|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
แบงก์ชาติค่อนข้างระมัดระวังใน การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายครั้งล่าสุด ก่อนจะตัดสินใจปรับอาร์พีขึ้น 0.25% จากที่สองครั้งก่อนปรับขึ้นครั้งละ 0.5% เผยความจำเป็นในการปรับดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วมีน้อยลง แต่ยังคงเกาะติดเงินเฟ้อเพราะมีแรงกดดันด้านราคา ยอมรับกังวลแนวโน้มราคาน้ำมัน และความไม่สมดุลของเศรษฐกิจสหรัฐฯ นักวิเคราะห์ชี้ กนง.อิงตามเฟดที่เริ่มหยุดขึ้นดอกเบี้ย ด้านแบงก์กรุงไทยขึ้นดอกเบี้ยฝากระยะยาวสูงสุดถึง 0.75% ส่วนเงินกู้ 0.25% มีผลวันนี้
วานนี้ (14 ธ.ค.) นางอัจนา ไวความดี ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมนัดสุดท้ายปี 2548 ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ว่า มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรืออัตราดอกเบี้ย ตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน (อาร์พี 14 วัน) อีก 0.25% ส่งผลให้ดอกเบี้ยนโยบายปรับขึ้นจาก 3.75% มาอยู่ที่ 4% เนื่องจากพิจารณาภาวะเศรษฐกิจ และแนวโน้มในระยะต่อไปแล้วเห็นว่าความ เสี่ยงของอัตราเงินเฟ้อยังคงมีแรงกดดันด้านราคาอยู่ อย่างไรก็ตาม ความจำเป็นที่ต้องปรับอย่างรวดเร็ว มีน้อยลง
ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤศจิกายนชะลอลงมาอยู่ที่ 5.9% จากเดือนตุลาคมที่อยู่ในระดับ 6.2% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัวในเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ 2.4% คาดว่าอัตราเงินเฟ้อปีหน้ายังอยู่ที่ 3.5-5%
"แม้ว่าเงินเฟ้อปรับตัวไปในทิศทางที่ชะลอลง แต่ในระบบเศรษฐกิจก็ยังมีแรงกดดันที่อาจส่งผลให้เงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้นได้อีก เช่นราคาน้ำมันที่อาจปรับสูงขึ้นในระยะต่อไป"นางอัจนากล่าว
สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ที่แท้จริงขณะนี้ยังคงติดลบ 1.6% การปรับอาร์พีขึ้นครั้งนี้จึงน่าจะช่วย ให้ดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงติดลบน้อยลง ซึ่งหากพิจารณาจากแนวโน้มเงินเฟ้อทั่วไปที่จะชะลอตัวลงในช่วงครึ่งปีแรกของปีหน้าตามการอ่อนตัวของราคาน้ำมันดิบโลก และการขยับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝาก ของธนาคารพาณิชย์ คาดว่าดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงคิดจากดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน จะกลับมาเป็นบวกได้ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2549
นางอัจนากล่าวถึงสถานการณ์เศรษฐกิจ และนโยบายการเงินในต่างประเทศว่า ธนาคารกลางหลาย ประเทศทั้งในเอเชียและยุโรปเริ่มปรับขึ้นดอกเบี้ย แม้กระทั่งธนาคารกลางของสหภาพยุโรปก็ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรก แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจของโลกยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง และการดำเนินนโยบายการเงินที่สร้างเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของธนาคารกลางทั่วโลก ชี้ให้เห็นว่าเงินเฟ้อ โลกอยู่ในภาวะที่ถูกควบคุมไม่ให้สูงขึ้นอย่างเร็วนัก แต่สิ่งที่ไทยและทั่วโลกเป็นห่วงคือ เรื่องราคาน้ำมันในอนาคต และปัญหาความไม่สมดุลของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งต้องจับตาดูในระยะต่อไป
นายทนง พิทยะ รมว.คลัง กล่าวว่า ดอกเบี้ยที่เหมาะสมจะต้องทำให้เกิดการออมและไม่ทำให้เกิดการไหลเข้าและออกของเงินทุนเกินกว่าความจำเป็น ทั้งนี้ ดอกเบี้ยในประเทศไม่จำเป็นต้องปรับตามสหรัฐฯทุกครั้ง อย่างไรก็ตาม นายทนงคาดว่าจากนี้เฟดอาจปรับดอกเบี้ยขึ้นอีกครั้ง กรุงไทยกระชากดบ.ฝากยาว 0.75%
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ธนาคารจะปรับเพิ่มดอกเบี้ยเงินฝากขึ้นอีก 0.25-0.75% ต่อปี และเงินกู้ขึ้นอีก 0.25% ต่อปี ประกอบด้วยเงินฝากประจำ 3 เดือน วงเงินน้อยกว่า 1 ล้านบาท จ่ายในอัตรา 2.00% วงเงินตั้งแต่ 1 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 10 ล้านบาท 2.50% วงเงินตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป 2.75% เงินฝากประจำ 6 เดือน วงเงินน้อยกว่า 1 ล้านบาท 2.25% ต่อปี วงเงิน ตั้งแต่ 1 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 10 ล้านบาท 2.75% ต่อปี วงเงินตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป 3.00% เงินฝากประจำ 12 เดือน วงเงินน้อยกว่า 1 ล้านบาท 2.50% ต่อปี วงเงินตั้งแต่ 1 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 10 ล้านบาท 3.00% วงเงินตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป 3.25% เงินฝากประจำ 24 เดือน 3.25% เงินฝากประจำ 36 เดือน 3.75%
สำหรับเงินฝากกรุงไทยทวีคูณ ซึ่งเป็นเงินฝากปลอดภาษี โดยผู้ฝากต้องฝากเท่ากันทุกเดือนเป็นระยะเวลา 24 เดือน ผลตอบแทนอิงกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนสูงสุด บวก 1% ธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ย 4.25% หรือเพิ่มขึ้น 0.75%
ด้านเงินกู้ ธนาคารจะปรับดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภทขึ้นอีกอย่างละ 0.25% ทำให้ดอกเบี้ยเงินกู้ MLR ปรับเพิ่มเป็น 6.50% MOR ปรับเป็น 6.75% และ MRR ปรับเป็น 7.00% มีผลตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะอัตราดอกเบี้ยในตลาด ทั้งนี้ การปรับดอกเบี้ยของธนาคารกรุงไทยครั้งนี้ เป็นการ ปรับตามหลังธนาคารพาณิชย์เอกชนขนาดใหญ่ที่ได้ปรับขึ้นไปก่อนหน้า
นางชาลอต โทณวณิก ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า ธนาคารกรุงศรีฯ คาดว่า กนง.จะมีการปรับดอกเบี้ย นโยบาย 0.50% แต่เมื่อ กนง.ปรับขึ้นเพียง 0.25% ธนาคารฯ จึงยังไม่มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยในตอนนี้
นายเมฆ เมฆเสรีกุล นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) กล่าวว่า เมื่อเปรียบเทียบสองครั้งก่อนหน้า กนง.ได้ปรับเพิ่มอาร์/พี 14 วัน ขึ้นครั้งละ 0.5% การปรับเพียง 0.25% ในครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าแม้ดอกเบี้ยนโยบายยังอยู่ในทิศทางขาขึ้น แต่ความจำเป็นที่จะต้องปรับอย่างรวดเร็วลดลง
"การปรับดอกเบี้ยดังกล่าว ส่วนหนึ่งมาจาก การปรับดอกเบี้ยของเฟด ซึ่งหลายคนเชื่อว่า นโยบายการเงินของสหรัฐฯที่มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง ได้มาถึงจุดที่สมดุลแล้ว และจะหมดลงในไม่ช้า"
เฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.25%
ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) มีมติวันอังคาร(13) ขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปอีก 0.25% เป็นครั้งที่ 13 ต่อเนื่องกัน แต่ก็ส่งสัญญาณบ่งบอกว่า กระบวนการเพิ่มความเข้มงวดด้านสินเชื่อขึ้นเรื่อยๆ เช่นนี้ใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว
คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (เอฟโอเอ็มซี) ลงมติด้วยเสียงเอกฉันท์ให้เพิ่มเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยเฟดฟันด์เรต ซึ่งเป็นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ขึ้นไปหนึ่งสลึง เป็น 4.25% อันเป็นระดับสูงที่สุดนับแต่เดือนเมษายน ปี 2001 เป็นต้นมา ความเคลื่อนไหวของเฟดคราวนี้เป็นเรื่องที่คาดหมายกันอย่างกว้างขวางอยู่แล้ว และนักวิเคราะห์ในตลาดการเงินพุ่งความสนใจไปที่คำแถลง อธิบายความมากกว่าว่าจะบ่งชี้ทิศทางแนวโน้มในอนาคตอย่างไร
ประเด็นหนึ่งซึ่งได้รับการหยิบยกขึ้นมาพูดกันมาก คือ ในคำแถลงหลังการประชุมคราวนี้ไม่ปรากฏ วลีที่บรรยายภาวะดอกเบี้ยว่าอยู่ในสภาพ "เอื้ออำนวย" ต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ หลังจากที่อยู่ใน คำแถลงภายหลังการประชุมเอฟโอเอ็มซีมาต่อเนื่องหลายครั้งหลายครา ดังนั้นจึงน่าจะหมายถึงว่า การรณรงค์ที่เฟดผลักดันดอกเบี้ยให้พุ่งขึ้นจากระดับ ต่ำเตี้ยติดดินที่ 1.0% เมื่อตอนกลางปี 2003 บัดนี้กำลังใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว
แต่กระนั้น คำแถลงคราวนี้ก็มีถ้อยคำบ่งชี้เช่นกันว่า เฟดยังจะไม่หยุดในตอนนี้ ทว่าน่าจะขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ไปอีกอย่างน้อยครั้งหนึ่ง โดยกล่าวว่า "คณะกรรมการวินิจฉัยว่า นโยบายมุ่งให้เกิดความมั่นคงอย่างค่อยเป็นค่อยไปต่อไปอีกสักหน่อย น่าจะยังมีความจำเป็น ทั้งนี้เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่างๆ และจะได้สามารถบรรลุทั้งอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ทั้งเสถียรภาพของราคาในอาการที่ค่อนข้างสมดุลได้"
เอฟโอเอ็มซีกำหนดประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 31 มกราคม ปีหน้า ซึ่งจะเป็นการประชุมครั้งสุดท้ายที่ อลัน กรีนสแปน ได้เข้าร่วมในฐานะประธานเฟด นักวิเคราะห์บางคนจึงมองว่า การที่คำแถลงของเฟดเปลี่ยนถ้อยคำไปจากเดิมบ้าง น่าจะเป็นการปูพื้น เผื่อให้ เบน เบอร์นานกี ว่าที่ประธานเฟดคนใหม่ มีที่ทางที่จะปรับนโยบายได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
|
|
 |
|
|