Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน14 ธันวาคม 2548
จี้รัฐแก้กฎหมายภาษีสู้ต่างชาติ หวั่นแผนไทยสู่ฮับภาพยนตร์เหลว             
 


   
search resources

Films




เอกชนพุ่งเป้ากระทุ้งรัฐ เร่งลดภาษี และแก้กฎหมาย เพื่ออำนวยความสะดวกกองถ่ายภาพยนตร์ต่างประเทศ หวังสกัดคู่แข่ง อย่าง เวียดนาม กัมพูชา ที่กำลังมาแรง ชี้ หากไทยต้องการเป็นฮับทางอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ควรเร่งมือ หากทำได้เชื่อ 5 ปี ไทยจะมีรายได้จากอุตสาหกรรมนี้กว่าหมื่นล้านบาท ด้านเอกชนฝรั่งเศส เตรียมรวบรวมหนังไทย ออกฉายพร้อมจัดงานเทศกาลหนังไทย พ.ย. ปีหน้า
นางศศิสุภา สังวริบุตร นายกสมาคม ผู้สนับสนุนภาพยนตร์ต่างประเทศ เปิดเผย ในงานสัมมนา"ประเทศไทย เป้าหมายของ คนทำหนัง" จัดโดย สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว(สพท.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยจัดขึ้นเป็นปีที่ 2 ว่า ปัจจุบัน ธุรกิจถ่ายทำภาพยนตร์มีการแข่งขันกับต่าง ประเทศสูงมากขึ้น โดยเฉพาะกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย ที่เปิดตัวชัดเจนในเรื่องของโลเกชันในการถ่ายทำภาพยนตร์ พร้อมกับให้อินเซนทีฟ หรือสิทธิประโยชน์พิเศษทางด้านภาษี และ VAT ให้แก่กองถ่ายทำภาพยนตร์ต่างชาติ เพื่อเป็นการดึงดูดและเชิญชวนให้เลือกประเทศของเขาในการถ่ายทำภาพยนตร์

ดังนั้น หากประเทศไทยต้องการเป็นฮับหรือศูนย์กลางธุรกิจภาพยนตร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างแท้จริง สิ่งเร่งด่วนที่รัฐบาลควรเร่งดำเนินการ คือเรื่องของ การยกเว้นภาษี ให้แก่กอง ถ่ายทำภาพยนตร์ นอกจากนั้น ก็ควรเร่งแก้ไขกฎหมายปลีกย่อยที่เกี่ยวข้องในการที่ จะอำนวยความสะดวกให้แก่กองถ่ายทำภาพยนตร์ต่างชาติได้ โดยดูรายละเอียดที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ ขณะเดียวกันการสนับสนุนของภาครัฐเกี่ยว กับอุตสาหกรรมนี้ก็ต้องทำอย่างต่อเนื่อง

"สมาคมภาพยนตร์นานาชาติ หรือ AFCI" ได้บอกมาแล้วว่าประเทศไทยมีความพร้อมที่จะเป็นฮับทางอุตสาหกรรมภาพยนตร์แล้ว เช่น ระบบสาธารณูปโภคพร้อม ความมั่นคงของรัฐบาลพร้อม ยังขาดแต่เรื่องของระบบภาษีที่ถือเป็นตัวตัดสินใจของกองถ่ายภาพยนตร์ เพราะวันนี้ธุรกิจถ่ายทำภาพยนตร์เป็นเรื่องของเศรษฐกิจ ในการที่จะนำรายได้เข้าประเทศ ขณะที่ ไทยยังเก็บภาษี VAT จากกองถ่าย ทำที่จ่ายให้บริษัทผู้ประสานงาน และบริษัทผู้ประสานงานเองก็ต้องนำรายได้ไปเสียภาษี รายได้เช่นกัน ตรงนี้ถือว่าทับซ้อนและไม่ควรจะทำ ซึ่งออสเตรเลียเขาก็ไม่เก็บภาษี ปีก่อนเขามีรายได้เข้าประเทศกว่า 6-7 พันล้านบาท ขณะที่ไทยยังได้แค่พันล้านบาทเศษต่อปี” ชี้รัฐลดภาษีรายได้เข้าประเทศพุ่งหมื่นล้าน

ทางด้านนายสันติ์ เปสตันยี ประธาน กรรมการ บริษัท ซันต้า อินเตอร์เนชั่นแนล ฟิล์ม โปรดักส์ จำกัด ดำเนินธุรกิจรับประสานงานกองถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศ ที่เข้ามาถ่ายทำในประเทศไทย กล่าวว่า เวียดนาม และ กัมพูชา เป็นประเทศใหม่ ที่หันมาเปิดตัวด้านโลเกชั่นในการถ่ายทำภาพยนตร์ โดยให้อินเซนทีฟ ด้านภาษีแก่กองถ่ายฯ จึงถือเป็นประเทศคู่แข่งที่น่ากลัว เพราะโลเกชันของ 2 ประเทศนี้ใกล้เคียงประเทศไทยมาก

โดยที่ผ่านมาประเทศไทยเคยปรับลดภาษีให้กับดารานักแสดง ที่เข้ามาถ่ายทำ ภาพยนตร์ หรือเข้ามาโชว์ตัวที่ประเทศไทย แล้ว จาก 37% ลดเหลือ 10% ในปัจจุบัน ขณะที่ประเทศคู่แข่งละแวกเพื่อบ้าน รวมถึง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ไม่เก็บภาษีเลย ทำให้หลายครั้งประเทศไทยถูกปฏิเสธจากนักแสดงชั้นนำจากฮอลลีวูด ในการที่จะเข้า มาประเทศไทย ทำให้เราเสียโอกาสที่จะได้ ต้อนรับกองถ่ายทำภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่จากฮอลลีวูด ล่าสุด ทอม ครูซ ก็ปฏิเสธที่ จะมาประเทศไทย ขณะที่ ลีโอนาโด บริษัท ผู้ประสานงานต้องจ่ายภาษีให้จึงยอมที่จะมาประเทศไทย เป็นต้น หากเราลดภาษีได้เชื่อว่าภายใน 5 ปีจากนี้ไป ธุรกิจถ่ายทำภาพยนตร์จะสร้างรายได้เข้าประเทศได้ไม่น้อยกว่าหมื่นล้านบาทต่อปี

นายไมเคิล เลค ประธานที่ปรึกษาระดับสูง บริษัท Worldwide Production Village Roadshow Pictures จากประเทศออสเตรเลีย กล่าวว่า มีกว่า 30 ประเทศที่ให้อินเซนทีฟ กับกองถ่ายทำภาพ-ยนตร์ เพื่อเชิญชวนให้เข้ามาถ่ายทำใน ประเทศของตน ขณะที่ประเทศไทย มีความ พร้อม ทั้งทรัพยากรบุคคล ค่าแรงงาน และ ค่าครองชีพถูก ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐาน ในระบบสาธารณูปโภคก็สะดวกสบาย ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือเรื่องของการจัดเก็บภาษี ซึ่งที่ออสเตรเลีย นอกจากไม่เก็บภาษีแล้ว รัฐบาลยังลงทุนในเรื่องของโรงถ่ายทำภาพยนตร์ เพื่อดึงดูดกองถ่ายหนังระดับฮอลลีวูด ให้เข้ามาใช้สถานที่ด้วย

"ปัญหาเศรษฐกิจ มีผลกับการตัดสินใจเลือกสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ เพราะถ้าเศรษฐกิจไม่ดี กองถ่ายทำก็จะมีงบประมาณจำกัด ฉะนั้นหากเขาไม่ใช้ โรงถ่ายในฮอลลีวูด เขาก็จะเลือกประเทศที่มีค่าใช้จ่ายถูก เพื่อลดต้นทุนดำเนินงานซึ่ง ประโยชน์ของการใช้โลเกชันในการถ่ายทำภาพยนตร์ ไม่ใช่แค่สร้างรายได้เข้าประเทศ เท่านั้น ยังมีผลต่อการท่องเที่ยวของแหล่งพื้นที่ที่ถ่ายทำ ให้กลับคึกคักขึ้นมาได้มากขึ้น เห็นได้จาก เรื่อง ลอร์ด ออฟ เดอะ ริงส์ ที่ทำให้นิวซีแลนด์มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น"

นายจอห์น ปีแอร์ การ์เซีย ผู้จัดงาน Festival international du Film d Amiens ที่ประเทศฝรั่งเศส หนึ่งใน ผู้ร่วมสัมนนา กล่าวว่า ในเดือนพฤศจิกายน 2549 เราจะจัดเทศกาลหนังไทย ในประเทศฝรั่งเศสเป็นครั้งแรก โดยจะคัดเลือกภาพยนตร์ไทย ตั้งแต่อดีตตั้งแต่ปี 2513 จนถึงปัจจุบันไปฉายในงาน Festival international du Film d Amiens 2006 เช่น เรื่อง โทน เขาชื่อกานต์ ชู้ เป็นต้น ทั้งนี้เพราะต้องการให้ผู้สร้างหนัง และคนฝรั่งเศสได้เห็นวิวัฒนาการการสร้างหนังของคนไทย จุดประสงค์การจัดงานครั้งนี้ก็เพราะมองเห็นทิศทางและฝีมือการทำหนังของคนไทยที่เติบโตไปในทิศทางที่ดี จับมือไฟว์สตาร์สร้างหนัง "น้ำพริก"

นายฟรังซัว เดอ ซิลวา ที่ปรึกษางานด้านศิลป์ ของ บริษัท Europa Corp เป็นบริษัทผู้สร้างหนังอิสระใหญ่ที่สุดในยุโรป และเป็นผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์ เรื่อง "องค์บาก" ในฝรั่งเศส และประเทศอื่นๆ เปิดเผยว่า ล่าสุดได้เซ็นสัญญากับบริษัทไฟว์สตาร์ ในการที่จะร่วมทุนสร้างภาพยนตร์เรื่อง "น้ำพริก"โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเขียนบทภาพยนตร์ คาดว่าอีก 2 ปีเริ่มถ่ายทำ โดยเนื้อเรื่องจะย้อนสมัยไปต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ 200 ปีก่อน ใช้สถานที่ถ่ายทำในกรุงเทพมหานครเป็นหลัก และจะนำออกฉายทั่วโลก

นายเฟรเดอริค อัลลิโยด์ ผู้ช่วยทูตด้านโสตทัศน์ สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส เปิดเผยว่า ต้องการสนับสนุนให้ไทยและฝรั่งเศส มีความร่วมมือทางธุรกิจภาพยนตร์ มากขึ้น ล่าสุดได้จัดทำโครงการอบรมผู้กำกับภาพยนตร์ โดยเปิดรับผู้กำกับคนไทยที่สนใจเข้าร่วมโครงการ ทั้งนี้เพราะมอง เห็นศักยภาพของคนไทย เพราะมองว่าในอีก 3-4 ปีข้างหน้าความเคลื่อนไหวในความ สามารถของคนไทยเป็นไปในทิศทางที่ไม่ธรรมดา   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us