Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2540
"แบงก์เทศไปไกลถึง Electronics Banking แล้ว"             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย
 

   
related stories

"ใครว่าแบงก์ชาติไม่ไฮเทค"

   
search resources

ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น - HSBC
ริชาร์ด ครอมเวลล์
Electronic Banking




เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า แบงก์ต่างประเทศมีความล้ำหน้าทางเทคโนโลยีกว่าแบงก์ไทยหลายเท่าตัว ซึ่งแต่ละแบงก์ อาทิ ซิตี้แบงก์ ฮ่องกงหรือแม้แต่สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดแบงก์ก็ได้วางสถานะของตนเองเป็นธนาคารที่ให้บริการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นเวลานานมาแล้ว

ในขณะที่แบงก์ไทยเพิ่งเริ่มต้นมาพัฒนาด้านนี้อย่างจริงจัง แบงก์ต่างประเทศได้ไปไกลถึงขั้นพัฒนาเทคโนโลยีของตนเองขึ้นมาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้เทคโนโลยีที่แบงก์ไทยและแบงก์ต่างชาตินำมาใช้ยังมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก เพราะแบงก์ต่างชาติจะเน้นการพัฒนาระบบและซอฟต์แวร์ด้วยตนเอง ขณะที่แบงก์ไทยจะซื้อระบบสำเร็จรูปเข้ามาติดตั้ง

ตัวอย่างของฮ่องกงแบงก์ จะมีศูนย์การพัฒนาเทคโนโลยีทั้งที่เพื่อใช้ภายในองค์กรเอง และเป็นผลิตภัณฑ์บริการลูกค้า หรือที่เรียกว่า IT Center อยู่ที่แคนาดา ซึ่งจะเป็นสำนักงานใหญ่ และฮ่องกง แต่ถ้าเป็นฮาร์ดแวร์แบงก์นี้จะใช้บริการจากไอบีเอ็ม

หากจะมองถึงความคุ้มหรือไม่คุ้มในการพัฒนาเทคโนโลยนีด้วยตนเองกับการซื้อสำเร็จรูปในมุมมองของ ริชาร์ด ครอมเวลล์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารฮ่องกง ให้ความเห็นว่า

"การซื้อเทคโนโลยีสำเร็จรูปมาใช้จะมีข้อดีตรงที่มีราคาถูก แต่จะมีข้อเสียตรงที่คู่แข่งสามารถซื้อมาใช้ได้เช่นกัน ซึ่งจะทำให้เทคโนโลยีไม่มีความแตกต่างกัน และไม่ทันสมัยมากนัก แต่ถ้าเราทำเองมันสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีและมีราคาถูกแม้ว่าจะต้องใช้เงินลงทุนสูงก็ตาม" ซึ่งก็คงเป็นความโชคดีที่แบงก์นี้มีฐานเงินทุนที่ใหญ่มากแห่งหนึ่งในโลก

ในปีหนึ่ง ๆ แบงก์แห่งนี้ใช้เงินลงทุนด้านเทคโนโลยีไปไม่น้อย ซึ่งผู้บริหารของแบงก์ไม่สามารถเปิดเผยตัวเลขได้ บอกได้แต่เพียงว่ามากจริง ๆ โดยธนาคารได้เริ่มต้นพัฒนาเทคโนโลยีมาตั้งแต่ปี 2512 หลังจากที่เข้ามาดำเนินธุรกิจในไทยกว่าครึ่งศตวรรษ โดยครั้งนั้นได้ทำการปรับองค์กรหรือ Re-engineering เช่นนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้กับบัญชีกระแสรายวัน บัญชีออมทรัพย์ บัญชีเงินฝากประจำทั้งหมด

ปัจจุบัน กลุ่มฮ่องกงแบงก์มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีจนถึงขั้นเป็น Electronics Banking System ซึ่งลูกค้าของแบงก์สามารถใช้บริการ และทำธุรกรรมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์เกือบทั้งหมด ขณะเดียวกันยังมีการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า HEXAGON โดยใช้เทคโนโลยีที่ล้ำหน้ามาก เพราะลูกค้าของแบงก์สามารถติดต่อและทำธุรกรรมกับแบงก์ ไม่ว่าจะเป็นการสอบถามบัญชี การโอนเงิน การจ่ายเงินผ่านเช็ค การสอบถามข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนการทำธุรกิจอื่น ๆ ได้โดยผ่านทางหน้าจอเครื่อง PC ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางมาติดต่อที่แบงก์ ซึ่งระบบนี้ธนาคารได้นำออกมาให้บริการแก่ลูกค้าได้ประมาณ 3 ปี ซึ่งลูกค้าเป้าหมายจะเป็นบริษัท ปัจจุบันมีลูกค้าที่ใช้บริการ HEXAGON เกือบ 100 รายแล้วในประเทศไทย

"ระบบนี้มีความทันสมัยมากเป็นระบบที่ส่งผ่านขึ้นไปยังดาวเทียม และมีระบบ Backup cable ทำให้มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงมากไม่ว่าจะคุณจะอยู่ห่างไกลแค่ไหน"

อย่างไรก็ตาม ในปีนี้แบงก์ยังมีแผนที่จะพัฒนาระบบ PC Home Banking เพื่อใช้กับกลุ่มลูกค้ารายย่อย ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของการทำธุรกิจของแบงก์จากนี้ไป โดยระบบนี้จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับ HEXAGON ซึ่งลูกค้าสามารถใช้บริการแบงก์ได้ทุกประเภท ยกเว้นเฉพาะถอนเงินสดเท่านั้นที่ทำไม่ได้ ซึ่งตอนนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการวิจัยความต้องการของลูกค้าในเบื้องต้น ซึ่งเมื่อผลวิจัยเสร็จสมบูรณ์แล้วก็จะนำผลนี้ส่งไปยังศูนย์ IT ที่ฮ่อกงเพื่อพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าคนต่อไป

ถึงจุดนี้หลายคนคงมีคำถามขึ้นในใจว่าแล้วจะวางใจได้อย่างไรว่าข้อมูลส่วนตัวจะไม่ถูกล้วงเข้าไปโดยบุคคลที่ไม่พึงปรารถนา ซึ่งเรื่องนี้ ครอมเวลล์ ยืนยันอย่างหนักแน่นว่าระบบนี้มีความปลอดภัยสูงที่สุดมิฉะนั้นบริษัทประกันยักษ์ใหญ่อย่างลอยด์ (Lioyd) คงไม่เข้ามารับประกันต่อความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ลูกค้าไม่ว่าจะเป็นเงินจำนวนเท่าไหร่ก็ตาม

ล่าสุด ฮ่องกงแบงก์เพิ่งติดตั้งเทคโนโลยีเพื่อนำมาใช้ในด้านการนำเข้า-ส่งออกและในเดือนนี้ก็จะนำระบบหลักทรัพย์เข้ามาติดตั้ง

"ระบบเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อลูกค้า และพนักงานของเรา เพราะสามารถทำงานได้เร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้นโดยเฉพาะค่าล่วงเวลา ผลตอบแทนที่ได้ก็จะตามมาและลูกค้าได้รับบริการดีขึ้น" ครอมเวลล์ อธิบาย พร้อมเสริมว่าหากจะดูผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนทางเทคโนโลยีแล้วสามารถวัดได้จากอัตราการเติบโตของแบงก์ซึ่งปัจจุบันกลุ่ม HSBC ได้ขึ้นมาอยู่ในอันดับแบงก์ที่รวยที่สุดในโลกแบงก์หนึ่ง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us