|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"กิตติรัตน์" จี้บอร์ด 3 บจ.ที่ไม่ปลด "ประชัย เลี่ยวไพรัตน์" ออกจากการเป็นกรรมการ ระวังเจอข้อหาไม่ทำหน้าที่บอร์ดมีสิทธิขึ้นบัญชีดำได้ พร้อมเรียกร้องนักลงทุนร่วมกันช่วยดูแล ตรวจสอบ ระบุไม่อยากเพิกถอนบริษัทหวั่นกระทบนักลงทุนจำนวนมาก ชี้ BUI ทำง่ายสุด เพราะไม่ใช่บริษัทฯฟื้นฟู
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวถึงกรณีที่ได้มีหนังสือแจ้งต่อนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ กรรมการบริษัทจดทะเบียน 3 แห่ง ประกอบ ด้วย บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TPI, บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) หรือ TPIPL และบริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ BUI ต้องลาออกจากการเป็นกรรมการของบริษัท เนื่องจากขาดคุณสมบัติในการเป็นผู้บริหารหลังสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์(ก.ล.ต.) กล่าวโทษ
ทั้งนี้ แม้ว่าตลาดหลักทรัพย์ฯได้มีการกำหนดระยะเวลาในการที่จะต้องออกจากการเป็นกรรมการของทั้ง 3 บริษัทแต่ในช่วง ดังกล่าวนายประชัยได้ยื่นอุทธรณ์ ต่อศาลล้มละลายกลาง ซึ่งภายหลังมีคำสั่งให้ไม่จำเป็นต้องออกจากการเป็นผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนเรื่องดังกล่าวก็ถือว่าเป็นหน้าที่และสิทธิในการต่อสู้ แต่กฎข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ฯก็ระบุไว้ชัดเจน แม้ว่าจะเพิ่งมีการเปลี่ยนแปลงว่าผู้ที่ถูกกล่าวโทษไม่มีคุณสมบัติในการเป็นผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน ทั้งในกฎข้อบังคับเดิมหรือกฎข้อบังคับใหม่ก็ได้มีการระบุในเรื่องดังกล่าวอย่างชัดเจน
ในส่วนของผู้บริหารหรือกรรมการของบริษัทใดที่มีหน้าที่และดำเนินการ หากพบว่าไม่มีพฤติกรรมที่จะดำเนินการให้มี การปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ อาจจะเข้าข่ายขาดคุณสมบัติในการเป็นผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน และอาจจะต้องมีการคัดรายชื่อผู้บริหารกลุ่มดังกล่าวไปอยู่ในบัญชีรายชื่อผู้บริหาร ที่ไม่พึงประสงค์ของตลาดทุน เพราะทุกฝ่ายก็มีหน้าที่ของแต่ละบุคคลซึ่งก็ควรจะปฏิบัติตามหน้าที่ อย่างเต็มที่
สำหรับนักลงทุน หากไม่มีการดำเนินการอะไรแล้วทำให้บริษัทต้องถูกเพิกถอนออกจากการเป็นบริษัทจดทะเบียน ซึ่งนักลงทุนนอกเหนือจากการลงทุนบนความเสี่ยงของราคา ยังต้องลงทุนบนความเสี่ยงของกระบวนการทำงานของผู้บริหารด้วย ซึ่งทำให้จะต้องเข้ามาร่วมดูแล ตรวจสอบการบริหารงานของบริษัทให้มีความ โปร่งใส และมีบรรษัทภิบาล
"ลาดหลักทรัพย์ฯไม่ใช่หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการพิสูจน์ความถูกผิด ถ้าเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นบริษัทที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ก็คงไม่มีปัญหา แต่เมื่อเป็นบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ก็จะต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ"นายกิตติรัตน์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกิดขึ้นหวังว่าจะไม่ทำให้ถึงขนาดจะต้องให้บริษัทนั้นๆ ต้องไม่ได้เป็นบริษัทจดทะเบียนต่อไป เนื่องจากผลกระทบจะเกิดขึ้นกับนักลงทุนจำนวนมาก การดำเนินการในเรื่องต่างๆ ของตลาดหลักทรัพย์มีเหตุและผลเสมอ
ที่ผ่านมาตลาดหลักทรัพย์ฯพบสัญญาณที่ดีในการดำเนินงาน ซึ่งหากยังมีสัญญาณที่ดีต่อไปในทางที่ผู้บริหารหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกำลังดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามกฎข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งหากเกินเวลาที่มีการกำหนดก็อาจจะเลื่อนออกไปได้
"วลามันจะหมด เมื่อผมรู้สึก ว่าไม่มีความพยายามในการดำเนิน การในทางที่ดี การที่เป็นบริษัทเล็กหรือบริษัทใหญ่ไม่ใช่เรื่องสำคัญ เรา ปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเท่าเทียม กันแน่นอน"นายกิตติรัตน์กล่าว
สำหรับการปลดนายประชัย ออกจากการเป็นผู้บริหารในบริษัทที่ไม่ได้อยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการ คือ BUI TPIPL นั้น ทางคณะกรรมการบริหารก็มีอำนาจในการพิจารณาปลดผู้บริหารบริษัทได้ แต่อาจจะติดขัดบางประการจึงไม่ได้ดำเนินการ ซึ่งในเรื่องดังกล่าวตลาดหลักทรัพย์ฯก็ได้รับสัญญาณ ที่ดีว่าจะได้รับความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ
ในส่วนของ TPI ผู้บริหารแผนก็มีความสามารถที่จะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งได้พอสมควร ตามกรอบและหน้าที่ที่กฎหมายมีการกำหนดไว้
"ถ้าหากจะให้บอกว่าบริษัทไหนจะหมดเวลาก่อนก็น่าจะเป็น BUI เนื่องจากกระบวนการต่างๆ ดำเนินงานได้ง่ายกว่าและไม่มีกระบวนการฟื้นฟูกิจการ และจะถึงเวลาของบริษัทอื่นๆ เมื่อไหร่ก็คือเมื่อหมดเวลากับบริษัทแรก" นายกิตติรัตน์กล่าว
|
|
|
|
|