Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน14 ธันวาคม 2548
ปตท.จัดทัพเร่งควบโรงกลั่น             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ปตท., บมจ.
ประเสริฐ บุญสัมพันธ์
Oil and gas




ปตท.เร่งจัดทัพธุรกิจใหม่ให้เสร็จใน ปี 2550 โดยเหลือเพียง 3 ธุรกิจหลัก ล่าสุดเร่งศึกษาควบรวมธุรกิจโรงกลั่นหลังประสบความสำเร็จในการ ควบรวมกิจการโอเลฟินส์ โดยนำ"ปตท.เคมิคอล" เข้าเทรดซื้อขายในกระดานหุ้นวันแรกฉลุยเกินเป้าหมาย ลั่นทีพีไอหลังอยู่ภายใต้การบริหาร ปตท.จะเป็นบริษัทที่มีความแข็งแกร่งที่สุดรายหนึ่งในตลาดฯภายใน 2 ปี โดยวานนี้ (13 ธ.ค.) ปตท.และพันธมิตร ควักเงินจ่ายค่าหุ้นเพิ่มทุนทีพีไอเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปตท.จะปรับโครงสร้างธุรกิจให้สมบูรณ์ในปี 2550 โดยจะมีการควบรวมบริษัทในเครือฯ เหลือเป็น 3 ธุรกิจหลักที่นำเข้าจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกอบด้วย 1. บมจ.ปตท.สผ.(PTTEP) ทำธุรกิจ สำรวจและผลิตปิโตรเลียม 2. บมจ. ปตท.เคมิคอล (PTTCH) ทำธุรกิจ ด้านปิโตรเคมีที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็น วัตถุดิบ และ บมจ.ปตท.รีไฟเนอรี่ ทำธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน โดยทั้ง 3 บริษัทดังกล่าวจะมีมาร์เกตแคปใหญ่ติดอันดับท็อปเท็นของตลาดหุ้นไทย

นับจากนี้ ปตท.จะให้ความสำคัญในธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันและโรงอะโรเมติกส์ โดยจะทำการไฟลิ่งบริษัท โรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด(มหาชน) (RRC) ต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)ในปลายธ.ค.นี้ และจะเข้าเทรดในตลาดหุ้นไทยช่วงไตรมาส 1/2549 ซึ่งขณะนี้ปตท.กำลังศึกษาร่วมกับบริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (ATC) ในการลงทุนร่วมกับ RRC โครงการอะโรเมติกส์โรง 2 เพื่อลดเงินลงทุนและสร้างความแข็งแกร่งให้ ATC เพื่อให้เกิดพลังร่วม (Synergy) หลังจากนั้นปลายปี 2549หรือต้นปี 2550 จะดำเนินการควบรวมระหว่าง RRC และ ATC

หลังจากนั้น ในปี 2550 ปตท.จะปรับปรุงโครงสร้างธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันครั้งใหญ่เพื่อควบรวมบมจ.ไทยออยล์ (TOP) RRC และ ATC โดยจะพิจารณาทรัพย์สินทั้งหมดของธุรกิจนี้ เพื่อควบรวมให้เหลือเพียงบริษัทเดียว คือ บมจ.ปตท. รีไฟเนอรี่ เพื่อทำธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันแทนปตท. รวมทั้งถือหุ้นในบริษัท โรงกลั่นน้ำมันสตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง (SPRC) และโรงกลั่นน้ำมันบางจาก ที่ปตท.ถือหุ้นอยู่เพียง 25-30% ส่งผลให้ บริษัท ปตท.รีไฟเนอรี่ กลายเป็นบริษัทที่มีกำลังการกลั่นน้ำมันสูงถึง 5 แสนบาร์เรล/วัน แข่งขันกับโรงกลั่นน้ำมันอื่นๆในภูมิภาคนี้ได้

"ทิศทางธุรกิจการกลั่นยังอยู่ในช่วงขาขึ้น เนื่องจากกำลังการกลั่นมีจำกัด และการขยายโรงกลั่นมีไม่ทันความต้องการที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าขณะนี้การกลั่นจะชะลอตัวลงบ้างก็ตาม"

นายประเสริฐ กล่าวถึงความคืบหน้าในการเข้าไปถือหุ้นในบมจ.ปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน)(TPI)ว่า ปตท.ได้ชำระเงินค่าหุ้นเพิ่มทุนของทีพีไอเรียบร้อยแล้วเมื่อวานนี้ (13 ธ.ค) ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้โครงสร้างการ ถือหุ้นของทีพีไอเปลี่ยนไปเป็นกลุ่มพันธมิตรร่วม ทุนถือหุ้น 60% กลุ่มเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้นรายย่อย 40% หลังจากนี้ ผู้บริหารแผนฯทีพีไอจะดำเนินการยื่นออกจากกระบวนการฟื้นฟูกิจการและเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อปรับเปลี่ยนกรรมการ บริษัทฯ โดยปตท.จะส่งผู้บริหารเข้าไปดูแลบริหารจัดการบริษัทฯ ร่วมกับทีมงานเดิมของทีพีไอ

ทั้งนี้ ปตท.จะแยกการบริหารงานทีพีไอไว้ต่างหาก เนื่องจากทีพีไอมีการดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีแบบครบวงจร และปตท.ถือหุ้นเพียง 31.5% เท่านั้น แต่ในอนาคตหากปตท.ถือหุ้นเกิน 50% ก็จะพิจารณาอีกครั้งว่าจะมีการควบรวมกับ บจม. ปตท.เคมิคอลหรือไม่ แต่ปัญหาเฉพาะหน้าของ ทีพีไอนับจากนี้ คือการปรับโครงสร้างหนี้ที่เหลือ อยู่ 900 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อให้ทีพีไอดำเนินธุรกิจอย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ เชื่อว่าภายใน 2 ปีข้างหน้าทีพีไอจะเป็นบริษัททที่มีความ เข้มแข็งอีกบริษัทหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์ฯ

สาเหตุต้องรีไฟแนนซ์หนี้ทีพีไอ 900 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากต้องการปลดล็อกพันธนาการเงื่อนไขต่างๆของทีพีไอ จนทำให้บริษัทฯไม่สามารถพัฒนาบริษัทฯต่อไปได้ อาทิ หากทีพีไอมีเงินเหลือจะต้องชำระหนี้ก่อน โดยไม่คำนึงว่าจะต้องนำไปลงทุนเพิ่มเติม ซึ่งขณะนี้บริษัทฯได้มีการเจรจากับเจ้าหนี้รายเดิมและเจ้าหนี้ใหม่เพื่อขอรีไฟแนนซ์หนี้ทั้งก้อน และยืนยันว่าเจ้าหนี้ทีพีไอจะได้รับการชำระหนี้ทุกบาททุกสตางค์ภายใต้การบริหารงานของ ปตท. หุ้น PTTCH เทรดวันแรกกระฉูด

นายประเสริฐ กล่าวต่อไปว่า หุ้นบมจ. ปตท. เคมิคอล (pttch) ซึ่งเป็นหุ้นควบรวมกิจการบมจ.ปิโตรเคมีแห่งชาติ (NPC) และบมจ. ไทยโอเลฟินส์ (TOC) ได้ดำเนินการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นวันแรก(13 ธ.ค.) ปรากฏว่า ราคาหุ้น pttch เมื่อเปิดตลาดกระโดดไปถึง 90 บาท/หุ้นเป็นระดับราคาที่น่าพอใจ เมื่อเทียบจากราคาเฉลี่ยของ 2 บริษัทที่ 79 บาท แสดงว่าตลาดตอบรับซึ่งการควบรวมกิจการ ถือเป็นมิติใหม่ของตลาดหลักทรัพย์ฯที่มีบริษัทฯขนาดใหญ่ ควบรวมกิจการกัน โดย PTTCH จะเป็นบริษัท หลักของ ปตท.ในการทำธุรกิจปิโตรเคมีที่ใช้วัตถุดิบจากก๊าซธรรมชาติ และทำให้บริษัทมีเข้มแข็งและกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ ราคาหุ้น PTTCH เปิดตลาดที่ 89 บาท ราคาปิดที่ 84.50 บาท ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 1,019.51 ล้านบาท

"ผมเชื่อมั่นว่า PTTCH จะเป็นบริษัทที่สามารถแข่งขันบริษัทปิโตรเคมีในภูมิภาคนี้ และจะเป็นบริษัทหลักในไม่กี่บริษัทของปตท.ที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้ก๊าซธรรมชาติ โดยท่อก๊าซฯเส้น ที่ 3 จะแล้วเสร็จ มีปริมาณก๊าซฯเข้าระบบอีก 2 พันล้านลบ.ฟุต/วัน ทำให้ต้องมีการสร้างโรงแยก ก๊าซฯแห่งที่ 6-8 ในอนาคตทำให้ได้อีเทน โพรเพน และแอลพีจี เพื่อนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้ธุรกิจปิโตรเคมี"

นายอดิเทพ พิศาลบุตร์ กรรมการผู้จัดการ ใหญ่ บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า รายได้ของบริษัท ปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 5.6-5.7 หมื่นล้านบาท และจะเพิ่มขึ้นเป็น 6 หมื่นล้านบาท ในปี 2549 จากการประเมินราคาโอเลฟินส์ เฉลี่ยที่ 800-850 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีกำลังผลิตโอเลฟินส์ 1.4 ล้านตัน และในปีหน้าจะมีกำลังการผลิตโอเลฟินส์เพิ่มขึ้นอีก 1 แสนตัน และในไตรมาส 2/2549 จะมีกำลังการผลิตอีโอ/อีจีเข้ามาเพิ่มอีก 1.5 แสนตันในปี 2550 บริษัทฯจะดำเนินการหยุดโรงงาน เพื่อต่อเชื่อมยูนิตใหม่ในส่วนการขยายกำลังผลิตแบบคอขวด (DEBOTTLENECK)โรงที่ 1 เป็นเวลา 45-60 วัน ทำให้มีกำลังการผลิต โอเลฟินส์เพิ่มขึ้นเป็น 1.65 ล้านตัน/ปี

ทั้งนี้ PTTCH ไม่มีแผนที่จะเข้าไปถือหุ้นในบมจ.วีนิไทย เกิน 25% เนื่องจากไม่ต้องการตั้งโต๊ะซื้อหุ้นคืนจากรายย่อย(เทนเดอร์ออฟเฟอร์)   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us