|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
กิตติรัตน์ ระบุเป็นสิทธิที่ "โออิชิ" ยังไม่เปิดเผย รายชื่อผู้ซื้อหุ้นได้ เผยเกือบ 100% ในการทำสัญญาร่วมลงทุนจะมีการทำสัญญารักษาข้อมูลลับก่อนทำสัญญาจริง พร้อมแนะคนใกล้ชิด ที่รู้ข้อมูลอย่าใช้เพื่อสร้างประโยชน์กับตนเอง ย้ำ ตลท.ไม่ละเลยการ ตรวจสอบแต่ระบุหุ้นที่ผันผวนไม่ใช่การปั่นเสมอไป
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวถึงกรณีที่นายตัน ภาสกรนที ประธานกรรมการบริษัท บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ OISHI (ในฐานะผู้ขาย) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับ Mr.Ma Wah Yan (ในฐานะผู้ซื้อ) โดยระบุว่าจะขายหุ้นที่ตนถืออยู่ในบริษัทและรวบรวม หุ้นของบริษัทจากผู้ถือหุ้นอื่นเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 103,125,000 หุ้น หรือ 55% ของหุ้นที่จำหน่ายทั้งหมดของบริษัท
ทั้งนี้ ในกรณีดังกล่าวการตกลงระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายอาจจะมีการทำสัญญาที่ให้มีการรักษาข้อมูลบางอย่างไว้เป็นความลับก่อนวันที่จะทำสัญญาจริง ซึ่งก็ทำให้นายตัน ภาสกรนที มีสิทธิที่จะไม่เปิด เผยข้อมูลดังกล่าวให้กับตลาดหลักทรัพย์ได้แม้ว่าจะได้มีการสั่งให้มีการชี้แจง แต่ทั้งนี้การดูแลที่จะไม่ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าไปมีส่วนในการ ซื้อหุ้นของบริษัทในช่วงเวลาดังกล่าวเนื่องจากรับรู้ข้อมูลมากกว่านักลงทุนก็ถือว่าเป็นเรื่องที่จะต้องปฏิบัติ
ในส่วนของนักลงทุนแม้ว่าจะยังสามารถซื้อขายหุ้นของบริษัทได้ตามปกติแต่จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบเนื่องจากยังไม่มีข้อมูลในการตัดสินใจที่ครบถ้วน
"ผมมั่นใจคุณตันก็รู้ว่าผู้ซื้อคือใคร แต่ก็เป็นสิทธิที่สามารถทำได้ที่จะยังไม่เปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับก่อนการทำสัญญาจริง แต่คนที่รู้ข้อมูลก็จะต้องวางตัวในเรื่องดังกล่าวให้ดี ไม่นำข้อมูลดังกล่าวมาใช้เพื่อให้ก่อประโยชน์กับตัวเอง" นายกิตติรัตน์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในเรื่องดังกล่าวนักลงทุนให้ ความสนใจเป็นจำนวนมาก ตลาดหลักทรัพย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ก็จะเข้ามาดูแลการซื้อขายที่อาจจะมีพฤติกรรมไปในทางที่เป็นการใช้ข้อมูลภายในหรือไม่ ซึ่งในหลายครั้งการที่หุ้นบริษัทจดทะเบียนแห่งหนึ่งแห่งใดมีปรับขึ้นในลักษณะที่อาจจะแสดงให้เห็นความมีการสร้างราคาหรือปั่นหุ้น แต่สุดท้ายการตรวจสอบก็ไม่พบความผิดปกติเนื่องจากเป็นไปตามพฤติกรรม ของนักลงทุนเอง
"ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่ละเลยเรื่องการตรวจสอบอย่างแน่นอน นักลงทุนเองก็จะต้องพิจารณาข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนให้ดี และก็อย่าคิดเพียงว่าหุ้นใดมีการความผันผวนจะกลายเป็นหุ้นที่ปั่น หรือสร้างราคา เพราะหลายครั้งที่มีการตรวจสอบไม่พบความผิดปกติ" นายกิตติรัตน์กล่าว
สำหรับการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทเป็น การสร้างความชัดเจนให้กับนักลงทุนให้มากที่สุดก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ทั้งต่อบริษัทและต่อนักลงทุน
นายกิตติรัตน์ กล่าวอีกว่า ปกติการเข้ามาร่วมทุนทางธุรกิจระหว่างบริษัทต่างๆ เกือบ 100% จะมีการทำสัญญาที่ไม่ให้มีการเปิดเผยข้อมูลก่อนที่จะมีการเซ็นสัญญาอย่างเป็นทางการ
ทั้งนี้ ช่วงที่อยู่ระหว่างการเข้าไปตรวจสอบกิจการ(ดิวดิลิเจนซ์) การเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งในเรื่องการทำสัญญาซึ่งอาจจะเป็นไปหรือไม่เป็นไปตามที่มีการกำหนดไว้ก่อนหน้า รวมถึงเรื่องราคาที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งในเรื่องดังกล่าวนักลงทุนจะต้องติดตามข้อมูลอย่างต่อเนื่องเพราะจะส่งผลต่อราคาหุ้นบริษัทโดยตรง
ทั้งนี้ นายตัน ได้ระบุว่าจะมีการลงนามซื้อขายกันจริงในวันที่ 20 ม.ค.
|
|
|
|
|