Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน16 ธันวาคม 2548
ยักษ์ใหญ่เหล็กอินเดียฮุบMS ปูนฯขายเกลี้ยงโกย3พันล้าน             
 


   
www resources

โฮมเพจ เครือซิเมนต์ไทย
โฮมเพจ บริษัท มิลเลนเนียม สตีล

   
search resources

เครือซิเมนต์ไทย
มิลเลนเนียม สตีล, บมจ.
Stock Exchange




ปูนใหญ่ขายทิ้งเกลี้ยง "มิลเลนเนียม สตีล" 40% ให้ Tata Steel ยักษ์ใหญ่เหล็กของอินเดีย โกยเงินกระเป๋าตุง 3 พันล้าน Tata Steel เตรียมทำคำเสนอซื้อ MS หุ้นละ 1.15 บาท หลังตั้งเงื่อนไขซื้อหุ้นเพิ่มทุนของ MS อีก 24.99% ทำให้กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่กว่า 51% "สวัสดิ์" ชี้เป็นดีลที่โปร่งใสและแฟร์ต่อทุกฝ่าย แต่จะไม่ขายหุ้น MS ที่ถืออยู่ 1% มั่นใจอนาคตMS สดใส ปูนใหญ่แทงกั๊กแผนขายหุ้น "ปตท.เคมิคอล" ให้ปตท.

นายชุมพล ณ ลำเลียง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCC) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทซิเมนต์ไทย โฮลดิ้ง จำกัด (CHC) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในเครือซิเมนต์ไทย ได้บรรลุข้อตกลงในการขายหุ้นที่ถือในบริษัท มิลเลนเนียม สตีล จำกัด (มหาชน) (MS) ทั้งหมดประมาณ 40% ให้แก่บริษัท Tata Steel Limited (Tata Steel) ยักษ์ใหญ่ธุรกิจเหล็กของอินเดีย โดยจะมีมูลค่าประมาณ 3,000 ล้านบาท และคาดว่าจะมีกำไรจากรายการพิเศษสุทธิภาษีประมาณ 560 ล้านบาทในครึ่งปีแรกของปี 2549

การซื้อขายหุ้นครั้งนี้ ที่ประชุมผู้ถือหุ้น ของ MS จะต้องพิจารณาเพิ่มทุนและเสนอ ขายหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 24.99% ของจำนวน หุ้นที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดภายหลังการ เพิ่มทุนแล้วเสร็จให้แก่ Tata Steel ในราคาหุ้นละ 1.15 บาท และแก้ไขข้อบังคับเกี่ยวกับข้อจำกัดการถือหุ้นของคนต่างด้าวให้สอดคล้องกันและให้ MS ยังคงได้รับสิทธิประโยชน์ในด้านการส่งเสริมการลงทุน (BOI) หลังจากบรรลุเงื่อนไขต่างๆ เรียบร้อยแล้ว โดย Tata Steel จะทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของ MS ราคาหุ้นละ 1.15 บาท ซึ่งเมื่อกระบวนการต่างๆ เสร็จเรียบร้อยจะทำให้Tata Steel ถือหุ้นใน MS มากกว่า 51%

การขายหุ้นของ MS ในครั้งนี้เป็นนโยบายของปูนใหญ่ ที่ต้องการจะออกจากธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจ หลักของบริษัทฯ และเป็นผลดีกับ MS ในการส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันโดยรวมผ่านทาง เครือข่ายการตลาดและการจัดหาวัตถุดิบ รวมทั้งความรู้ทางเทคโนโลยีในธุรกิจเหล็กของ Tata Steel ซึ่งเป็นผู้ผลิตเหล็กภาคเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินเดีย และเป็นผู้ผลิตเหล็กชั้นนำระดับโลก ปัจจุบันมีกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น 7 ล้านตันต่อปี

ในขณะที่ MS เป็นผู้ผลิตเหล็กก่อสร้างรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยมีกำลังการผลิตทั้งสิ้น 1.2 ล้านตันต่อปี ซึ่งผลการดำเนินงานในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548 MS มียอดขาย 14,500 ล้านบาท โดยมีกำไรสุทธิ 450 ล้านบาท และมีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 22,740 ล้านบาท

นายสันติ ชาญกลราวี กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิลเลนเนียม สตีล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า วานนี้ (15 ธ.ค.) CHC ได้บรรลุข้อตกลงที่จะขายหุ้น และหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทฯ ให้แก่ Tata Steel โดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯจะต้องมีมติอนุมัติการออกและเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 2,104,543,058 หุ้น หรือคิดเป็น 24.99% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดให้แก่ Tata Steel ในราคาหุ้นละ 1.15 บาท ซึ่งการเพิ่มทุนนี้จะต้องได้รับการผ่อนผันหรือยินยอมจากเจ้าหนี้ทางการเงิน

นอกจากนั้น ในวันเดียวกันบริษัทได้รับข้อเสนอซื้อหุ้นโดยมีเงื่อนไข (Binding Offer) จาก Tata Steel ว่า จะทำคำเสนอซื้อหุ้นทั้งหมดของบริษัท โดยสมัครใจจากผู้ถือหุ้นทุกรายเป็นการทั่วไป ซึ่งรวมถึงหุ้นที่ถือโดย CHC ด้วย ในราคาหุ้นละ 1.15 บาท ทั้งนี้ Tata Steel จะไม่รับซื้อหุ้น เว้นแต่จะสามารถถือหุ้นในบริษัทได้ไม่น้อยกว่า 51% ของหุ้น ทั้งหมดของบริษัทภายหลังการเพิ่มทุน และเงื่อนไข ดังกล่าวข้างต้นต้องสำเร็จไม่ช้ากว่าวันที่ 20 มิ.ย. 2549 โดย บริษัทฯจะจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการของ บริษัทขึ้นในวันที่ 23 ธ.ค. 2548 เพื่อพิจารณาข้อเสนอซื้อหุ้นจาก Tata Steel

สวัสดิ์กำหุ้น MS 1% แน่น

นายสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง ประธานกรรมการ บริษัท มิลเลนเนียม สตีล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การตัดสินใจขายหุ้น MS ของปูนใหญ่ให้Tata Steel ครั้งนี้ถือว่าเป็นดีลที่โปร่งใส และแฟร์ต่อทุกฝ่าย เพราะ Tata Steel เองก็พร้อมที่จะซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้น รายอื่นๆในราคาเดียวกับที่เสนอซื้อจากปูนใหญ่ด้วย ขณะเดียวกัน ทาง Tata Steel ก็เป็นบริษัทเหล็กรายใหญ่ที่สุดของอินเดียที่มีรากฐานมั่นคง โดยประกาศยุทธศาสตร์ในการลงทุนในอุตฯเหล็กข้ามชาติมากขึ้น ล่าสุดได้เข้าไปเทกโอเวอร์โรงงานเหล็กที่สิงคโปร์ขนาด 5-6 แสนตัน/ปี
ส่วนเหตุผลที่ Tata Steel ตัดสินใจซื้อหุ้น MS เนื่องจากเป็นบริษัทเหล็กที่ดี มีเทคโนโลยีทันสมัย และมีกำลังการผลิตเหล็กเส้นและเหล็กลวดรายใหญ่ของไทยที่มีกำลังการผลิตสูงถึง 1 ล้านกว่าตัน

อย่างไรก็ตาม ตนคงไม่ขายหุ้น MS ที่ถืออยู่ประมาณ 1% เพราะเชื่อว่าหลังจาก Tata Steel เข้ามาบริหารจัดการแล้ว ราคาหุ้น MS น่าจะสูงขึ้นกว่าราคาที่ทำคำเสนอซื้อครั้งนี้ เมื่อถึงเวลานั้นอาจขายหุ้น MS ออกไปก็ได้ เพราะที่ผ่านมา ก็ไม่ได้เข้าไปบริหาร จัดการ เพียงแต่เข้าไปดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ บริษัทเท่านั้น

ปูนใหญ่แทงกั๊กขาย PTTCH ให้ ปตท.

นายชลณัฐ ญาณารณพ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เคมีภัณฑ์ซิเมนต์ไทย จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือซิเมนต์ไทย (SCC) กล่าวถึงกรณีที่ปตท.สนใจที่จะซื้อหุ้น บมจ.ปตท.เคมิคอล (PTTCH) ที่ปูนใหญ่ถือหุ้นอยู่ประมาณ 20% ว่า บริษัทฯไม่มีนโยบายที่จะขายหุ้น PTTCH ออกไป เนื่องจากยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนมากนัก ขณะที่โครงการโอเลฟินส์ขนาด 1.7 ล้านตัน และดาวน์สตีม ที่ใช้เงินลงทุนรวม 6 หมื่นล้านบาท แหล่งเงินจะมาจากการกู้ยืมและกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน

"เรายังไม่มีความจำเป็นต้องรีบร้อนขายหุ้นปตท.เคมิคอลออกไป เรายังมีเงินสดสำหรับไปลงทุน เพียงพอ แต่ถ้า ปตท.เขาเสนอราคาน่าจูงใจก็ต้องดู เพราะยังไงเราก็ไม่ได้เข้าไปบริหารที่นั่นอยู่แล้ว" นายชลณัฐกล่าว

ทั้งนี้ ปตท. จะเจรจาขอซื้อหุ้น PTTCH จากปูนซิเมนต์ไทยหลังจากที่ได้ควบรวมกิจการ บมจ.ไทยโอเลฟินส์ (TOC) กับ บมจ.ปิโตรเคมีแห่งชาติ (NPC) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากเห็นว่า ปูน ซิเมนต์ไทยมีแผนที่จะสร้างโรงโอเลฟินส์แห่งที่ 2 ขนาดกำลังการผลิต 1.7 ล้านตันแล้วเสร็จในปี 2553 ทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องถือหุ้นใน PTTCH เพื่อความมั่นคงด้านวัตถุดิบอีกต่อไป

ส่วนแนวโน้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในไทยยังเติบโตต่อเนื่องเฉลี่ยปีละ 6-7% ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า แม้ว่าในปี 2549 มีการประเมินว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง แต่เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจปิโตรเคมีของเครือฯ เนื่องจากปัจจุบันเครือซิเมนต์ไทยส่งออกเม็ดพลาสติก คิดเป็นสัดส่วนเกินกว่า 30% ของกำลังการผลิต หากตลาดในประเทศมีปัญหาก็หันไปส่งออกได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us