Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน15 ธันวาคม 2548
เตือนวิกฤตหนี้ครัวเรือน จีเพิมเงินออมผ่านกบถ.             
 


   
search resources

ทนง พิทยะ
Economics




เงินออมภาคครัวเรือนลดฮวบ ส่งสัญญาณ "วิกฤต" ภาระหนี้สินภาคประชาชน หนุนรัฐบาลเร่งส่งเสริมการออม แนะตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญองค์กรส่วนท้องถิ่น (กบถ.) ถึงเงินออมเพิ่ม ขณะที่ขุนคลังแจงนโยบายเศรษฐกิจคู่ขนาน ภาครัฐบาลไม่ใช่ต้นเหตุทำเงินออม ภาคครัวเรือนลด ชี้การบริหารเศรษฐกิจของประเทศ ต้องหาจุดพอดีระหว่างการออมและการบริโภค เพื่อสร้างการเติบโต ควบคู่รักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ

นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวเปิด การสัมมนา "มิติใหม่ของการออม" ที่จัดโดยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการแห่งชาติ(กบข.) และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ว่า คำถามที่น่าสนใจมากที่สุดในขณะนี้ก็คือ การออมภาคครัวเรือน ที่ลดลงค่อนข้างมากเกิดขึ้นจากอะไร เป็นเพราะนโยบายเศรษฐกิจคู่ขนานของรัฐบาลชุดปัจจุบันหรือไม่ ซึ่งหากวิเคราะห์กันให้ลึกๆ แล้ว จะพบว่า การออมไม่ได้ลดลง แต่มีการเคลื่อนย้ายรายได้ประชาชาติส่วนหนึ่งไปยังคนระดับล่าง เพื่อช่วยกระตุ้นให้ประชาชนระดับรากหญ้ามีรายได้เพิ่มขึ้น และเป็นการแก้ไขปัญหาความยากจนของประเทศ

"การทำให้คนระดับล่างมีราย ได้มากขึ้นก็จะทำให้เกิดการบริโภค มากขึ้น เพราะคนที่มีรายได้น้อย เมื่อรายได้มากขึ้นก็จะบริโภคเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่มากกว่าคนรวย ซึ่งนโยบายเศรษฐกิจคู่ขนานของรัฐบาลเป็นการสร้างการบริโภค ทำให้สัดส่วนการบริโภคเพิ่มขึ้น แต่คนที่มีฐานะร่ำรวยยังคงมีการออมอยู่ และระดับการออมสุทธิก็ไม่ได้ลดลง" นายทนงกล่าว

นายทนงกล่าวด้วยว่า ในทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาคนั้น การออมจะเท่ากับการลงทุน เพราะฉะนั้น หากประเทศไม่มีการออมก็จะทำให้ไม่มีการลงทุน เมื่อไม่มีการ ลงทุนก็จะไม่เกิดผลผลิต ไม่เกิดการจ้างงาน ไม่เกิดรายได้ อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่น่าสนใจคือ อัตราการออม และการบริโภคภายในประเทศจะต้องอยู่ในจุดที่เหมาะสม เพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศเจริญเติบโตภายใต้การรักษาเสถียรภาพได้เป็นอย่างดี

"การบริหารเศรษฐกิจมหภาค ก็เหมือนกับเดินบนเส้นด้วย ถ้ามีการออมมาก เศรษฐกิจก็ไม่โต เพราะบริโภคน้อย แต่ถ้าบริโภค มาก ก็ไม่เหลือออม ซึ่งก็จะมีผลกระทบต่อการลงทุนและต่อเสถียรภาพ ดังนั้นต้องดูว่าความพอดีที่จะทำให้เราสามารถเดินบนเส้นด้ายได้ไปเรื่อยๆ อยู่ตรงจุดไหน"

นายสมชัย ฤชุพันธุ์ ประธานมูลนิธิสถาบัน พัฒนสยาม กล่าวว่า สัดส่วนการออมในภาคครัวเรือนเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของไทยปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ประเทศเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ โดยในช่วงหลังวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2541 สัดส่วนการออมในภาคครัวเรือนต่อจีดีพีอยู่ในระดับสูงถึง 10.17% แต่หลังจากนั้นได้ปรับตัวลดลงอย่าง ต่อเนื่อง โดยในปี 2546 สัดส่วนการออมในภาคครัวต่อจีดีพีลดลงเหลือเพียง 3.87% เท่านั้น

ขณะที่การออมภาคธุรกิจ ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540 อยู่ที่ 2.91% เมื่อเทียบกับจีดีพี ค่อยๆขยับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในปี 2546 การออม ภาคเอกชนขยับตัวเพิ่มขึ้นมาเป็น 5.64% เมื่อเทียบกับจีดีพี

"ตัวเลขการออมในภาคครัวเรือนที่ปรับตัวลดลง ถือเป็นสัญญาณเตือนภัยอย่างหนึ่งว่า ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตคือ ปัญหาหนี้ภาคครัวเรือน แทนที่จะเป็นภาคธุรกิจเหมือนที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งชี้ให้เห็นว่าวิกฤตอาจเกิดขึ้นในอนาคตจะเป็นวิกฤตหนี้ภาคครัวเรือน ถ้าแนวโน้มการออมภาคครัวเรือนยังลดลงต่อเนื่อง วิกฤตนี้จะรุนแรง และความทุกข์ยากจะเกิดกับภาคประชาชนโดยตรง"นายสมชัยกล่าว
สำหรับสาเหตุที่การออมในภาคครัวเรือนลดลง ส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมการจับจ่ายใช้ สอยที่มีการบริโภคสูงเกิดรายได้ ซึ่งส่วนหนึ่งอาจจะมาจากการที่คนเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มาก ขึ้น ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี แต่การเข้าถึงแหล่งเงินกู้ เป็นการกู้มาเพื่อลงทุนหรือการบริโภค หากเป็น การกู้มาเพื่อบริโภคก็เป็นเรื่องที่น่าห่วง เพราะไม่ได้ก่อให้เกิดการลงทุน

นายสมชัย เสนอแนะว่า ในปัจจุบันได้มีการกระจายอำนาจการคลังไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทำให้ อปท.มีรายได้ที่มาจาก การจัดเก็บของ อปท. และการจัดสรรจากกระทรวงการคลัง โดยในปี 2549 รายได้รวมของ อปท.จะมีประมาณ 327,113 ล้านบาท และ อปท. มีบุคลากรจำนวน 239,801 คน ซึ่งบุคคลเหล่านี้ไม่ได้ออมผ่านเครื่องมือการออมที่มีอยู่ในปัจจุบัน หากมีการจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปถ.) เชื่อว่าจะช่วยเพิ่มเงินออมในระบบให้มากขึ้น

นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการศึกษาถึงการลดลงของการออมภาคครัวเรือน และการออมภาคธุรกิจที่ปรับตัวเพิ่ม ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ชาวบ้านซึ่งผลิตสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ยกระดับเป็นผู้ประกอบการหรือไม่ เข็น กบช.เพิ่มเงินออมรับเมกะโปรเจกต์

นางรพีสุภา หวังเจริญรุ่ง นักวิจัยอาวุโส สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง กล่าวว่า การลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจกต์) ของรัฐบาล ระหว่างปี 2549-2552 มูลค่า 1.8 ล้านบาท หากเศรษฐกิจขยายตัวเฉลี่ย 5.62% รัฐบาลจะสามารถรักษาระดับหนี้สาธารณะให้เป็นไปตามกรอบได้ โดยตั้งอยู่บนสมมติฐานการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดไม่เกิน 3% ของจีดีพี

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมีนโยบายที่จะส่งเสริม การออมในระบบให้มากขึ้น โดยในปีนี้ ได้รณรงค์ ให้เป็นปีแห่งการออมแห่งชาติ กระตุ้นการออมภาคครัวเรือนผ่านโครงการบัญชีครัวเรือน และการดำเนินการจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่ง ชาติ (กบช.) เพื่อทำให้เกิดความครอบคลุมการออม และส่งเสริมให้ผู้ออมมีรายได้ เพื่อการเกษียณอายุอย่างเพียงพอ

นางดัยนา บุนนาค กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน (บลจ.) กสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จของการปฏิรูประบบบำเหน็จบำนาญนั้น สิ่งสำคัญอยู่ที่วัตถุประสงค์หลักของการปฏิรูประบบบำเหน็จบำนาญ ซึ่งจะต้องให้ความสำคัญว่าจะต้องหารายได้ที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตของผู้ใช้แรงงานเมื่อเกษียณ ซึ่งจะต้องให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดให้แก่เจ้าของเงิน

"ก้องเกียรติ" หวังเพิ่มนักลงทุนสถาบัน

นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) หรือ ASP กล่าวว่า การออมกับทิศทางการพัฒนาตลาดทุนไทยในอนาคต ว่า ขณะนี้ตลาดทุนไทยกำลังอยู่ในช่วงที่จะมีการ พัฒนาต่อ ดังนั้น การออมในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ฯลฯ มีบทบาทอย่างมากในการสร้างเสถียรภาพตลาดหุ้น เนื่องจาก ขณะนี้นักลงทุนในตลาดหุ้นไทยนั้น 60% เป็นนักลงทุนรายย่อย ที่มีการซื้อขายเร็ว หากปล่อยให้นักลงทุนดังกล่าวเพิ่มสัดส่วนขึ้น ก็จะทำให้ผลแทนในอนาคตก็จะต่ำ

ทั้งนี้ หากมีกองทุนขนาดใหญ่เกิดขึ้นก็จะทำให้ตลาดหุ้นไทยไม่ต้องพึ่งพิงการซื้อขายของนักลงทุนต่างประเทศ เพราะมีขนาดเม็ดเงินที่ มาก และจะทำให้ตลาดหุ้นมีเสถียรภาพมากขึ้น โดยการทำแผนการพัฒนาตลาดทุนไทยในอีก 5 ปีนี้ ก็จะให้ความสำคัญในการเพิ่มสัดส่วนของนักลงทุนสถาบันให้มากขึ้น กว่านักลงทุนรายย่อย ที่มีการซื้อขายระยะสั้น

นายก้องเกียรติ กล่าวว่า ประมาณกลางปีหน้าจะมีความชัดเจนในเรื่องการทำ FTA กับสหรัฐอเมริกามากขึ้น หรืออาจะมีการเซ็นสัญญา ซึ่งจะมีผลในการปฏิบัติในปี 2550 โดยจะมีผลกระทบต่อธุรกิจในด้านการเงิน เช่น ธนาคารพาณิชย์ ประกัน บลจ. บล.และนอนแบงก์ เพราะ สหรัฐอเมริกาจะให้ประเทศไทยปฏิบัติต่อเขาเหมือนเป็นนักลงทุนไทยคนหนึ่งที่สามารถลงทุน ได้ และถือหุ้นในตลาดหุ้นไทยได้ 100%

ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยควรที่จะมีการปรับตัวเตรียมพร้อมที่จะมีการเปิดเสรี ซึ่งหากบริษัทยังไม่มีความเข้มแข็งก็ควรหาพันธมิตรเข้า มาหรือหากแข่งขันไม่ได้ก็ควรที่จะขายธุรกิจออก ไป โดยที่ผ่านมาก็เริ่มมีการปรับตัว เช่น สื่อสาร และธุรกิจอาหาร

ทั้งนี้ คาดว่าเศรษฐกิจไทยปีหน้า ยังคงมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่เป็นอัตราที่ชะลอตัว จากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาขึ้น อัตราเงินเฟ้อที่ 4% มองว่าจีดีพีอยู่ที่ 5% และคาดว่าผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนจะโต 5% เช่นกัน อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า จีน จะมีการปรับขึ้นค่า เงินหยวนอีก ซึ่งจะส่งผลดีต่อค่าเงินของประเทศ ในแถบเอเชียให้แข็งค่าขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us