Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน21 ธันวาคม 2548
ฟินันซ่าขย่มตลาดกองทุนFIF ปีหน้าลงทุนสินค้าคอมมอดิตี้             
 


   
search resources

Funds
ฟินันซ่า, บลจ.




เปิดแผนบลจ.ฟินันซ่า ปีหน้าเตรียมลุยกองทุนต่างประเทศ (FIF) ที่ลงทุนในสินค้าคอมมอดิตี้ สำหรับกองทุนใหม่ในประเทศเผย ยังไม่จำเป็น ระบุกองทุนที่มีครอบคลุมอยู่แล้ว พร้อมประเมินธุรกิจกองทุนรวมปีจอ ไม่มีผลกระทบจากการขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากของแบงก์ เหตุยังมีส่วนต่าง ชี้ต่อให้ขึ้นมาอีก 2-3% ยังเอาชนะเงินเฟ้อ 6% ไม่ได้

นายธีระ ภู่ตระกูล ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ฟินันซ่า จำกัด เปิดเผยถึงแผนการดำเนินงานของบริษัทว่า ในปีหน้าบริษัทจะเน้นการนำเสนอกองทุนที่มีความหลากหลายมากขึ้นให้แก่ผู้ลงทุน โดยเฉพาะกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ (FIF) ที่ทิ้งไม่ได้ ซึ่งบริษัทจะเลือกลงทุนในสินทรัพย์ให้ครอบคลุมการลงทุน โดยจะเน้นลงทุนในสินค้าประเภทสินค้าพื้นฐาน (คอมมอดิตี้) ทั้ง น้ำมัน ทองคำ โลหะมีค่า สินค้าเกษตรล่วงหน้า รวมถึงสินค้าที่เป็นคอมมอดิตี้ประเภทอื่นๆ ด้วย

โดยลักษณะของกองทุนนั้น ในเบื้องต้นจะเป็นการลงทุนในรูปแบบของ Fund of Fund ซึ่งจะเลือกกองทุนในต่างประเทศที่ลงทุนในสินค้าคอมมอดิตี้ที่มีความหลากหลายของสินค้า โดยจะไม่เฉพาะเจาะจงในสินค้าประเภทใดประเภทหนึ่ง

สำหรับกองทุนประเภทอื่นนั้น นายธีระกล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทมีกองทุนที่ครบและครอบคลุมอยู่แล้ว ยังไม่จำเป็นต้องเปิดกองทุนใหม่ ทั้งกองทุนหุ้น กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) โดยปัจจุบันบริษัทมีกองทุนภายใต้การบริหารทั้งหมด 4 กองทุน คือ กองทุนเปิดฟินันซ่า SET 50 ปันผล พลัส ที่เน้นลงทุนในหุ้นดัชนี SET 50 ซึ่งถือว่าครอบคลุมหุ้นขนาดใหญ่ที่อยู่ในตลาดหุ้นไทยอยู่แล้ว กองทุนเปิดฟินันซ่า SET 50 หุ้นระยะยาว และกองทุนเปิดแบบผสมฟินันซ่าเพื่อการเลี้ยงชีพ รวมทั้งกองทุนเปิดหน่วยลงทุนฟินันซ่า โกลบอล อโลเคชั่น กองทุน FIF ที่ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน UBS Global Allocation Fund (USD) ซึ่งมีนโยบายลงทุนในตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ทั่วโลก นอกจากนี้ ยังจะเน้นขาย กองทุนให้บลจ.อื่นๆ ที่ทำอยู่แล้วด้วย
ทั้งนี้ ปัจจุบัน บลจ.ฟินันซ่ามีสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร (เอ็นเอวี) สำหรับกองทุนรวมอยู่ที่ 1,149 ล้านบาท โดยมีส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เกตแชร์) อยู่ที่ 0.13%

นายธีระ กล่าวถึงแนวโน้มธุรกิจกองทุนรวมว่า การที่สภาพคล่องในระบบธนาคารลดลงจนทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องขยับดอกเบี้ยขึ้นไปนั้น คงไม่มีผลให้เงินไหลกลับไปอยู่ในเงินฝากอีกครั้ง เนื่องจาก หากเปรียบเทียบระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก และอัตราดอกเบี้ยของตราสารหนี้แล้วยังห่างกันพอสมควร อีกทั้งการลงทุนในกองทุนรวมเองก็ได้รับผลตอบแทนที่ยังสูงกว่า โดยเฉพาะกองทุนหุ้น ซึ่งตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมากองทุนหุ้นที่มีผลการดำเนินงานดีที่สุด ให้ผลตอบแทนจากการลงทุนถึง 19%

อย่างไรก็ตาม สำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารที่เพิ่มขึ้น และต่อให้ขยับขึ้นอีก 2-3% แต่หากเปรียบเทียบกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงถึง 6% แล้ว ยังไม่ชนะอัตราเงินเฟ้อในระดับดังกล่าว เรียกได้ว่าแค่จมูกพ้นน้ำเท่านั้น นอกจากนี้ ถึงแม้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากจะขยับขึ้น ในส่วนของตราสารหนี้ก็ขยับขึ้นตามไปด้วย ซึ่งในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยสำหรับหุ้นกู้อายุ 2 ปี อยู่ที่ 6% ซึ่งก็เท่ากับเงินเฟ้อ ในขณะที่พันธบัตรอายุ 1 ปี ก็ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 4.3% ต่อปี

สำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า คาดการณ์ได้ลำบาก แต่จากการปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ถือว่าเยอะพอสมควรแล้ว ซึ่งในการพิจารณาคงจะต้องดูถึงอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศโดยเฉพาะดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ด้วย ทั้งนี้ คาดว่าอัตราดอกเบี้ยในประเทศน่าจะถึงจุดสูงสุดในช่วงกลางปีไปถนถึงปลายปีหน้า เนื่องจากสภาพคล่องในระบบธนาคารเองก็ยังคงเหลืออยู่จำนวนหนึ่ง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us