|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
กระทรวงยุติธรรมขอความร่วมมือผู้ประกอบการนอนแบงก์ปรับลดดอกเบี้ย ปปง.ขีดเส้นดอกเบี้ยบวกค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมต้องไม่เกิน 20% เผยหากรายใดไม่ร่วมมือจะใช้วิธีเสนอให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงการคลังและจับกุมดำเนินคดี ลั่นรายใดรับไม่ไหวก็ควรจะปิดกิจการ ขณะที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคยื่นหนังสือถึงแบงก์ชาติ จี้ยกเลิกประกาศอนุญาตนอนแบงก์เก็บดอกเบี้ย 28% หากเพิกเฉยภายใน 30 วัน จะยื่นศาลปกครอง
ในงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการว่าด้วยสินเชื่อส่วนบุคคล จัดโดยกระทรวงยุติธรรม ที่รร.มณเฑียร วานนี้ (15 ธ.ค.) พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ยุติธรรม ประธานเปิดงานฯ กล่าวว่า การสัมมนาร่วมกันระหว่างกระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค กรมบังคับคดี กรมสรรพากร สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และกลุ่มนิติบุคคลที่ประกอบสินเชื่อส่วนบุคคล 28 แห่ง ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ ธปท.พร้อมกับบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการปล่อยกู้และเช่าซื้อที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนในครั้งนี้ จะช่วยให้เกิดการจัดระบบนอนแบงก์ เพื่อแก้ปัญหาการเรียกเก็บดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด หลังจากหนี้นอกระบบเกิดปัญหามานานและมีการกระทำผิดเป็นขบวนการ
พล.ต.ต.พีรพันธุ์ เปรมภูติ เลขาธิการ ปปง. ในฐานะประธานคณะทำงานแก้ปัญหาหนี้ไม่เป็นธรรม กล่าวว่า ขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการปรับลดดอกเบี้ยลงมาอยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด คือไม่เกิน 15% ต่อปี และเมื่อรวมค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมแล้วต้องไม่เกิน 20% จากปัจจุบันที่เก็บ สูงสุดถึง 28% โดยขอให้นอนแบงก์รวมตัวกันเป็นสมาคมเพื่อให้สะดวกต่อการชี้แจงทำความเข้าใจให้กับพนักงานให้ปฏิบัติตามกรอบของกฎหมาย
"ผมมั่นใจว่าจะได้รับความร่วมมือจากนอนแบงก์และผู้ที่ทำธุรกิจปล่อยกู้ทุกราย มิเช่นนั้น ปปง.จะเสนอให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงการคลัง ขณะเดียวกันจะมีการจับกุมดำเนินคดี หากใครฝ่าฝืนก็จะไล่จับแน่" พล.ต.ต.พีรพันธุ์ย้ำและว่า กรณีที่นอนแบงก์ไม่เห็นด้วยกับดอกเบี้ย 15% เพราะอ้างว่าขาด ทุนนั้น หากธุรกิจอยู่ไม่ได้ก็ต้องปิดตัวไปให้ผู้ที่ทำได้ทำต่อไป เพราะประชาชนเดือดร้อนโดยที่ผ่านมามีนอนแบงก์ 3-4 แห่ง ยอมอยู่ในกรอบที่กฎหมายกำหนดแล้ว
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภครุกธปท.
วันเดียวกัน น.ส.วรรณวรินทร์ ไตรลักษณ์ หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ยื่นหนังสือผ่านนางจิตติมา ดุริยะประพันธ์ ผู้อำนวย การอาวุโส ฝ่ายสนับสนุนการบริหาร ธปท. เพื่อขอให้ ธปท. ยกเลิกประกาศวันที่ 20 มิถุนายน 2548 ที่กำหนดให้ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลนอนแบงก์กำหนด อัตรารวมสูงสุดของอัตราดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมไม่เกิน 28% ต่อปี
เนื่องจากประกาศฉบับดังกล่าวขัดต่อกฎหมาย และเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการธุรกิจสินเชื่อบุคคล สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้บริโภค ซึ่งทางมูลนิธิฯ ได้รับข้อร้องเรียนจากผู้บริโภคจำนวนมากหรือ 20 รายต่อวัน โดยเห็นว่าผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อบุคคลควรจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 ที่บัญญัติว่าไม่ให้คิดดอกเบี้ยเกิน 15% ซึ่งทางมูลนิธิฯ ขอให้ ธปท. ยกเลิกประกาศฉบับดังกล่าวภายในเวลา 30 วันนับจากวันที่รับหนังสือ แต่หาก ธปท. ยังเพิกเฉยไม่ดำเนินการ ใดๆ มูลนิธิฯ จะนำเรื่องฟ้องร้องขอความเป็นธรรมต่อศาลปกครองต่อไป
"ลูกหนี้ส่วนใหญ่จะบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า หากพ้นสภาวะนี้จะไม่ก่อหนี้อีก ดังนั้นเราไม่กลัวว่าลูกหนี้จะหันไปกู้หนี้นอกระบบ"นางสาววรรณวรินทร์กล่าว
ขณะที่ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายสนับสนุนการบริหาร ธปท.กล่าวว่า จะนำเรื่องนี้เสนอผู้ว่าการ ธปท. เพื่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลร่วมกันและเสนอกระทรวงการคลังต่อไป และครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่มูลนิธิฯ มาร้องเรียนอย่างเป็นทางการต่อ ธปท.หลังจากที่ก่อนหน้านี้เคยไปร้องเรียนกับสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงการคลังมาแล้ว
|
|
|
|
|