|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ACAP เดินหน้าบริหารหนี้วงเงินกว่า 2 พันล้านบาท หลังธนาคารสแตนดาร์ด เมอร์ชานท์ (เอเชีย) หนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ ชนะการประมูลหนี้แบงก์ไทยพาณิชย์ คาดปีหน้าประมูลอีก 4-5 กอง ส่วนที่ปรึกษาฯ จะมีต่อเนื่อง มั่นใจปีหน้าผลงานเติบโตก้าวกระโดด
นายวิวัฒน์ วิฑูรย์เธียร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอแคป แอ๊ดไวเซอรี่ จำกัด (มหาชน) (ACAP) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้รับบริหารหนี้ของธนาคารไทยพาณิชย์ ที่ขายหนี้ออกมา มูลค่ากว่า 2 พันล้านบาท จากหนี้ทั้งหมดของไทยพาณิชย์ที่มีอยู่ 13,000 ล้านบาท โดยธนาคารสแตนดาร์ด เมอร์ชานท์ (เอเชีย) ซึ่งเป็นพันธมิตร และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่สัดส่วน 5% ใน ACAP ได้ชนะการประมูลหนี้ล็อตนี้
นายวิวัฒน์กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ในช่วงปลายปี 48 หรือช่วง 2 เดือนสุดท้ายนี้พบว่ามีธนาคารหลายแห่งตลอดจนสถาบันการเงิน ได้เริ่มที่จะมีแผนขายมูลหนี้รายย่อยออกมาแล้ว เว้นแต่หนี้รายใหญ่ที่ส่วนใหญ่แบงก์ ต่างก็ต้องบริหารเอง เนื่องจากการบริหารลูกหนี้รายย่อยทำยากและซับซ้อนมากกว่ารายใหญ่ ล่าสุดคือธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ที่กำลังจะขายหนี้ออกมาอีก ส่วนบรรษัทบริหารสินทรัพย์ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่ตั้งขึ้นมาเท่านั้นที่ไม่มีนโยบายขายหนี้ออกมา
ปัจจุบัน ACAP มีหนี้ในมือ ที่อยู่ได้งานมาแล้ว 33,000 ล้านบาท หรือ 5% ของมูลหนี้รวมส่วนใหญ่ เป็นหนี้ของรายเล็ก ที่มีเม็ดเงินราย ละประมาณ 3-4 ล้านบาท ขณะที่มูลหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) มีประมาณ 6 แสนล้านบาท และเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ต้องการลด NPL เหลือประมาณ 2% ในกลางปี 49 ซึ่งก็จะส่งผลดีต่อ ACAP เป็นเพราะหมายถึงมูลหนี้ที่อยู่ในระบบต้องถูกนำออกมาเปิดประมูลมากขึ้นด้วย ซึ่งขณะนี้บริษัทกำลังยื่นประมูลอีก 4-5 กอง
นอกจากงานบริหารหนี้แล้ว ACAP ยังมีธุรกิจที่ปรึกษาการเงินด้วย โดยล่าสุดดำเนินการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ ซึ่งยื่นไฟลิ่งให้ไปแล้ว 2 แห่งคือ บริษัท ไทย ออพติคอล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอเชียน ไฟย์โตซูติคอลล์ จำกัด (มหาชน) แล้ว คาดว่าจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ปี 49 และยังมีแห่งหนึ่งที่ทำธุรกิจด้านเคมีคอลเช่นกัน
นายวิวัฒน์กล่าวถึงผลการดำเนินงานไตรมาสสุดท้ายปีนี้ว่า รายได้และกำไรน่าจะดีกว่าไตรมาส 3 ปี 47 ที่มีรายได้ 79 ล้านบาท กำไร 18 ล้านบาท เพราะเป็นเงินที่บริษัทจะทยอยเรียกเก็บจากลูกหนี้ช่วงปลายปี ซึ่งเป็นรายได้หลักที่มาจากการบริหารหนี้ ซึ่งงวด 9 เดือนปีนี้พบว่ามีรายได้ประมาณ 200 ล้านบาทและมีกำไรสุทธิ 32 ล้านบาท และเชื่อว่าการเติบโตแบบก้าวกระโดดต่อเนื่องเหมือนที่ผ่านมา
ทั้งนี้ นายวิวัฒน์ วิฑูรย์เธียร กรรมการผู้จัดการ ACAP ยังแจ้ง ต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ อีกว่าตนได้รับการรับโอนหุ้นจำนวนดังกล่าวมาจากภรรยาและบุตร เพื่อให้การถือหุ้นรวมเป็นก้อนเดียวกัน โดยการโอนหุ้นดังกล่าวไม่ได้มีนัยสำคัญ และไม่ได้โอนไปให้บุคคลอื่นแต่อย่างใด ซึ่งรับโอนมาหลังจากขายหุ้น IPO แล้ว ส่งผลให้ปัจจุบันนายวิวัฒน์ ถือหุ้น ACAP เป็น 60.84%
นายชำนาญ สุดดี รองประธานอาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ด เมอร์ชานท์ (เอเชีย) ในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับสาม ของ ACAP เปิดเผยว่า ทางธนาคารได้มีแผนที่จะเข้าประมูลหนี้ที่สถาบันการเงินทุกแห่งในประเทศไทยนำออกมาประมูล รวมทั้งหนี้ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTB) จะทยอยนำออกมาประมูลในต้นปี 2549 ล็อตละประมาณ 30,000 ล้านบาท หลังจากล่าสุดธนาคารสามารถชนะการประมูลหนี้ ของธนาคารไทยพาณิชย์ มูลค่าประมาณ 2,000 ล้านบาท โดยหนี้ที่ธนาคารสามารถประมูลได้จะนำมาให้บริษัท เอแคป บริหารจัดการ โดยธนาคารมีเงินกองทุนประมาณ 600 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับซื้อหนี้ NPL ในตลาดเกิดใหม่แถบภูมิภาคเอเชีย เช่น ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย มาบริหาร
สำหรับการเข้าถือหุ้นใน ACAP ผ่านการซื้อเมื่อ IPO เพราะมองเห็นศักยภาพและความสามารถในการบริหารหนี้ โดยเฉพาะหนี้รายย่อย และธนาคารเอง ก็มองถึงการลงทุนที่ต่อเนื่องในอนาคตด้วย เพราะการเข้ามาเป็นพันธมิตรในการบริหารงาน ถือเป็นการเข้ามาลงทุนในไทยเป็นก้าวแรก ก่อนที่จะมองช่องทางการ ลงทุนในวันหน้า
"เราซื้อตอน IPO ที่ราคาหุ้นละ 7 บาท และหากมีโอกาสข้างหน้าเราก็ต้องการเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นเพิ่มขึ้นด้วย แต่ไม่ใช่การ เทกโอเวอร์กิจการ เพราะเรามองเห็นศักยภาพของ ACAP ที่มีทีมงานมีฝีมือและชำนาญในการบริหารหนี้รายย่อย ซึ่งในอนาคตเราคงต้องให้ ACAP ไปบริหารหนี้รายย่อยในประเทศแถบเอเชียด้วย" นายชำนาญกล่าว
เพราะการเป็นพันธมิตรและถือหุ้น ย่อมดีกว่าการเข้ามาตั้งสาขาเอง เพราะหากตั้งสาขาการลงทุนต้องใช้เม็ดเงินสูงในการประมูลและบริหารหนี้ แต่เมื่อมี ACAP ที่ชำนาญในการบริหารและติดตามหนี้อยู่แล้ว สแตนดาร์ดฯ เข้าไปบิดงานมา หรือบางงานอาจจับมือกันเพื่อร่วมประมูลงาน หลังจากได้งานมาแล้วก็จะให้ ACAP บริหาร ซึ่งเป็นการได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
|
|
|
|
|