Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน16 ธันวาคม 2548
ตลาดมือถือปีหน้าแบ่งกลุ่มชัด ราคาต้องดีแทค/บริการมาAIS             
 


   
www resources

โฮมเพจ แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส - AIS

   
search resources

แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส, บมจ.
Mobile Phone




เอไอเอสยอมรับเป็นมวยรองด้านราคา แต่เป็นมวยหลักด้านบริการ ชี้ปีหน้าตลาดจะแบ่งแยกชัดเจน ยันเอไอเอสไม่ยอมให้ลูกค้าเพิ่มสุทธิ (Net Add) ของ ดีแทคเทียบเท่าหรือแซงหน้า พร้อมงัดกลยุทธ์การตลาดทุกรูปแบบตอบโต้ ทุ่ม 100 ล้านเปิดเอไอเอส ฟิวเจอร์ เวิลด์เพื่อให้เป็นเวทีแห่งการเรียนรู้และสัมผัสประสบการณ์จริงของบริการสื่อสารโทรคมนาคม หวังตอบแทนและลดกระแสความไม่พอใจในสังคม ส่วนโอเชี่ยนเวิลด์ 4 โอเปอเรเตอร์เตรียมบอยคอตออเร้นจ์ เลิกแชร์เน็ตเวิร์ก

นายฐิติพงศ์ เขียวไพศาล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ สายงานการตลาดบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิสหรือ เอไอเอสกล่าวว่าจากการที่เอไอเอสถูกผลกระทบ 2 ด้านจากกระแสสังคมจากผู้ใช้บริการ และกลยุทธ์ด้านราคาของคู่แข่ง เอไอเอสมองว่าในเรื่องการแข่งขันกับคู่แข่งถือเป็นพัฒนาการของการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นในหลายรูปแบบ ซึ่งเป็นเรื่องที่สนุกและอยู่บนพื้นฐานที่ผู้บริโภคได้ประโยชน์ เป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ เช่น เมื่อใช้สงครามราคาที่แรงมากถึงจุดหนึ่งแล้วก็จะหยุด เพราะต้องมองเรื่องความคุ้มค่าประกอบกันด้วย

"ความคุ้มค่าหมายถึงราคาที่เหมาะสมไม่ใช่ราคาถูกที่สุด เป็นความคุ้มค่าที่ตั้งบนพื้นฐานว่าบริการจะต้องดีด้วยซึ่งเป็นจุดยืนของเอไอเอส"

เอไอเอสไม่ใช่ไม่เคยใช้สงครามราคาหรือทำการตลาดแบบ Aggressive เพียงแต่รู้จักที่จะใช้ในช่วงไหนของตลาด อย่างในปี 2545 ที่ตลาดยังมีอีกมาก เอไอเอสใช้กลยุทธ์ที่รุนแรง ทำให้ปีเดียวมียอดผู้ใช้เพิ่มมากขึ้นถึง 6 ล้านราย แต่ปัจจุบันเมื่อฐานลูกค้าเติบโตถึงระดับ 16 ล้านราย การใช้สงครามราคาในลักษณะที่เป็น Short Term ไม่สามารถทำได้อีกต่อไป

เขายอมรับว่าในตลาดโทรศัพท์มือถือตอนนี้หากพูดถึงนวัตกรรมด้านราคาการออกแพกเกจโปรโมชันใหม่ๆ ดีแทคกินขาด เกินหน้าเอไอเอสไปแล้ว ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ผิด เพราะเอไอเอสวางตำแหน่งตัวเองเป็นผู้ให้นวัตกรรมด้านบริการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโมบายไลฟ์ 1 ซิม 2 เบอร์หรือ มัลติซิม รวมทั้งเอไอเอสมีวิชันแน่วแน่ว่าจะลงทุน 3G ในปีหน้าไม่ต่ำกว่า 200 ล้านเหรียญ

"ปีหน้าจะเห็นการตลาดที่แบ่งแยกอย่างชัดเจน ดีแทคจะเป็นผู้นำนวัตกรรมด้านราคา ซึ่งรวมถึงออเร้นจ์ด้วย ส่วนเอไอเอสจะเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมบริการ ขึ้นอยู่กับลูกค้าจะเลือกค่ายไหน"

อย่างไรก็ตาม ในประเด็นการเพิ่มขึ้นสุทธิของลูกค้า (Net Add) ซึ่งหมายถึงยอดขายลูกค้าใหม่ หักด้วยจำนวนลูกค้าที่เลิกใช้บริการ เอไอเอสยังห่างจากดีแทค อย่างมีนัยสำคัญ โดยยอด Net Add เอไอเอสมีประมาณ 1 ล้านกว่าราย ถึงแม้ดีแทคจะเชื่อว่าปัจจุบันยอด Net Add ดีแทคใกล้เคียงเอไอเอสมากแล้วก็ตาม แต่สำหรับยอดลูกค้าใหม่ก็มีความเป็นไปได้ที่อาจใกล้เคียงกัน เพราะเดิมเอไอเอสจะมีส่วนแบ่งตลาดลูกค้าใหม่ 50% แต่หลังจากการแข่งขันด้านราคาอย่างรุนแรง ลูกค้าใหม่ เอไอเอสมีส่วนแบ่งประมาณ 40%
"เอไอเอสยอมไม่ได้ที่จะให้ยอด Net Add ของดีแทคแซงหน้าเอไอเอสหรือแม้กระทั่งเท่าๆ กัน หากเป็นเช่นนั้นเอไอเอสจะใช้กลยุทธ์การตลาดทุกรูปแบบ"

เอไอเอสเชื่อว่าคู่แข่งแข็งแรงขึ้น แต่การที่ดีแทคบอกว่าเครือข่ายจะใช้เวลาประมาณ 2 ปีถึงจะเท่ากับเอไอเอส หมายถึงช่องว่าง 2 ปีก็จะกลายเป็นความได้เปรียบของเอไอเอส ที่วันนี้ก็ไม่ได้หยุดนิ่งให้คู่แข่งวางเครือข่ายแต่ฝ่ายเดียว

ส่วนกรณีกระแสสังคมและมวลชนกดดันไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเผาซิมการ์ดหรือเรื่องค่าบริการนั้น เอไอเอสเคารพในการตัดสินใจเลือกใช้บริการของประชาชน และมองว่าเอไอเอสจะต้องไม่ทำการตลาดหรือทำวิถีทางใดที่จะทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า เอไอเอสหยิ่ง หรือไม่คำนึงถึงความรู้สึกผู้ใช้บริการ เพียงแต่เอไอเอสจะต้องวางโพซิชันของบริษัทไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับด้านการเมือง ซึ่งส่งผลกระทบกับการทำธุรกิจรวมทั้งแผนการตลาดต่างๆ ที่ยุ่งยากมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการตอกย้ำแนว ทางธุรกิจของเอไอเอสที่มุ่งเน้นนวัตกรรม ด้านบริการ เอไอเอสลงทุน 100 ล้านบาทในการสร้าง AIS Future World ขึ้นที่สยามพารากอน นายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานธุรกิจบริการสื่อสารไร้สาย เอไอเอสกล่าวว่าเอไอเอสมุ่งหวังที่จะตอบแทนสังคม และหวังที่จะใช้ฟิวเจอร์ เวิลด์ เป็นที่แสดงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสื่อสารต่างๆ ให้ประชาชนคนไทยมีโอกาสรับรู้และได้สัมผัสกับของจริง โดยที่มีเวนเดอร์ 4 รายอย่างซีเมนส์ อีริคสัน โนเกียและหัวเหว่ยให้ความร่วมมือในช่วงแรก โดยเอไอเอสตั้งใจที่จะให้เวนเดอร์แต่ละรายหลังจากที่เปิดตัวแสดงเทคโนโลยีในงานแสดงในประเทศต่างๆ หลังจากนั้นก็ให้นำบริการและแอปพลิเคชันต่างๆ มาโชว์ที่ฟิวเจอร์เวิลด์ทันทีโดยเอไอเอสไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น

"งินลงทุน 100 ล้านบาท เราไม่ได้คิดว่าจะต้องคืนทุน เพราะฟิวเจอร์เวิลด์จะเป็นเวทีให้เด็กไทยมีโอกาสแสดงเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ และเป็นสถานที่ให้เวนเดอร์โชว์บริการจริง เป็นการตอบแทน ให้สังคมในฐานะที่เอไอเอสเป็นโอเปอเรเตอร์ ที่สามารทำได้"
สำหรับเอไอเอส ฟิวเจอร์ เวิลด์ ประกอบไปด้วย 6 โซนคือ

1. Feeling @ Home แสดงเทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวกสบายภายในบ้าน ทั้งเพื่อการพักผ่อน ใช้ชีวิตประจำวัน หรือเมื่อใช้บ้านเป็น สถานที่ทำงาน อาทิ Home security, SOHO Solutions, Push mail, การควบคุมการสั่งงานอุปกรณ์และระบบไฟฟ้า รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ภายในบ้าน, Shopping Online ผ่าน Buddy Broad-band รวมถึงเทคโนโลยี Telemedicine ที่สามารถเก็บและส่งข้อมูลคนไข้ที่เป็นโรคเรื้อรัง ผ่านสัญญาณ GPRS ไปสู่เครื่องรับข้อมูลที่โรงพยาบาล และใช้ข้อมูล ดังกล่าว อาทิ การวัดความดันโลหิต การวัดออกซิเจนในเลือด ในการวิเคราะห์เพื่อการรักษาโดยไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล

2. Exhibition Zone เป็นพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรม และ Work Shop ประกอบด้วยเวทีที่สามารถพับได้ สามารถจุคนได้ ประมาณ 20-30 คน โดยในช่วงที่ไม่มีกิจกรรม จะใช้ในการจัดแสดงเทคโนโลยีของมือถือรุ่นใหม่ๆ ที่กำลังจะวางตลาด โดยรวมไปถึงอุปกรณ์สื่อสารอื่นๆ ด้วยเช่นกัน

3. Play Zone สำหรับทดลองสัมผัสเกมบนมือถือรูปแบบต่างๆ ทั้งที่รู้จักกันแล้วอย่างแพร่หลาย รวมไปถึงเกมที่ยังไม่มีในตลาดอีกด้วย

4. AIS Vision Zone มีลักษณะเป็น มินิเธียเตอร์ ที่จัดสร้างเป็นโรงภาพยนตร์ที่ฉายแบบ 360 องศาเป็นแห่งแรกในเอเชีย ด้วยจอที่มีความสูง 3 เมตร รอบทิศทาง สร้างบรรยากาศเสมือนจริง โดยนำเสนอ AIS Vision ผ่านทางภาพยนตร์ที่สื่อว่า Life Style ของคนนั้น เทคโนโลยีสื่อสารไร้สายจะเริ่มก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันในอนาคตอันใกล้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน การใช้ชีวิตประจำวัน

5. Public Sphere เป็นมุมพักผ่อน สำหรับผู้ที่รับชมภาพยนตร์หรือผู้ที่รับชมภาพยนตร์แล้ว หรือผู้ที่เดินผ่านไปมาสามารถแวะมานั่งเล่นได้ พร้อมด้วยแอปพลิเคชันที่ใช้เล่นฆ่าเวลาไม่ว่าจะเป็นตู้ vending machine ของ mPAY รวมถึงเทคโนโลยี Contactless, ทดลองโปรแกรม สำหรับตัดต่อคลิปวิดีโอได้เองบนมือถือ, การตัดต่อเพลงและภาพ

6. Envision Zone เป็นโซนที่เตรียม พร้อมเพื่อจัดแสดงและสัมผัสกับเทคโนโลยี สื่อสารไร้สายในอนาคต เช่น โทรศัพท์มือถือ 3G, WiMAX และ Mobile TV Broadcasting, WiMAX, และ Mobile TV Broadcasting หลังจากได้รับใบอนุญาตทดสอบและดำเนินการแล้ว โดยจะจัดแสดงบริการที่จะเกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่ยุค 3G เช่น VDO Call, Streaming, data hi- speed, VDO Sharing, Online game พร้อมโชว์เครื่องโทรศัพท์มือถือในระบบ 3G

4 โอเปอเรเตอร์เลิกยุ่งออเร้นจ์

แหล่งข่าวจากโอเปอเรเตอร์มือถือกล่าวว่าจากปัญหาการใช้งานโทรศัพท์มือถือที่มีเพียงออเร้นจ์ที่ใช้ได้ในบริเวณสยาม โอเชี่ยน เวิลด์ ชั้นใต้ดินของสยามพารากอน ที่เกิดจากออเร้นจ์หักหลังเพื่อนร่วมอุตสาหกรรม ในลักษณะรับปากว่าจะเป็นคนติดต่อกับเจ้าของพื้นที่ในการวางเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ แล้วให้โอเปอเรเตอร์แต่ละรายมาใช้และแชร์ค่าใช้จ่ายร่วมกัน ปรากฏว่าเมื่อถึงเวลาเปิดให้บริการโอเชี่ยนเวิลด์กลับมีเพียงโทรศัพท์มือถือออเร้นจ์ใช้ได้รายเดียว ทำให้โอเปอเรเตอร์รายอื่นรู้สึกเหมือนถูกหักหลัง และหารือร่วมกัน ว่าต่อไป 4 โอเปอเรเตอร์ที่ประกอบด้วย เอไอเอส ดีแทค ไทยโมบายและฮัทช์จะเลิกนโยบายใช้เครือข่ายร่วมกับออเร้นจ์อีกต่อไป เพราะเคยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้หลายครั้งแล้ว อย่างเช่นกรณีรถไฟฟ้าใต้ดิน

"จ้าของพื้นที่พร้อมติดต่อกับโอเปอเรเตอร์แต่ละรายอยู่แล้ว เพราะเราเอาเงินไปจ่ายให้ ซึ่งออเร้นจ์เป็นฝ่ายรับปากว่าจะติดต่อเอง แต่กลับหักหลังพวกเรา ต่อไปก็ไม่ต้องคุยกันเรื่องแชร์เน็ตเวิร์กแล้ว"

อย่างไรก็ตาม เขาเชื่อว่าปัญหาต้องคลี่คลายและยุติโดยเร็ว โดยที่โอเปอเรเตอร์ แต่ละรายอาจต้องลงทุนเอง นอกจากนี้การให้บริการสาธารณะดังกล่าวไม่สามารถปิดกั้นได้ เพราะคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) มีอำนาจสามารถสั่งให้เปิดให้บริการโดยทั่วถึงและเป็นธรรมได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us