|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ไตรแอดส์ เดินหน้ากลยุทธ์ลุยเฟส 2 สื่อรถไฟฟ้าใต้ดิน กวาดทั้งลูกค้ารายใหญ่รายเล็ก หลังซุ่มเงียบฝึกวิชากว่าครึ่งปี เร่งครีเอทสารพัดพื้นที่โฆษณาตอบสนองกลุ่มเป้าหมาย ตั้งเป้าขุดเหมือง BMCL โกยรายได้ปีหน้าไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท
ไตรแอดส์ เน็ตเวิร์ค ผู้รับสัมปทานจากบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BMCL ในการให้บริหารสื่อโฆษณาเชิงพาณิชย์ เตรียมก้าวสู่การดำเนินงานในเฟส 2 หลังจากได้เริ่มดำเนินงานตามแผนในระยะแรกไปแล้วเป็นเวลาเกือบ 6 เดือน เริ่มต้นจากพัฒนาสื่อป้ายโฆษณาภายในตัวสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินทั้ง 18 แห่ง รวมถึงในตัวโบกี้รถไฟฟ้าอีก 17 ขบวน ขณะนี้มีอัตราผู้จองโฆษณาภายในตัวสถานีรถไฟฟ้าแล้วกว่า 30% ของพื้นที่โฆษณาทั้งหมด ส่วนตัวโบกี้รถไฟฟ้า มีเจ้าของสินค้าจองพื้นที่โฆษณาเต็ม 100% คาดว่าจะทำรายได้ถึง 100 ล้านบาทในสิ้นปีนี้
ถือเป็นความสำเร็จอย่างสูงของบริษัทฯ ในการทำตลาดเฟสแรก ที่ประสบความสำเร็จในการขายพื้นที่โฆษณาในตัวโบกี้รถไฟฟ้าได้หมด ภายในระยะเวลาเพียง 6 เดือน ส่วนป้ายโฆษณาในสถานีแม้จะมียอดจองเพียง 30% ก็คาดว่าในอนาคตจะได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
สำหรับแนวทางการดำเนินงานระยะที่ 2 ไตรแอดส์จะเน้นนำสื่อชนิดใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนสื่อให้ลูกค้ามากขึ้น โดยบริษัทฯ มีการวิจัยในเชิงลึกทั้งทางด้านประสิทธิผล พฤติกรรมผู้บริโภคในการเข้าถึงสื่อ ความเหมาะสมในการลงสื่อของแต่ละธุรกิจ อันนำไปสู่การเพิ่มความหลากหลายในแพกเกจป้ายโฆษณาที่บริษัทฯ จะนำเสนอ โดยเน้นความเหมาะสมของสื่อแต่ละประเภทกับตัวสินค้าหรือโจทย์ทางการตลาด
ทั้งนี้ งานวิจัยดังกล่าว จะมีทั้งการวิจัยเชิงเปรียบเทียบ ตลอดจนการวิจัยแบบสำรวจความคิดเห็นเชิงลึก เพื่อวิเคราะห์เรื่องงบประมาณการวางสื่อโฆษณาในแต่ละสถานีให้เหมาะสมกับสินค้าแต่ละประเภท และเป็นที่สนใจของกลุ่มเป้าหมาย
สื่อโฆษณารถไฟฟ้าใต้ดินในปี 49 จะมีความหลากหลายมากขึ้นจากเฟสเริ่มแรกที่เน้นการติดตั้งป้ายอันเป็นสื่อธรรมดาคลาสสิกเพียงไม่กี่แบบเท่านั้น โดยสื่อใหม่ที่มีการใช้เครื่องยนต์กลไกอิเล็กทรอนิกส์เป็นตัวดึงดูดความสนใจจะมีบทบาทมากขึ้นในเฟสที่ 2 อาทิ ไตรวิชั่น ป้ายโฆษณาที่สามารถพลิกเปลี่ยนภาพโฆษณาได้ 3 แบบโดยอัตโนมัติ เน้นติดตั้งบริเวณที่ผู้โดยสารต้องหยุดรอเนื่องจากจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดความสนใจ
นอกจากนี้ ยังมีสื่อโฆษณาประเภทกล่องไฟ มีขนาดเพียง 1 ใน 3 ของกล่องไฟปัจจุบันที่ติดตั้งในสถานีมาใช้ เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าที่มีงบประมาณไม่มากนักและมักซื้อโฆษณาเองโดยไม่ผ่านเอเยนซี่ ซึ่งนับวันจะมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ถือเป็นการกระจายช่องทางในการสร้างรายได้ให้มากขึ้น
พื้นที่บริเวณกำแพงข้างบันไดทางขึ้นลงสถานี ไตรแอดส์ จะเปิดให้เช่าสำหรับติดป้ายสติ๊กเกอร์ขนาดใหญ่สำหรับเป็นโฆษณาภาพลักษณ์องค์กรได้อีกด้วย
"บริษัทฯ ยังอยู่ระหว่างการเจรจากับ BMCL เพื่อขอพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมเสริมทางการตลาด ขยายขอบเขตของสื่อในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินให้เป็นการผสมผสานและเชื่อมโยงกันในรูปแบบไอเอ็มซี เพิ่มให้สื่อทั้งหมดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คาดว่าน่าจะสรุปโครงการได้ภายในช่วงไตรมาส 2 ของปีหน้า" เอกลักษณ์ ยิ้มวิไล รองกรรมการผู้จัดการ ไตรแอดส์ เน็ตเวิร์ค กล่าว
ทั้งนี้ อัตราค่าโฆษณาในรูปแบบของแพ็คเกจ จะขึ้นอยู่กับการเลือกลงโฆษณาในแต่ละสถานี หากเป็นสถานีที่มีผู้ใช้บริการหนาแน่น อาทิ สถานีพหลโยธิน สีลม หัวลำโพง หรือ จตุจักร ก็จะถูกจัดอยู่ในเกรด A อัตราจะอยู่ในระดับ 100,000-228,000 บาท/เดือน ส่วนสถานีระดับเกรดB อาทิ กำแพงเพชร สุทธิสาร หรือ ศูนย์วัฒนธรรม อัตราค่าโฆษณาจะอยู่ที่ 84,700-161,000 บาท/เดือน ขณะที่สถานีในกลุ่มเกรด C เช่น สามย่าน รัชดาภิเษก และคลองเตย อัตราค่าโฆษณาจะอยู่ที่ 38,800-126,100 บาท/เดือน
เอกลักษณ์ คาดว่าในปีหน้าหลังจากที่ได้ดำเนินตามแผนงานเฟส 2 ไปแล้วจะสามารถขายพื้นที่โฆษณาในตัวสถานีได้เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่ 30% เป็น 70% และคาดว่าจะมีรายได้รวมไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท
สำหรับสื่อระบบเรียลไทม์ที่เชื่อมต่อแสดงผลพร้อมกันหมดดังเช่น จอแอลซีดีบนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ไตรแอดส์คงไม่นำมาใช้ เนื่องจากมีเรื่องการส่งสัญญาณเข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งเรื่องดังกล่าวอยู่ภายใต้การดูแลสิทธิของ บีเอ็มซีแอล เน็ตเวิร์ค คู่สัญญาที่ได้รับสัมปทานเรื่องเครือข่ายสัญญาณจาก BMCL คาดว่าต้องใช้เงินลงทุนสูง และไม่ได้ประโยชน์มากนัก เพราะจุดที่เป็นทางเดินผ่านของผู้โดยสาร ควรเน้นสื่อที่เป็นลักษณะป้ายมากกว่า โดยอาจจะเป็นป้ายที่มีลักษณะแตกต่างกันไป เนื่องจากหากใช้สื่อที่มีไดนามิกแล้วจะทำให้ผู้สัญจรผ่านรับสารได้ไม่เต็มที่นัก
"เราไม่คิดนำ วีจีไอ โกบอลมีเดีย บริษัทที่ประสบความสำเร็จในการบริหารสื่อทั้งหมดบนสถานีรถไฟฟ้า BTS มาเป็นต้นแบบของการทำธุรกิจ เพราะรูปแบบของสถานีใต้ดินเป็นลักษณะปิด มีพื้นที่ใช้สอยโฆษณามากกว่าและต่างไปจากรถไฟลอยฟ้าค่อนข้างมาก ดังนั้น ไตรแอดส์ จึงได้ศึกษาและใช้โนฮาวจากบริษัทในฮ่องกงที่มีประสบการณ์บริหารสื่อโฆษณาให้รถไฟใต้ดิน MTR มานานกว่า 10 ปีเป็นหลักมากกว่า และมั่นใจว่าหลังการเปิดตัวเฟส 2 แล้ว จะเห็นความสำเร็จที่ชัดเจนยิ่งขึ้น " เอกลักษณ์ กล่าว
|
|
|
|
|