Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน19 ธันวาคม 2548
ธปท.ไม่เร่งปรับดอกเบี้ย ชูบริหารส่วนต่างไลบอร์             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
ปรีดิยาธร เทวกุล, ม.ร.ว.
Economics
Interest Rate




"ผู้ว่าฯแบงก์ชาติ" ส่งสัญญาณชะลอการเร่งขึ้นดอกเบี้ย ชี้ดอกเบี้ยนโยบายไม่ควรสูงกว่าไลบอร์ และห่างกันไม่เกิน 2% เพราะจะทำให้เงินทุนไหลออก คาดสิ้นปี 48 เงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติอยู่ที่ 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ไม่จำเป็นต้องดึงเงินทุนสำรองระหว่างประเทศโปะ ขณะที่เชื่อดุลบัญชีเดินสะพัดจะกลับมาเป็นบวกได้ใน 3 ปี

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวบรรยายในหัวข้อ "ภาพรวมภาวะเศรษฐกิจไทยและแนวโน้มปี 49" ที่จัดโดยนักศึกษา ปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ไม่ควรสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกที่ใช้อ้างอิงในตลาดการเงิน คือ อัตราดอกเบี้ยในตลาดลอนดอน หรือไลบอร์ ซึ่งจะขึ้นลงตามดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) โดยส่วนต่างของดอกเบี้ยไทยควรจะอยู่ต่ำกว่า แต่ไม่มากนัก เพราะถ้าห่างกันมากถึง 2% จะส่งผลให้เงิน ทุนไหลออก เห็นได้จากปัจจุบันแม้ ดอกเบี้ยไทยห่างจากดอกเบี้ยในตลาดไลบอร์ ซึ่งใกล้เคียงกับดอกเบี้ยเฟด แต่เงินทุนยังไหลเข้าอย่าง ต่อเนื่อง เพราะส่วนต่างห่างกันเพียง เล็กน้อย

ทั้งนี้ คาดว่าในสิ้นปีเงินลงทุน โดยตรงจากต่างประเทศ(FDI)น่าจะเข้ามาในไทยทั้งสิ้น 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จากช่วง 10 เดือนที่ผ่านมามี FDI ไหลเข้ามาในไทยประมาณ 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐ จากปี 47 ทั้งปีที่มีเงินไหลเข้ามาเพียง 800 ล้านเหรียญสหรัฐ
อย่างไรก็ตาม การที่มีเม็ดเงิน ไหลเข้ามาในประเทศไทย จะช่วยชดเชยการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดได้ โดยที่แบงก์ชาติไม่ต้องไปดึง เงินทุนสำรองระหว่างประเทศมาใช้ อย่างไรก็ตาม เงินทุนสำรองฯไทยก็ถือว่าแข็งแกร่งมาก ล่าสุดมีอยู่ประมาณ 4.9 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

"แม้ดุลบัญชีเดินสะพัดของเราจะติดลบ แต่เงินลงทุนที่ไหลเข้ามาก็ช่วยได้ และเชื่อว่าจะไหล เข้ามาอีก เพราะดุลบัญชีเราไม่ได้ติดลบมากนัก ทั้งปีลบไม่เกิน 2% ของจีดีพี ไม่ต้องดึงเงินทุน สำรองมาใช้ เพราะ FDI ช่วยได้ ผมเชื่อว่าไม่เกิน 3 ปี รอน้ำมันลง บวกกับการกระตุ้นการออม ดุล บัญชีน่าจะกลับมาเกินดุลได้" ผู้ว่าการ ธปท.กล่าว

อย่างไรก็ตาม ทิศทางดอกเบี้ยของไทยจะ อยู่ในช่วงขาขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกว่าเงินเฟ้อจะไม่ปรับสูงขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงกลับมาเป็นบวก ซึ่งจะดึงดูดให้ประชาชนอยากออมเงิน และเมื่อภาคครัวเรือนมีอัตราการออมที่เพิ่มขึ้น ก็จะมีเงินเพียงพอสำหรับการลงทุนในประเทศ ทั้งภาคเอกชน และรัฐบาลที่จะลงทุนโครงการขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจกต์) ดุลบัญชีเดินสะพัดก็จะติดลบน้อยลง

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวต่อว่า เชื่อว่าไม่เกิน 3 ปี ดุลบัญชีเดินสะพัดน่าจะกลับมาเป็นบวกได้ จากการที่ราคาน้ำมันโลกเริ่มลดลง ส่งผลให้เงิน เฟ้อลดลงด้วย ปลายปี 49 เงินเฟ้อทั่วไปน่าจะลง มาที่ 3% ขณะเดียวกันทาง ธปท. ก็ดำเนินนโยบาย ดอกเบี้ยขาขึ้นกระตุ้นให้คนออมเงิน รวมถึงเงิน ลงทุนจาก FDI ที่ไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจัยดังกล่าว จะเป็นตัวช่วยให้ดุลบัญชีฯมีโอกาสกลับมาบวกได้ภายใน 3 ปี และแม้ว่ารัฐบาลจะมีการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์ เอกชนจะลงทุนเพิ่ม ซึ่งต้องมีการนำเข้าสินค้าทุนเงินทุนจะไหลออกบ้าง แต่เชื่อว่า ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล เพราะเมื่อลงทุนแล้วก็จะได้เงินกลับคืน

"แต่ก็เชื่อว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะเป็นบวกได้ใน 3 ปี แม้จะมีเมกะโปรเจกต์ และราคาน้ำมัน โลกที่จะเริ่มลดลง เพราะแค่มีข่าวว่าจะมีการขุดเจาะน้ำมัน ราคาก็เริ่มลงแล้ว" ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวนอกจากนี้ ฐานะการคลังก็เริ่มดีขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าดีใจ ที่รัฐบาลชุดนี้มีความระมัดระวังในการดำเนินนโยบายทางด้านการคลัง โดยรักษาสัด ส่วนหนี้ภาครัฐต่อจีดีพีไม่เกิน 50% ซึ่งปัจจุบันดึงลงมาอยู่ที่ 45.9% แล้วและรัฐบาลก็พยายามที่จะดึงให้ลงมากกว่านี้อีก ถือเป็นนิมิตหมายที่ดี

สำหรับตลาดหลักทรัพย์นั้น ก็เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่แบงก์ชาติติดตามอยู่ แต่ขณะนี้มีความสบายใจ เพราะทางหน่วยงานกำกับได้เข้าไปจัดการดีอยู่แล้ว จนขณะนี้ตลาดหุ้นมีการเติบโตอย่างมั่นคง ดัชนีไม่พุ่งขึ้นเร็วไป เหมือนช่วงต้นปี โดยทางตลาดได้ออกมาตรการ ห้ามซื้อขายหักกลบหุ้นในวันเดียวกัน(เน็ตแซตเทิลเมนต์) และห้ามให้ บล.ปล่อยกู้ให้ลูกค้าซื้อหุ้น(มาร์จิ้น) ทำให้ตลาดหุ้นในขณะนี้เติบโตอย่าง น่าพอใจ ส่วนฐานะทางการเงินของภาคธุรกิจก็มีความแข็งแกร่ง อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนอยู่ในระดับที่ต่ำ อัตราผลตอบแทนต่อกำไรสุทธิสูงขึ้น อย่างต่อเนื่อง เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่าภาคธุรกิจค่อนข้างดีเช่นกัน

ส่วนสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ก็ขยายตัวดี สถาบันการเงินทุกแห่งต่างมีความระมัด ระวังในการปล่อยสินเชื่อ เพราะเกรงว่า ธปท. จะสั่งให้ตั้งสำรองหนี้สูญ หากพบว่าลูกหนี้มีความเสี่ยงมาก ซึ่งเมื่อตั้งสำรองแล้วจะกระทบกำไรของ ธนาคาร แต่ขณะนี้ ธปท. จับตาสินเชื่อส่วนบุคคล เนื่องจากกำลังลุกลามอย่างหนัก หากประชาชน ใช้จ่ายจนเกินตัว จะก่อให้เกิดปัญหาหนี้ตามมา และกระทบการออมภาคครัวเรือน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us