|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ไอดีซีคาดการณ์ EEE จะเป็นตัวกำหนดทิศทางไอซีทีในเอเชียแปซิฟิก ในรอบปี 2549 โดยมี 3 แกนหลักที่จะผลักดันให้เกิด EEE ส่วนในไทยตลาดพีซีโน้ตบุ๊กมาแรง บรอดแบนด์โตต่อเนื่อง ขณะที่ตลาดโทรคมนาคมรายได้โทร. พื้นฐานถูก VoIP กินตลาดโดยประเมินรายได้รวม ของตลาดโทรคมนาคมรอบปี 2548 ไว้ที่ 5,490 ล้านเหรียญสหรัฐ และเพิ่มเป็น 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2550 โดยมีการสื่อสารประเภทเสียงและข้อมูลจากบริการมือถือเป็นตัวผลักดัน
นายฟิลลิป เดอ มาร์ซแลค รองประธานอาวุโส ฝ่ายธุรกิจระหว่างประเทศ ไอดีซี ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาและให้ข้อมูลการตลาดในอุตสาหกรรมไอทีและโทรคมนาคม กล่าวว่า จากการประเมินของไอดีซีคาดว่าการใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือไอซีทีขององค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะถูกขับเคลื่อนโดย e-Empowered Employer (EEE) โดยมี 3 แกนหลักที่จะผลักดันให้เกิด EEE คือ
1. ในส่วนของผู้ใช้งาน ลักษณะพฤติกรรมการใช้งานฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การเชื่อมต่อ และเนื้อหาอย่างต่อเนื่องของผู้บริโภค จากที่บ้านจะดำเนินต่อไปยังที่ทำงาน โดยผู้บริโภคหวังจะใช้ประสบการณ์การใช้งานไอทีแบบเดียวกับที่บ้านจากที่ทำงาน หรือไม่ก็มาตรฐานบริหารด้านฐานข้อมูลขององค์กรจะต้องดีกว่าซีไอโอหรือผู้จัดการระดับบริหารจำเป็นจะต้องปรับปรุง เพื่อตามให้ทันความต้องการในการแข่งขันขององค์กร รวมถึงความต้องการของบุคลากรโดยจำเป็นที่จะต้องตัดสินใจอย่างถ้วนถี่ในการลงทุนใดๆ
2. ในสังคมของผู้ค้าไอทีจำเป็นจะต้องคิดค้นลักษณะโครงสร้างธุรกิจที่สามารถวิวัฒนาการรูปแบบ การส่งมอบสินค้าความสามารถในการปรฏิบัติงาน และคัสโตเมอร์ เซอร์วิส เพื่อตอบสนองต่อ ความต้องการขององค์กรธุรกิจรวมไปถึงลักษณะการจัดซื้อ
3. รูปแบบของอุตสาหกรรมไอซีทีจะพบกับแรงกดดันที่จะปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การเข้าตลาด ซึ่งจะทำให้เกิดการทดลองเพื่อพัฒนา การกระจายสินค้า และการสนับสนุนเพื่อลดค่าใช้จ่าย โอกาสลักษณะนี้จะทำให้เกิดผู้ค้ารายใหม่ๆ ในอุตสาห-กรรมนี้
"e-empowerment จะกลายเป็นพื้นฐานซึ่งบุคลการ ลูกค้า ซัปพลายเออร์ คู่ค้า และประชาชนทั่วไปเห็นว่า นี่เป็นสิ่งที่พวกเขาคาดหวังว่าจะได้รับจากไอซีทีในที่ทำงาน"
ไอดีซีเชื่อว่ามี 10 แนวโน้มที่จะเป็นตัวกำหนด ทิศทางของอุตสาหกรรมไอซีทีและจะขับเคลื่อนค่าใช้จ่ายด้านไอซีทีในเอเชียแปฟิก ไม่รวมญี่ปุ่นในปี 2549 คือ
1. คอนเทนต์สำหรับการเชื่อมต่อแบบไร้สายยังคงมีความร้อนแรง
2. Skype และ VoIP สำหรับผู้บริโภค ที่จะยังมีอัตราการโตอย่างต่อเนื่อง
3. อุปกรณ์แบบรวมหลากหลายฟังก์ชัน จะมีให้เลือกมากมายในตลาด
4. การควบรวมด้านไอทีจะผลักดันแบบแผนการจัดหาและการบริหารโครงสร้างพื้นฐานไอที 5. ข้อมูลอัจฉริยะหรือบิสิเนส อินเทลลิเจนซ์ (บีไอ) ซึ่งจะมีอัตราการโตอย่างเต็มที่ เพราะตัวสำคัญที่สุดในยุคนี้
6. การบริหารและควบคุมไอเดนทิตี้หรือการเข้าถึงข้อมูล
7. ความสามารถในการฟื้นคืนสู่ปกติ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดขององค์กรธุรกิจที่จำเป็นจะต้องพึ่งพาโครงสร้างพื้นฐานไอทีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
8. วิธีการใหม่ในการ จับคู่กับคู่ค้าเพื่อก้าวให้ทันความต้องการของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์
9. โอเพ่นซอร์สมีบทบาทมากขึ้นในตลาดบางประเทศ เช่น จีน อินเดีย และตลาดภาคราชการ
10. รูปแบบการส่งมอบบริการทางด้านไอทีจะเปลี่ยนแปลงไป
ส่วนมูลค่าตลาดบริการโทรคมนาคมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกไม่รวมญี่ปุ่น รอบปี 2549 ไอดีซีคาดการณ์ไว้ว่าจะโต 7% หรือมีมูลค่ากว่า 175 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ตลาดไอทีรวมจะมีอัตราการโต 6% คิดเป็นมูลค่าสูงกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยสัดส่วน 64% จะมาจากจีน และอินเดียรวมกัน โน้ตบุ๊กในไทยมาแรง
สำหรับตลาดประเทศไทยในส่วนคอมพิวเตอร์ พีซีที่แยกเป็น 3 ประเภทคือ เดสก์ท็อป โน้ตบุ๊ก และเซิร์ฟเวอร์ โดยเดสก์ท็อปรอบปี 2547 ติดลบ 6% เนื่องจากปี 2546 มีโครงการคอมพิวเตอร์เอื้ออาทรของรัฐบาล และไม่มีโครงการขนาดใหญ่ในปีนี้ ส่วนปี 2548 มีอัตราการโตอยู่ที่ 13.9% ซึ่งถือว่าเข้าสู่อัตราการโตปกติ หรือมีอัตราการโตเฉลี่ย ต่อปีจากปี 2547-2552 อยู่ที่ 11.4%
โน้ตบุ๊กจะมีอัตราการโตมากกว่าเดสก์ท็อปโดยปี 2547 โต 12.3% ส่วนปี 2548 คาดว่าจะโตประมาณ 43.5% และคาดว่าจะมีอัตราการโตเฉลี่ยต่อปีจากปี 2547-2552 อยู่ที่ 17.7% ส่วนเซิร์ฟเวอร์ไม่มีอัตราการโต
ปัจจัยที่ส่งผลต่อตลาดพีซีมาจาก
1. เศรษฐกิจทั้งจากอัตราการโตของจีดีพี นโยบายของรัฐบาล รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยเงินตรา
2. ดีมานด์ ซึ่งเรื่องราคาถือว่ามีผลทำให้เกิดความต้องการจากตลาด มาก นอกจากนี้ ยังมีส่วนต่างของราคาระหว่างเดสก์ท็อปกับโน้ตบุ๊ก ที่ราคาโน้ตบุ๊กเริ่มลดลงเดสก์ท็อป ซึ่งเป็นสินค้าทดแทนแต่ไม่เต็มตัว
3. การพัฒนาของเทคโนโลยี
4. การผลักดันจากผู้ผลิต ผู้ค้า โดยการตอบโจทย์ด้วยความหลากหลายของสินค้า รวมถึงการโปรโมตในรูปแบบของแคมเปญต่างๆ สมาร์ทโฟนโตสูง
ส่วนทิศทางตลาดของอุปกรณ์สื่อสารในปี 2549 ซึ่งไอดีซีแยกเป็น 2 กลุ่มหลักคือ 1. แฮนด์เฮลด์ ดีไวซ์ ซึ่งประกอบด้วยเพน-เบส แฮนด์เฮลด์ กับคีย์แพด-เบส แฮนด์เฮลด์ 2. คอนเวอร์เจนซ์ ดีไวซ์ ที่รวมหลายเทคโนโลยีเข้าด้วยกันซึ่งประกอบด้วยดาต้า-เซนทริกที่เป็นพีดีเอที่เพิ่มฟังก์ชันโฟนเข้ากับวอยซ์-เซนทริกที่เป็นสมาร์ทโฟน ที่เพิ่มระบบปฏิบัติการหรือโอเอสเข้าไป
รอบปี 2548 เพน-เบสจะหดตัวลงโดยจะมีเพียง 1.5% ขณะที่สมาร์ทโฟนมีเพิ่มมากขึ้นโดย มีสัดส่วนอยู่ที่ 89.7% เพราะผู้บริโภคไม่ต้องการพกพาอุปกรณ์สื่อสาร 2 เครื่อง ที่เหลือเป็นดาต้า-เซนทริก 8.8% ทั้งนี้ ไอดีซีคาดการณ์ไว้ว่าอุปกรณ์สื่อสารจะมีอัตราการโตเฉลี่ยต่อปีจาก 2547-2552 อยู่ที่ 41.5% ปี 2552 ซอฟต์แวร์มีมูลค่าถึง 466 ล้านเหรียญ
ด้านตลาดซอฟต์แวร์ในปี 2548 ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชันมีส่วนแบ่งอยู่ที่ 37.8% ซอฟต์แวร์ ซิสเต็ม อินฟราสตรักเจอร์มีส่วนแบ่ง 41.6% และซอฟต์แวร์แอปพลิเคชัน ดีเวลลอปเมนต์ แอนด์ ดีพลอยเมนต์ มีส่วนแบ่ง 20.6% และมีอัตราการโตเฉลี่ยต่อปีจาก 2547-2552 อยู่ที่ 12.4% และคาดว่า ปี 2552 จะมีมูลค่าสูงถึง 466 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากมีการใช้แอปพลิเคชันมากขึ้นเรื่อยๆ
ส่วนทิศทางของตลาดซอฟต์แวร์ปีหน้า
1. ตลาดเอสเอ็มอีจะเป็นที่สนใจของผู้ค้า โดยจะมีการนำเสนอโซลูชันที่เหมาะสมใช้ นอกจากนี้ จะมีการขยายตลาดไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น
2. โอเพ่นซอร์สจะมีการใช้งานเพิ่มมากขึ้น
3. ผู้ค้าจะมีการพัฒนาแอปพลิเคชันใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง
4. กลุ่มการเงินการธนาคารจะมีการลงทุนมากขึ้นเพื่อให้ระบบ Compliance VoIP กระทบตลาดโทร.พื้นฐาน
สำหรับแนวโน้มของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ไทยรอบปี 2549 รายได้ของโทรศัพท์พื้นฐานจะลดลง 3.3% เนื่องจากการเข้ามาของบริการวอยซ์ โอเวอร์ ไอพี (VoIP) และมีความนิยมในการใช้มากขึ้น ส่วนอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงหรือ บรอดแบนด์จะมีอัตราการโต 104% และมีผู้ใช้บริการรายใหม่ประมาณ 8 แสนราย จากรอบปีนี้ที่คาดว่าจะอยู่ที่ 4 แสนราย นอกจากนี้ จะมีการนำเทคโนโลยีไวแมกซ์มาทดลองติดตั้ง และให้บริการ ขณะที่ผู้ให้บริการจะมองหาช่องทางการเพิ่มรายได้จากการพัฒนาบริการใหม่ๆ จากการผสมผสานของเทคโนโลยีของโทรศัพท์พื้นฐานเข้าโมบาย หรือฟิกซ์-โมบาย คอนเวอร์เจนซ์
ด้านตลาดบริการประเภทไร้สายในเรื่องของ 3 จี ไม่สามารถคาดการณ์ได้เนื่องจากมีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง และยังต้องรอใบอนุญาตหรือไลเซนส์ รวมถึงนโยบายของรัฐบาล แต่จะมีการนำมาทดสอบ นอกจากนี้ จะมีแอปพลิเคชันใหม่ๆ เข้าสู่ตลาดเช่น การดาวน์โหลดเพลงทั้งอัลบั้มไว้บนมือถือ เป็นต้น ขณะเดียวกันก็จะมีการสร้างเครือข่ายให้ ผู้ประกอบการรายอื่นเช่า
ส่วนมูลค่าจากการให้บริการของอุตสาหกรรม โทรคมนาคมโดยรวมรอบปี 2548 คาดว่าจะอยู่ที่ 5,490 ล้านเหรียญสหรัฐ และเพิ่มเป็น 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2550 โดยมีรายได้จากบริการประเภทเสียงและข้อมูลที่มาจากมือถือเป็นตัวผลักดันตลาด ขณะที่ดาต้า เน็ตเวิร์ก เซอร์วิส ก็ยังจะโตต่อเนื่อง ส่วนรายได้ประเภทเสียงที่เป็นฟิกซ์ไลน์จะลดลง
|
|
|
|
|