Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการายสัปดาห์19 ธันวาคม 2548
สยามพารากอน สึนามิค้าแห่งศูนย์การค้า             
โดย ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย
 


   
www resources

โฮมเพจ สยามพารากอน

   
search resources

สยามพารากอน ดิเวลลอปเม้นท์, บจก.
Shopping Centers and Department store




ปลายปีนี้มีสองสยามเปิดตัวในเมืองไทย สยามแรก คือ "สยามนิรมิต" โรงละครขนาดยักษ์ที่จะเน้นโชว์การแสดงและวัฒนธรรมไทยให้นักท่องเที่ยวต่างชาติชม สร้างโดยกลุ่มทุนแดนเนรมิต ซึ่งปัจจุบันเป็นเจ้าของดรีมเวิร์ล

อีกสยามหนึ่งอยู่บนพื้นที่ข้าง ๆ สยามเซ็นเตอร์ อยู่ตรงข้ามกับสยามสแควร์ สยามพารากอน The Pride of Bangkok ซึ่งมีกำหนดเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม ที่ผ่านมา

โครงการสยามพารากอน เกิดจากการร่วมทุนของบริษัท BIHC กับบริษัทเดอะมอลล์กรุ๊ป จำกัด จัดตั้งเป็นบริษัทสยามพารากอน ดีเวลลอปเม้นท์ เพื่อพัฒนาที่ดิน 25 ไร่ด้านหน้าติดกับถนนพระราม 1 เพื่อทำศูนย์การค้า และศูนย์การบันเทิงที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

สยามพารากอนใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 15,000 ล้านบาท เป็นศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ มีพื้นที่กว่า 500,000 ตร.ม. และยังมีร้านค้าแบรนด์เนมชั้นนำของโลกและของไทยมากที่สุด กว่า 250 ร้าน

กลุ่มลูกค้าของสยามพารากอนเป็นกลุ่มคนที่มีรสนิยมระดับ Bขึ้นไปจนถึง A+(+) คาดว่าเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยว 30% และคนที่อาศัยในเมืองไทยอีก 70% เป้ารายได้เดือนแรกๆ ตั้งไว้ที่ 2,000 ล้านบาท และคาดว่าจะคืนทุนได้ภายใน 3 ปี

"สยาม พารากอน ถูกวางไว้เป็น Hi-end Up Market แต่ว่าถ้าถามว่ากลุ่มเป้าหมายเป็นใคร ก็ต้องตอบว่าคือ "ครอบครัว" ทั้งหมด เพราะในพารากอนมี Magnet ค่อนข้างเยอะ แล้วแต่ละจุดที่ดึงดูด ไม่ได้ดึงดูดเฉพาะลูกค้าไฮ-เอ็นทั้งหมด" เกรียงศักดิ์ ตันติพิภพ Chief Marketing Officer ของสยามพารากอน (และ CEO ของ Emporium) กล่าว

ในจำนวนกว่า 250 ร้านค้าของแบรนด์ชั้นนำของโลกและของไทยนั้น มีหลายร้านที่เป็น flagship store Super Car Stores (ผู้นำเข้ารถยนต์ซูเปอร์คาร์ได้นำสินค้ามาจัดจำหน่ายและแสดงในคอนเซ็ปต์การจัดร้านแบบแกลเลอรี่ ปอร์เช่ จากัวร์ เบนท์เลย์ เฟอร์รารี่ มาเซราติ บีเอ็มดับเบิลยู และมินิ) Lee Marine : Yatch Store (ร้านเรือยอตช์) Kinokuniya (จะกลายเป็นร้านหนังสือนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ) Mikimoto Flagship Store (บริษัทผู้ออกแบบมงกุฎเพชรให้กับมิสยูนิเวิร์สคนล่าสุด) และยังมีร้านของ Hugo boss, Swaroskvi, Vertu และ Jim Thompson

นอกจากนั้น สยามพารากอนยังมีโซน World of Entertainment ไว้ดึงดูดลูกค้า (ที่ไม่ได้เน้นช็อป) Siam Ocean World อะควาเรี่ยมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียและออสเตรเลีย ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก Siam Opera House โรงละคร "แนวบรอดเวย์" แห่งแรกของไทย

Paragon Cinepolis โรงภาพยนตร์แนวใหม่ที่มีความหรูหราจำนวน 15 โรง รองรับผู้ชมได้ 5,500 ที่นั่ง และโรงภาพยนตร์จอยักษ์ 3 มิติ IMAX 600 ที่นั่ง รวมทั้งเมเจอร์โบว์ 52 เลน ลงทุนและบริหารโดยเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์

Paragon Gourmet Market & Food Hall ศูนย์อาหารที่หลากหลายทั้งชนิด รูปแบบ รสชาติ และราคา จัดเป็นศูนย์อาหารที่มีขนาดที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ

Royal Paragon Hall รอยัล พารากอน ฮอลล์ แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ เป็น lifestyle hall รองรับอีเวนต์การตลาด งานคอนเสิร์ต งานประชุม งานแสดงสินค้า หรือนิทรรศการของคนเมือง โดยตั้งใจเจาะกลุ่ม niche market ซึ่งเลือกพื้นที่ได้ตามขนาดที่ต้องการ

เมื่อรวมกันทั้งหมดแล้วน่าจะทำให้ Siam Paragon เป็นสุดยอดแหล่งช็อปปิ้งและความบันเทิง ของภูมิภาคนี้ได้ หากมองไปในประเทศเพื่อนบ้าน คู่แข่งที่สูสีกับสยามพารากอนน่าจะเป็นศูนย์การค้ายักษ์ใหญ่อย่าง เช่น
Pacific Place หรือ IFC Mall ในฮ่องกง
Takashimaya Mall ในสิงคโปร์
Plaza 66 ในเซี่ยงไฮ้
Taipei 101ในไต้หวัน
และ Dubai Mall ในดูไบ

พารากอนจะเปลี่ยนโฉมหน้าของห้างสรรพสินค้าไทยไปอย่างไร?

บทวิเคราะห์

สยามพารากอนคือสึนามิของศูนย์การค้าของเมืองไทย

ผู้คนที่โคจรด้วยรถไฟฟ้าสถานีสยามปีสองปีที่ผ่านมาจะเห็นความเจริญก้าวหน้าในการก่อสร้างห้างสรรพสินค้าขนาดมหึมาตลอดมา ราวกับเฝ้าดูการเจริญเติบโตของทารกน้อยจนเติบใหญ่เป็นชายหนุ่มหญิงสาว การเฝ้าดูของผู้คนทั่วไปนั้นความรู้สึกย่อมแตกต่างจากผู้บริหารที่อยู่ในธุรกิจค้าปลีกที่อยู่ในย่านใกล้เคียง เพราะอย่างที่บอกไว้แล้วว่าสยามพารากอนคือสึนามึที่ไม่เคยมีใครเห็นมาก่อน

ห้างสรรพสินค้าใหญ่ระดับนี้มีแต่ในเมืองนอกซึ่งเป็นศูนย์กลางแห่งการท่องเที่ยวเท่านั้น ขณะที่ห้างสรรพสินค้าชั้นดีของเมืองไทยนั้นก่อนหน้านั้นก็มีแต่ห้างเซ็นทรัลชิดลม

เอ็มโพเรียมที่ประสบความสำเร็จจากการเจาะตลาดบนก็เพิ่งมีเมื่อปี 2542 มานี้เอง ซึ่งก็ไม่ได้สร้างความตื่นตาตื่นใจอะไรให้มากนัก เพียงแต่มีสินค้าแบรนด์เนมมาอยู่รวมกันมากเท่านั้น

ดังนั้น สยามพารากอนจึงเป็นตำนานบทใหม่ของศูนย์การค้าซึ่งได้รวบรวมทุกสิ่งทุกอย่างเอาไว้ในห้างขนาดมหึมาหากไม่ได้ในห้างอื่น
มีเพียงศูนย์การค้าในต่างประเทศเท่านั้นที่มีขนาดและความสมบูรณ์พร้อมมากขนาดนี้ก

สยามพารอนก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในยุทธจักรค้าปลีกขนานใหญ่อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน เพราะการปรากฏของสยามพารากอนนั้นสร้างความอึดอัดหาวเรอให้ห้างสรรพสินค้าอื่นๆเอามากๆ

ธุรกิจค้าปลีกในรอบเกือบสิบปีที่ผ่านมา หรือนับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจเป็นต้นมานั้นประสบปัญหามาโดยตลอดเพราะคนไทยไม่ได้ร่ำรวยเฉกเช่นอดีตที่ผ่านมาอีกต่อไปแล้ว อีกทั้งแนวโน้มธุรกิจค้าปลีกได้เคลื่อนย้ายไปสู่เหล่าโมเดอร์นเทรด ประเภท Discounted Store, Super Store หรือ HyperMart อย่างที่กระจายไปทั่วประเทศไทยในขณะนี้

ห้างสรรพสินค้าจำนวนน้อยที่ยืนได้อย่างแข็งแกร่ง และที่ยืนได้ก็ต้องมีจุดแข็งที่ชัดเจน ไม่เช่นนี้ก็ต้องทยอยล้มหายตายจากไปอย่างที่เห็นๆกัน ดังนั้น สยามพารากอนนอกจากจะเป็นสึนามิแล้ว ยังเปรียบเสมือนการจุดประกายให้เหล่าห้าวสรรพสินค้าทั้งหลายเกิดผู้นำอย่างแท้จริงขึ้นมา

สยามพารากอนจึงเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง เพราะทันทีมีข่าวว่าสยามพารากอนจะเปิดตัว ห้างสรรพสินค้าแต่ละแห่งในย่านนั้นต่างปรับตัวกันขนานใหญ่ทั้งสยามเซ็นเตอร์ที่อยู่ติดกัน Central World Plaza ที่อยู่ถัดไป เซ็นทรัลชิดลมซึ่งครองความเป็นเจ้าในย่านนั้นมาก่อน รวมไปถึงเอ็มโพเรียมอีกต่างหาก

การปรับโฉมทุกเจ้านั้นก่อให้เกิดผลดีต่อธุรกิจค้าปลีกประเภทห้างโดยรวมเพราะจะทำให้เกิดพลังในรูปแบบคลัสเตอร์ เนื่องจากห้างจะตั้งเรียงรายกันในย่านเดียวกัน ลูกค้าจะเลือกช็อปกันได้ตามอัธศัย

ดังนั้นสยามพารากอนจึงเป็นหัวขบวนที่มีพลัง และเป็นพลังที่นอกจากจะเชิดหน้าชูตาให้เมืองไทยแล้วก็ยังมุ่งหวังในการดูดเงินต่างชาติอีกด้วย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us