|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
"กิตติรัตน์ ณ ระนอง" คว้านักการเงินแห่งปี 2548 โชว์ผลงานเยี่ยม สร้างระบบพื้นฐานดันตลาดทุนไทยเป็นตลาดที่สมบูรณ์และครบวงจร ผลักดันให้มีการจัดทำแผนแม่บทพัฒนาตลาดทุนฉบับแรก สนับสนุนให้จัดตั้งสภาธุรกิจตลาดทุนไทยเพื่อเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาตลาดทุนที่จะเชื่อมโยงกับกลไกอื่นๆ ในระบบเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรม
วารสารการเงินธนาคาร ประกาศผลการตัดสินรางวัลเกียรติยศ "นักการเงินแห่งปี" ประจำปี 2548 (Financier of the Year 2005) ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้แก่ผู้บริหารในตลาดเงิน ตลาดทุนที่มีคุณสมบัติ ครบถ้วนและโดดเด่นมาตั้งแต่ปี 2525 ปรากฏว่าในปีนี้ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นผู้ครองตำแหน่ง "นักการเงินแห่งปี 2548" ซึ่งเป็นนักการเงิน แห่งปีคนที่ 17 ของวารสารการเงินธนาคาร ด้วยคุณสมบัติที่ครบถ้วนตามเกณฑ์การพิจารณาของคณะกรรมการ 4 ด้าน คือ
1. เป็นนักการเงินที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ด้วยการสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐาน ต่างๆ เพื่อให้ตลาดทุนไทยเป็นตลาดที่สมบูรณ์และครบวงจร ทั้งตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย (SET), ตลาดหลักทรัพย์ เอ็มเอไอ (mai), ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า(AFET), ตลาดตราสารหนี้ (BEX) และ ตลาดอนุพันธ์ (TFEX)
2. เป็นนักการเงิน มืออาชีพที่มีความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ โดยเฉพาะเป็นผู้ผลักดันให้มีแผนแม่บทพัฒนา ตลาดทุนเกิดขึ้นและสามารถปฏิบัติได้อย่าง เป็นรูปธรรม เพื่อทำให้ตลาดทุนไทยมุ่งสู่การเป็นตลาดทุนที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance)
3. เป็นนักการเงินที่สามารถสร้างความเจริญเติบโตให้แก่องค์กร และเป็นผู้ ที่ปรับเปลี่ยนบทบาทการทำงานของตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจนเป็นที่ยอม รับของสาธารณชน
4. เป็นนักการเงินที่ทุ่ม เททำคุณประโยชน์ต่อส่วนรวมและสังคม
บทบาทของกิตติรัตน์ต่อการพัฒนาตลาดทุน เริ่มต้นขึ้นด้วยการผลักดันให้มีการจัดทำแผนแม่บทพัฒนาตลาดทุนฉบับแรก เพื่อให้ตลาดทุนไทยสามารถเกื้อหนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ รองรับการเติบ โตในอนาคต เป็นตลาดทุนที่มีการลงทุนครบถ้วน ตั้งแต่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่รองรับ การจดทะเบียนของบริษัทขนาดใหญ่, ตลาดหลักทรัพย์ เอ็มเอไอ ที่รองรับการจดทะเบียนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงตลาดตราสารหนี้ และตลาดตราสารอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการจัดตั้งตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย อีกด้วย
ในแง่ของโครงสร้างพื้นฐานของตลาดทุน กิตติรัตน์ได้เข้ามาจัดระบบค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม โดยการกำหนดค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์มีแนวทางในการกำหนดต้นทุนในการให้บริการ ซึ่งจะเป็นผลให้สามารถให้บริการแก่ผู้ลงทุนได้อย่างมีคุณภาพ ประสิทธิภาพ แทนการแข่งขันกันด้านราคา และยังจัดระบบการซื้อขายออนไลน์ หรือ Internet Trading, การพัฒนาระบบการจองหุ้นออนไลน์, การเตรียมการเพื่อลดเวลาการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์เป็น T+2 รวมไปถึงการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ เช่น STE100, SET50 เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ลงทุนมากขึ้น
กิตติรัตน์ยังได้ผลักดันให้จัดตั้งสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เพื่อเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาตลาดทุน ที่จะเชื่อมโยงกับกลไกอื่นๆ ในระบบเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งส่งเสริมการจัดตั้งสถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) ให้เป็นศูนย์กลางส่งเสริมความรู้และประสบการณ์ของผู้บริหารในแวดวงตลาดทุน เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาตลาดทุนไทยในอนาคต
ในด้านของการขยายฐานผู้ลงทุนใหม่ที่มีคุณภาพ กิตติรัตน์ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยจัดกิจกรรมส่งเสริมการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เช่น ร่วมกับวารสารการเงินธนาคาร จัดงานมหกรรมการลงทุนครบวงจร หรือ SET in the City ต่อเนื่องมาถึง 4 ปี รวมทั้งร่วมมือกับสมาคมนักวิเคราะห์ จัดงานตลาดหลักทรัพย์ฯ สัญจร เพื่อขยายฐานผู้ลงทุนในต่างจังหวัด
นอกจากนี้ ยังได้ริเริ่มที่จะนำบริษัทจดทะเบียนไปนำเสนอข้อมูลให้กับนักลงทุนในต่างประเทศหรือ International Roadshow ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้จัดการกองทุนยักษ์ใหญ่อย่างกว้างขวาง ขณะเดียวกัน ได้ริเริ่มนำนักลงทุนและผู้จัดการกองทุนขนาดใหญ่ในต่างประเทศเข้ามารับฟังข้อมูลประเทศไทย โดยการจัด Thailand Focus ที่ได้รับความสนใจอย่าง มากเช่นเดียวกันควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนมีช่องทางในการนำเสนอข้อมูล ของบริษัทให้แก่ผู้ลงทุนและนักวิเคราะห์โดยตรง เช่น การจัดสัมมนาบริษัทจดทะเบียนพบผู้ลงทุน สถาบัน (Opportunity Day) การสนับสนุนกิจกรรมนักลงทุนสัมพันธ์ (Investor Relation : IR) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การริเริ่มโครงการ Top Executive Networking Forum ที่นำผู้บริหารระดับสูงของบริษัทจดทะเบียนไปใช้ชีวิตและสัมมนาร่วมกันเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและมี Connection ระหว่างกัน
พร้อมทั้งส่งเสริมการพัฒนาระบบบรรษัทภิบาลที่ดี โดยนำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมและเป็นมาตรฐานสากล และการให้ความสำคัญกับบทบาทและหน้าที่ของกรรมการ ซึ่งกำหนดเป็นข้อบังคับว่า ผู้ที่เป็นกรรมการบริษัทจดทะเบียนจะต้องผ่านหลักสูตร Directors Accredited Program (DAP) ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ซึ่งเป็นหลักสูตรขั้นต่ำของกรรมการบริษัทจดทะเบียน
กิตติรัตน์ได้มองเห็นความสำคัญในเรื่องของคุณภาพและความโปร่งใสในการบริหารงานขององค์กรในตลาดทุนไทย จึงได้ร่วมกับวารสาร การเงินธนาคาร จัดงานมอบรางวัล SET Awards เพื่อยกย่องบริษัทจดทะเบียน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ที่มีความยอดเยี่ยมทั้งในด้านผลการดำเนินงาน การบริหารจัดการและการให้บริหารจัดการ การให้บริการด้านต่างๆ รวมไปถึงผู้บริหารดีเด่นของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งได้จัดต่อเนื่องมาเป็นเวลา 3 ปีแล้วกิตติรัตน์ยังมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความรู้ความ เข้าใจเรื่องการออมและการลงทุน
|
|
 |
|
|