Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2540
"ประเมินราชการ+รัฐวิสาหกิจ 2 กลยุทธ์หลักเปิดแนวรบปีนี้"             
โดย สนิทวงศ์ เจริญรัตตะวงศ์
 


   
search resources

ไทยเรทติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส, บจก. - TRIS
วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์




ในการเข้าไปประเมินผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจนั้น ทริสถือว่าเป็นการเปิดมิติใหม่ของการบริหารรัฐกิจของชาติทีเดียว เพราะเดิมรัฐวิสาหกิจเป็นระบบค่อนข้างปิดในสายตาคนทั่วไป และมีข่าวเรื่องหน่วยงานราชการเข้าไปก้าวก่ายค่อนข้างมาก

ระบบการประเมินผลจึงเปรียบเสมือนเป็นการเปิดระบบระฐวิสาหกิจให้สวาธารณชนได้รู้ได้เห็นมากขึ้น และที่สำคัญยังมีผลโดยตรงกับค่าตอบแทน โบนัส และความอิสระในการบริหารของรัฐวิสาหกิจเอง

"ผลต่อสังคมโดยรวมจะทำให้รัฐวิสาหกิจมีความตระหนักมากขึ้นถึงลูกค้าที่แท้จริงว่าคือ ประชาชนทั่วไปและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการหรือประชาชนนี้จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ใช้ในการพิจารณาการจัดอันดับ" ดร. วุฒิพงษ์ กล่าว

ทริสเริ่มประเมินผลรัฐวิสาหกิจมาตั้งแต่ปลายปี' 38 จำนวน 11 หน่วยงาน โดยเริ่มทำการวิเคราะห ์และกำหนดเป้าหมายร่วมกันระหว่างรัฐวิสาหกิจ ทริส และหน่วยงานราชการ

จากนั้นจะปล่อยให้รัฐวิสาหกิจนั้น ๆ ทำงานจนครบหนึ่งปี ซึ่งก็คือเป็นการดำเนินงานในปี' 39 ที่ผ่านมา และจะนำการดำเนินงานที่ผ่านการตรวจสอบจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) มาประเมิน โดยเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้แต่เริ่ม คาดว่าจะรายงานผลการจัดอันดับสำหรับ 11 รายแรกได้ภายในไตรมาส 1 ของปี' 40 นี้ ส่วนในปีนี้เองจะมีหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่เข้าร่วมโปรแกรมการจัดอันดับอีก 14 หน่วยงานซึ่งจะใช้กระบวนการการประเมินแบบเดียวกันซึ่งคงจะประเมินกันในปี' 41

สำหรับการประเมินรัฐวิสาหกิจ 11 รายแรกเมื่อรวมกับอีก 14 รายของปีนี้ ก็ถือว่าครอบคลุมรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ของประเทศแล้ว เพราะรายใหญ่จริง ๆ มีประมาณ 15 แห่งเท่านั้นซึ่งรวมกันแล้วก็หมายถึง 80% ของประเทศทั้งในส่วนของรายได ้และสินทรัพย์ แต่ที่อยู่ในการประเมินของทริสทั้งหมด 25 แห่งซึ่งถือเป็นอัตราเกือบ 90% ของทั้งรายได้และสินทรัพย์ของประเทศ

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่านอกจากรัฐวิสาหกิจแล้ว ทริสยังขยายพื้นที่มาสู่หน่วยงานราชการด้วย "นี่เป็นสิ่งที่ 2 ที่เราได้เปิดเป็นธุรกิจใหม่หรือจะเรียกว่า แนวรบ ก็ได้" ดร. วุฒิพงษ์ กล่าว

เริ่มในปีนี้ด้วย 3 กรมแรกได้แก่ กรมสรรพากร สำนักงานประกันสังคม และกรมทะเบียนการค้า ทั้งสามกรมเป็นหน่วยงานขนาดกลางค่อนข้างใหญ่

"เป็นการเริ่มต้นที่ดี เพราะการเริ่มที่หน่วยงานใหญ่ ๆ อย่างกรมตำรวจ หรือกรมการปกครอง ซึ่งมีเครือข่ายค่อนข้างกว้างนั้นยืนยันว่าทริสมีศักยภาพทำการประเมินได้ แต่เก็บไว้ในปีถัด ๆ ไป แต่ยืนยันว่าจะทำแน่นอน" ดร. วุฒิพงษ์ กล่าวและเสริมว่า

"โครงการนี้ดีเหลือเกินเพราะฉะนั้นควรจะเริ่มและไม่ควรให้เสียหายแต่แรก ควรจะเริ่มจากหน่วยงานที่เล็กก่อน พอบริหารได้ไม่ยากจนเกินไปแล้วค่อยทำเคสที่ยากขึ้นในปีต่อ ๆ ไป"

สิ่งที่เป็นประเด็นน่าสนใจและเป็นผลประโยชน์ต่อข้าราชการทั้งหลายคือ เมื่อผลการประเมินออกมาจนเป็นที่ยอมรับกันแล้ว ดร. วุฒิพงษ์ตั้งความหวังไว้ว่าจะได้เห็นระบบโบนัสของราชการก็เป็นได้ เพราะการบริการประชาชนที่ถือเป็นงานสาธารณประโยชน์นั้น "ถึงแม้ว่าจะไม่มีผลกำรี้กำไรก็จริง ถ้าข้าราชการทำได้ดีก็ไม่มีเหตุผลที่จะไม่จ่ายโบนัส เมื่อก่อนเรามักฝังติดอยู่ในสมองว่าโบนัสผูกกับกำไรซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ใช่เสมอไป"

ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาดคาดว่าน่าจะเซ็นสัญญาได้ตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา และจะใช้เวลาทำการประเมินประมาณ 4-5 เดือน ผลจะออกมาให้เห็นได้ภายในปีนี้เช่นกัน โดยค่าจ้างจะสูงกว่าการประเมินรัฐวิสาหกิจเนื่องจากขนาดของบุคลากร และเนื้อหางานที่มากกว่า

ทั้งนี้ในการประเมินผลการดำเนินงานนั้นไม่น่าจะเป็นของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานราชการ รวมทั้งภาคเอกชนที่ยังจด ๆ จ้อง ๆ อยู่นั้น ดร. วุฒิพงษ์ให้ความเห็นว่าเอกชนก็มีความสนใจแต่อาจจะตัดสินใจช้ากว่าภาครัฐ และคงกำลังดูผลจากการประเมินของภาครัฐก่อนว่าจะออกมาเป็นอย่างไร

หลักเกณฑ์ในการพิจารณาเหมือนกันคือ การพิจารณาทั้งในแง่ประสิทธิภาพการทำงาน, ประสิทธิผลตรงเป้าหมาย และการพัฒนาศักยภาพขององค์กร ซึ่งทริสจะดูจากทั้งการดำเนินงานในปัจจุบันและแผนในระยะยาว

โดย ดร. วุฒิพงษ์ ได้ให้เหตุผลตบท้ายไว้ว่า "เพราะหลายแผนงานที่ทำหรือมีการปรับปรุงผลอาจจะยังไม่เกิดในทันที เช่น การรีเอ็นจิเนียริ่งที่มีการลงทุนเยอะแยะแต่กว่าผลนี้จะเกิดอาจจะเป็นเวลา 3 ปี หรือ 5 ปี หรือการเปลี่ยนระบบคอมพิวเตอร์ การส่งพนักงานไปฝึกอบรม ล้วนแต่เป็นต้นทุนที่มหาศาลแต่ว่าจะเป็นประโยชน์กับองค์กรในระยะยาว"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us