% ได้อีก อย่างเช่น ในภาคเหนือที่บริษัทพร้อมลงทุนให้บริการในพื้นที่เป็น USO นอกจากนี้ในกรุงเทพฯ บางพื้นที่ยังถือเป็น USO ด้วยเนื่องจากไม่มีบริการพื้นฐานเข้าถึง
ส่วนความคืบหน้าในการทดสอบบริการ Wi-Max ยังอยู่ระหว่างรอการพิจารณาของ กทช. เนื่องจาก กทช.เกรงว่าหากให้ Wi-Max ทดสอบแล้วบริการ 3G ก็ควรให้ทดสอบเช่นเดียวกัน เนื่องจากทั้ง 2 บริการต้องอาศัยความถี่เหมือนกัน เพียงแต่ Wi-Max ใช้ย่านความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ ที่ได้มีการกันย่านความถี่นี้ไว้แล้ว น่าจะมีปัญหาน้อยกว่า 3G โดยที่ความคาดหวังของการทดสอบ Wi-Max ก็เพื่อต้องการให้รู้ถึงข้อบกพร่องของเทคโนโลยีนี้ที่สามารถให้บริการได้ทั้งบรอดแบนด์ และโทรศัพท์มือถือ ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยี Wi-Max ยังไม่นิ่งและยังไม่มีการให้บริการเชิงพาณิชย์ ทั้งนี้บริษัทจะทดสอบ Wi-Max ใน 3 พื้นที่คือภาคใต้ ภาคตะวันตกและภาคเหนือ
"หาก Wi-Max ทำงานได้ดีจริงในประเด็น Mobility ก็จะเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวสำหรับโอเปอเรเตอร์ โทรศัพท์มือถือ แต่ยังต้องใช้เวลารอให้เทคโนโลยีนิ่งเสียก่อน แต่ปีหน้าสิ่งที่จะเห็นชัดเชิงพาณิชย์คือบรอดแบนด์ที่เราบุกต่างจังหวัดและกรุงเทพฯ ทันทีที่ได้ไลเซนส์จากกทช."
|
|
|
|
|