Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2540
"สวีเดนมอเตอร์ส เมื่อ "ไซมอน" ไม่เห็นหัว "เบนซ์-บีเอ็ม"             
โดย สันทิฎฐ์ สมานฉันท์
 

 
Charts & Figures

ยอดจำหน่ายรถยนต์หรูหรา 3 ยี่ห้อหลักของเมืองไทย
งบกำไร-ขาดทุน บริษัท สวีเดนมอเตอร์ส จำกัด (มหาชน)


   
search resources

สวีเดนมอเตอร์ส, บมจ.
ไซม่อน อี. โบไนเธิน
เจฟฟรีย์ โรว์




ตลาดรถยนต์วอลโว่ในไทย ถูกเมอร์เซเดส-เบนซ์ และบีเอ็มดับบลิว บดบังรัศมีมา 5 ปีเต็ม ๆ จากเคยมียอดขายมากที่สุดในกลุ่มรถยนต์หรูหรา ต้องตกไปอยู่ที่สาม แม้สองปีหลังจะยืนอยู่ในอันดับสอง แต่นั่นก็ยังไม่ใช่เป้าหมาย หลังเปิดเสรี สวีเดนมอเตอร์ส เก็บตัวเรื่อยมา การทำตลาดมุ่งไปที่การสร้างฐานให้มั่นคงมากกว่าการบุก 'แต่ปีนี้ราจะบุกแล้ว' ไซม่อน อี. โบไนเธินยืนยันอย่างหนักแน่น และปี ค.ศ. 2000 วอลโว่จะมียอดขายเป็นอันดับหนึ่งอีกครั้ง

กลางปี 2539 ที่ผ่านมา บริษัทสวีเดน มอเตอร์ส จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์นั่งวอลโว่ในไทย ได้ประกาศปรับโครงสร้างการบริหารในองค์กรครั้งใหญ่ ด้วยการจัดสายงานแบ่งแยกอย่างชัดเจนออกเป็น 6 สายและ 1 ฝ่าย คือ สายงานปฏิบัติการสาขา, สายงานปฏิบัติการตัวแทนจำหน่าย, สายงานขาย, สายงานการตลาด, สายงานบริการหลังการขาย, สายงานการเงินและธุนการและฝ่ายสารสนเทศ

เป้าหมายหลักของการปรับครั้งนี้ก็เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ 6 ประการคือ การลดต้นทุน, เสริมสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้เกิดกับลูกค้า, พัฒนาสาขาและตัวแทนจำหน่าย, พัฒนาองค์กร, เสริมสร้างภาพพจน์ และสุดท้ายก็เพื่อการเพิ่มยอดจำหน่าย

"ใช่ เป็นการเปิดนโยบายเชิงรุกของเราในขณะที่ตลาดซบเซาอยู่ในช่วงเวลานี้ และหวังว่าอนาคตอันใกล้เราจะก้าวไปข้างหน้าได้ดีกว่าคู่แข่ง"

คำกล่าวเมื่อครั้งนั้นของ เจฟฟรีย์ โรว์ ซึ่งเดิมดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการตลาดและการขาย และจากโครงสร้างใหม่ที่ปรับเปลี่ยนนั้นเขาจะรับตำแหน่งรองประธานบริหาร ซึ่งมีหน้าที่และอำนาจตัดสินใจแทนได้เทียบเท่าประธานฝ่ายบริหาร เดิมนั้นในระดับสูงสุดของการบริหารงาน สวีเดนมอเตอร์ส จะต้องรอการตัดสินใจชอง "ไซม่อน อี. โบไนเธิน ประธานกรรมการบริหาร หรือบางครั้งจะต้องรอการประชุมคณะกรรมการบริหารเลยทีเดียว ซึ่งหลายครั้งจะช้าเกินไป

นอกจากนี้ในระดับปฏิบัติการแล้ว ผู้รับผิดชอบทั้ง 6 สายและ 1 ฝ่าย จะมีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจด้วยตนเองมากขึ้น ซึ่งจากโครงสร้างใหม่นั้น สวีเดนมอเตอร์ส ตัดสินใจที่จะกระจายอำนาจการบริหารงาน หลังจากที่บริหารงานในลักษณะครอบครัวและรวบอำนาจมาตลอด

"เดิมทีการตัดสินใจจะรวมศูนย์อยู่ที่คนเพียงคนเดียวหรือบางครั้งอาจถึงขั้นต้องผ่านบอร์ด แต่ต่อไปจะตัดสินใจกันเร็วขึ้น ขั้นตอนสั้นลง และเรายังมั่นใจว่าที่ผ่านมาแม้การก้าวเดินของเราอาจจะดูช้าแต่ก็ถูกต้องและมั่นคงพอที่จะทำให้เรากลับมานำในตลาดได้" ผู้บริหารกล่าว

การปรับโครงสร้างองค์กร และการวางแนวทางไปยังอนาคตครั้งนั้น ทำให้เจฟฟรีย์ โรว์ มั่นใจในทิศทางของสวีเดน มอเตอร์สในการทำตลาดรถยนต์วอลโว่ในไทยว่า "เรามุ่งหวังว่าอย่างน้อยภายในปี ค.ศ. 2000 รถยนต์นั่งวอลโว่ จะกลับมาเป็นอันดับหนึ่ง ในด้านความพึงพอใจของลูกค้า แต่ด้านยอดขายเรากำลังพยายามอยู่ และจะกลับมาเป็นอันดับหนึ่งของตลาดรถยนต์หรูหราของเมืองไทยได้อีกหรือไม่นั้นคงกล่าวว่าเป็นเรื่องยากลำบากพอสมควร แต่เราก็ยังมีความหวัง"

ครั้งนั้น ผู้บริหารของ สวีเดน มอเตอร์ส มั่นใจว่ารถยนต์วอลโว่จะกลับมาเป็นอันดับหนึ่งได้ แต่ก็เป็นเพียงในด้านของความพึงพอใจของลูกค้าเท่านั้น แต่ถ้าด้านยอดจำหน่าย ยังคงไม่มั่นใจที่จะชี้ฃัดลงไป

อย่างไรก็ดี ขณะนั้น สวีเดน มอเตอร์ส ได้ตั้งเป้าหมายว่าในปี ค.ศ. 2000 ยอดจำหน่ายของวอลโว่ในไทยจะเพิ่มขึ้นเป็น 9,500 คันต่อปี โดยคาดว่าส่วนแบ่งตลาดรถยนต์??หรูหราของวอลโว่จะอยู่ที่ 25%

ค.ศ. 2000 ยอดขายแซง 'เบนซ์'

ผ่านมาเกือบหนึ่งปี ความมั่นใจของสวีเดน มอเตอร์ส ที่จะกลับมาผงาด และครองอันดับหนึ่งในตลาดรถยนต์หรูหราเมืองไทยอย่างรอบด้าน ดูจะมีมากขึ้น

"เจฟฟรีย์ ปี ค.ศ. 2000 เราตั้งเป้าหมายอย่างไรนะ" ไซม่อน อี. โบไนเธิน ถามต่อไปยัง เจฟฟรีย์ โรว์ ในขณะสนทนากับ "ผู้จัดการรายเดือน" หลังพิธีเปิดงาน วอลโว่-ไครสเลอร์ ออโต้ แฟร์ เมื่อ 1 มีนาคม 2540

"ค.ศ. 2000 เราจะเป็นอันดับหนึ่งในไทย ในกลุ่มของรถยนต์หรูหรา ทั้งด้านความพึงพอใจของลูกค้า และยอดจำหน่าย เรามองว่าถึงปีนั้น อันดับหนึ่งคงอยู่ที่ยอดจำหน่าย 7,000 คันต่อปีเท่านั้น" เจฟฟรีย์ กล่าวอย่างเชื่อมั่น

ไซม่อน ได้เสริมว่า อดีตวอลโว่ก็เคยเป็นอันดับหนึ่งของตลาดนี้ในไทย ดังนั้นคิดว่าการจะกลับมาอีกครั้งคงไม่ใช่เรื่องยากนัก

"หลังจากเปิดเสรีรถยนต์จะดูว่าเราค่อนข้างเก็บตัวก็ได้ แต่จริง ๆ แล้ว ไม่ใช่เป็นเพราะว่าเราต้องการสร้างความมั่นคงของฐานตลาดมากกว่า ประกอบกับขณะนั้นเรามีข้อจำกัดในด้านโรงงาน ด้านรุ่นของรถยนต์ที่ยังน้อย แต่ขณะนี้ข้อจำกัดหมดไปแล้ว ส่วนกรณีที่เราไม่เน้นการสร้างแคมเปญอย่างมากมายเช่นคู่แข่ง เพราะเรามองว่าตลาดจริง ๆ ของรถยนต์เหล่านี้ยังไม่มากมายอย่างที่ค่ายอื่น ๆ สร้างขึ้นมาได้ อย่างบางยี่ห้อให้ผ่อนสิบปี เงินดาวน์เพียงนิดหน่อย ใครก็เข้ามากันมาก แต่ทุกอย่างก็ต้องรัดตัวจนที่สุดก็ไม่ไหว ต้องถูกยึดบ้างอะไรบ้าง ตรงนั้นเป็นผลเสียแน่นอน แต่สำหรับเรา เราไม่มีนโยบายอย่างนั้น ที่สำคัญราคาจำหน่ายที่เราตั้งขึ้นมานั้นเป็นราคาที่ยุติธรรมที่สุดแล้ว เราไม่ได้บวกไปมากมาย ดังนั้นตลอด 3-4 ปีที่ผ่านมา ภาพพจน์ของวอลโว่จึงค่อนข้างมั่นคงมากในสายตาตลาด" ไซม่อนกล่าว

ในประเด็นเรื่องราคาจำหน่ายนั้น ตลอด 3-4 ปีที่ผ่านมา พบว่าราคาจำหน่ายรถยนต์วอลโว่มีมาตรฐานเดียวกันมากที่สุดเมื่อทียบกับ บีเอ็มดับบลิวและเมอร์เซเดส-เบนซ์ ซึ่งแต่ละดีลเลอร์จะมีความผันผวนและความต่างด้านราคามาก ซึ่งการตัดราคานี้ ไม่ว่าจะเพราะสต็อกของไว้มาก เนื่องจากคาดการณ์ผิด หรืออะไรก็ตาม ได้ส่งผลให้ภาพพจน์ของสินค้าตกต่ำลงด้วย

สวีเดน มอเตอร์ส ได้วิเคราะห์สถานการณ์ตลาดรถยนต์หรูหราในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งพบว่าอัตราเติบโตอย่างก้าวกระโดดของเมอร์เซเดส-เบนซ์ และบีเอ็มดับบลิว ในช่วง 2-3 ปีก่อนหน้านี้เป็นตลาดที่ผิดปกติ คือมีการสร้างยอดจำหน่ายกับกลุ่มที่ยังไม่พร้อมอย่างแท้จริง ซึ่งความผิดปกติตรงนี้เริ่มเผยให้เห็นธาตุแท้และชัดเจนมาก ในปีที่แล้ว ที่ยอดจำหน่ายตกลงอย่างมาก

การสร้างตลาดที่ไร้พื้นฐานที่มั่นคงเช่นนั้น นับเป็นผลเสียไม่น้อยในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภาพพจน์สินค้า และอนาคตของตลาดที่กำลังจะเกิดขึ้นใหม่ สวีเดน มอเตอร์ส ได้ประเมินสถานการณ์อย่างรอบด้าน จึงกล้าทุบโต๊ะชี้ชัดเลยว่าอีกไม่เกิน 3 ปี จะกลับมาครองอันดับหนึ่ง

"แต่ปีนี้เราจะบุก แล้วเราจะแสดงให้เห็นว่า เวลาเราบุกอย่างแข็งกร้าวแล้วจะเป็นอย่างไร ตอนนี้ภาพพจน์เรารองจากเบนซ์ไม่มาก ยิ่งสถานการณ์อย่างนี้คงไม่ยากที่เราจะขึ้นมาเทียบเคียงกับเบนซ์ได้" ไซม่อน กล่าวอย่างหนักแน่น

เพิ่มรายได้ 10% ลดรายจ่าย 5%

ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2540 ที่ผ่านมา สวีเดน มอเตอร์ส โดยทีมผู้บริหารอย่างพร้อมหน้า นำโดย เจฟฟรีย์ โรว์ ได้แถลงถึงนโยบายของบริษัทในปี 2540 ซึ่งมีหลายประเด็นที่แสดงให้เห็นถึงความมั่นใจในสถานการณ์ที่เริ่มเป็นต่อคู่แข่งในตลาด

"เพิ่มรายได้ขึ้น 10% และลดค่าใช้จ่าย 5% จากปี 2539" คือเป้าหมายหลักในเรื่องผลประกอบการ ซึ่งจะว่าไปแล้ว สวีเดน มอเตอร์ส เป็นบริษัทหนึ่งที่เด่นมากเรื่องนี้ และครั้งหนึ่งเมื่อไม่กี่ปีมานี้ เคยสร้างความฮือฮาเมื่อเป็นบริษัทที่ปันผลต่อหุ้นมากที่สุดในหมู่บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

รายได้ที่เพิ่มขึ้น 10% ที่เป็นรูปธรรม ก็คือจะมาจากยอดจำหน่ายที่จะเพิ่มสูงขึ้น 10% จากปี 2539, การขยายงานในส่วนธุรกิจพ่นสี รายได้จากงานอะไหล่และบริการที่เพิ่มขึ้น และส่วนของอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์วอลโว่ ที่จะขยายและเน้นให้มากขึ้น

สำหรับการลดค่าใช้จ่ายนั้น จะได้จากการลดค่าใช้จ่ายของสำนักงานใหญ่และสาขา และการพัฒนาสินค้าคงคลังและบัญชีลูกหนี้เป็นต้น

ในด้านการลดค่าใช้จ่ายของสำนักงานใหญ่และสาขานั้น ที่ชัดเจนก็คือ การพัฒนาสาขาที่มีอยู่ทั้งหมด ให้บริหารงานในรูปแบบขององค์กรเอกเทศ รับเพียงนโยบายหลัก ๆ จากบริษัทเท่านั้น

การปรับการบริหารสาขาเช่นนี้จะช่วยให้ลดต้นทุนการดำเนินการชัดเจนขึ้น มีการแบ่งแยกรายได้รายจ่าย ตั้งงบประมาณขึ้นมาแล้วดูแลกันเอง รวดเร็วขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้เห็นทั้งข้อดีข้อด้อยของแต่ละสาขา เพื่อที่จะปรับปรุงต่อไป ซึ่งขั้นตอนการแบ่งแยกรายได้รายจ่ายและให้อำนาจสาขาในการตัดสินใจในกิจกรรมต่าง ๆ นั้น ใกล้จะเสร็จสิ้นแล้ว และทุกสาขาจะเข้าสู่ระบบศูนย์การทำงานอิสระได้ในเดือกรกฎาคม 2540 นี้

เจฟฟรีย์ โรว์ กล่าวว่า การจัดการให้งานบริหารสาขา ออกมาในรูปลักษณ์คล้ายกับดีลเลอร์นั้น ขณะนี้เริ่มใช้กันมากขึ้นในประเทศญี่ปุ่น และได้ประเมินออกมาแล้วว่าได้ทำรายได้เพิ่มขึ้นถึงประมาณ 20% เลยทีเดียว

ขยายสู่ตลาดระดับกลาง

ทางด้านผลิตภัณฑ์และแผนการตลาดนั้น ในปี 2540 นี้จะนับเป็นครั้งแรกที่ สวีเดน มอเตอร์ส จะส่งรถยนต์วอลโว่ คูเป้ลงสู่ตลาด ซึ่งจะเป็นการพลิกบุคลิกของกลุ่มลูกค้าอย่างมากทีเดียว

"เราจะขยายตลาดลงสู่ระดับกลางและวัยหนุ่มสาวก่อนมีครอบครัวให้มากขึ้น ซึ่งนอกจาก เอส 40 และวี 40 ซึ่งเป็นตัวเจาะตลาดหรือกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ ให้กับเรา นอกจากนี้กลุ่มลูกค้าที่มีครอบครัวแล้ว เราจะทำตลาดให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นด้วยการนำรุ่น เอส 70 และ วี 70 เข้ามาทำตลาดแทนรุ่น 850" เจฟฟรีย์ กล่าว

การขยายตลาดลงสู่ระดับกลางนั้น เป็นหนทางหนึ่งของผู้จำหน่ายรถยนต์หรูหราในเมืองไทย เนื่องจากระยะหลังได้ประเมินกันว่าตลาดระดับบนนั้น นอกจากจะมีคู่แข่งเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาด ไม่ว่าจะเป็นจากรถยนต์นั่งระดับเดียวกัน แต่เป็นยี่ห้อใหม่หรือจากรถยนต์ในรูปแบบใหม่ อย่างออฟโรดแล้ว ยังมีอุปสรรคในเรื่องของกลุ่มลูกค้าที่ขยายตัวค่อนข้างจำกัด ดังนั้นการขยายลงมายังตลาดระดับกลางมากขึ้นจึงเป็นหนทางหนึ่งที่จะกระทำได้

การขยายตัวลงมายังระดับกลางนั้น เมอร์เซเดส-เบนซ์และบีเอ็มดับบลิว ได้ดำเนินการไปก่อนหน้าแล้ว ไม่ต่ำกว่า 3 ปี ด้วยรูปแบบของเงื่อนไขในการซื้อและผ่อนชำระ แต่สำหรับวอลโว่ จะเป็นการขยายลงสู่ตลาดระดับกลางด้วยตัวผลิตภัณฑ์เป็นหลัก จังหวะก้าวเดินจึงแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

ความประทับใจเหนือ 'เบนซ์-บีเอ็ม'


สำหรับด้านภาพพจน์ชื่อเสียงนั้น สวีเดน มอเตอร์ส ได้ทำการวิจัยตลาดเพื่อวัดระดับความพึงพอใจของลูกค้า โดยทำการวิจัยปีละ 2 ครั้ง และมีการสำรวจย่อยอีกเดือนละครั้ง โดยการเปรียบเทียบกับคู่แข่งโดยตรงและยี่ห้ออื่นรวม 10 ยี่ห้อ ซึ่งปีล่าสุดคือปี 2539 พบว่า ความพึงพอใจของลูกค้าในด้านโชว์รูมนั้น วอลโว่เป็นอันดับหนึ่ง ส่วนด้านศูนย์บริการนั้น วอลโว่เป็นอันดับสาม รองจากซาบ และฮอนด้า

ส่วนคู่แข่งสำคัญอย่างเมอร์เซเดส-เบนซ์นั้น ผู้บริหารของสวีเดน มอเตอร์สกล่าวว่าอยู่ประมาณกลาง ๆ และบีเอ็มดับบลิวอยู่ถัดไป

ผลสำรวจตรงนี้ อาจบ่งบอกได้บ้างว่าในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ความประทับใจของลูกค้าที่มีต่อรถยนต์ยุโรปทั้งสามยี่ห้อนั้นเป็นอย่างไร เช่นนี้ ทีมผู้บริหารสวีเดน มอเตอร์ส จึงดูหมายมั่นเหลือเกินว่าการกลับมาสู่บัลลังก์เดิมจึงไม่ใช่เรื่องยาก

เมื่อ ไซม่อน เอ่ยปากถามถึงบัลลังก์เดิมเป็นครั้งแรก

ตลาดรถยนต์หรูหราเมืองไทย คงน่าติดตามไม่น้อย

ขณะที่เมอร์เซเดส-เบนซ์ และบีเอ็มดับบลิว ดูจะบอบช้ำและเหนื่อยเกินไป แต่วอลโว่กลับสดชื่อนและมีความหวัง

ปี ค.ศ. 2000 คงไม่นานเกินไปแล้วสำหรับ สวีเดน มอเตอร์ส

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us